การศึกษา-สิ่งแวดล้อม-สาธารณสุข
เสมา1 ผลักดันผู้ตรวจราชการ ศธ. กลไกสำคัญขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ


รมว.ศธ. ผลักดันผู้ตรวจราชการศธ. ให้เป็นกลไกลขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวง พร้อมหนุนการพัฒนาระบบข้อมูล เพื่อให้การตรวจราชการมีความถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ


ทั้งนี้ที่ประชุมคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล การจัดการศึกษาของกระทรวง?ศึกษาธิการ? ครั้งที่ 1/2563  เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม? 2563 ที่ผ่านมา โดยมี นาย?ณัฏ?ฐ?พล? ที?ป?สุวรรณ? รัฐมนตรี?ว่าการ?กระทรวงศึกษาธิการ? เป็นประธานการประชุม
 

นอกจากนี้ ยังมี นายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการ?สภาการศึกษา, นางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์ รองปลัดกระทรวง?ศึกษาธิการ, ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ? เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย ณ ห้องประชุม?ราชวัลลภ นายณัฏฐพล กล่าวว่า ที่ประชุมรับทราบคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการ?ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล การจัดการศึกษาของกระทรวง?ศึกษาธิการ ลงวันที่ 24 มีนาคม? 2563 โดยมีตนเองเป็นประธาน พร้อมด้วยผู้บริหารองค์กรหลัก, ผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการศึกษาปฐมวัย, การศึกษา?ขั้นพื้นฐาน, การอุดมศึกษา, การอาชีวศึกษา, การศึกษา?เอกชน, การวิจัยและประเมินผล, การบริหารการศึกษา, ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม, เศรษฐกิจ? การเงินและงบประมาณ เป็นกรรมการ

นอกจากนี้ ในที่ประชุมได้มีการแจ้ง และรับทราบถึงกลไกการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวง?ศึกษาธิการ? ประจำปีงบประมาณ? พ.ศ. 2563 โดยได้กำหนดการตรวจราชการฯ ในระดับส่วนราชการ สำนักงานศึกษาธิการ?ภาค สำนักงานศึกษาธิการ?จังหวัด และเขตพื้นที่การศึกษา โดยติดตามการขับเคลื่อนนโยบายของผู้บริหาร พร้อมทั้งตรวจติดตามงานที่ไม่บรรลุเป้าหมาย และมีประเด็นความเสี่ยง (Key Risk Area: KRA) ที่จะเป็นอุปสรรค หรือทำให้การขับเคลื่อนนโยบายไม่ประสบความสำเร็จ 

นายณัฏฐพล กล่าวต่อว่า เพื่อนำข้อมูลมาวินิจฉัยปัญหา? ให้การสนับสนุน? ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำต่อหน่วยรับตรวจ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อผู้บริหารในส่วนกลาง โดยใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศ ทั้งในระดับกระทรวง ส่วนราชการ ภูมิภาค และจังหวัด อาทิ ระบบคลังข้อมูลด้านนักเรียนนักศึกษา? สถานศึกษา? บุคลากร และงบประมาณ เป็นต้น รวมถึงการตรวจสอบภายในและธรรมาภิบาลในการบริหารงบประมาณ 

อีกทั้งในที่ประชุมยังได้รับทราบการตรวจราชการกรณีพิเศษ (การตรวจ ติดตามนโยบายการจัดการเรียนการสอน ในสถานการณ์?การแพร่ระบาดของ COVID-19? โดยแบ่งระยะเวลาการตรวจราชการ ออกเป็น 2 รอบ คือ ช่วงก่อนเปิดภาคเรียน ระหว่างวันที่ 10-18 มิถุนายน? 2563 เพื่อสร้างการรับรู้ และชี้แจงทำความเข้าใจแก่ผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับ เกี่ยวกับนโยบายการจัดการเรียนการสอนในช่วง COVID-19? รวมทั้ง เตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน ทั้งด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา? การจัดการเรียนการสอน ความพร้อมของครู ผู้ปกครอง และชุมชน 

และช่วงหลังเปิดภาคเรียนที่ 1/2563 โดยได้ประชุมชี้แจงการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพโรงเรียน การกำกับ ติดตาม ประเมินผล การป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19? ในสถานศึกษา โดยบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีประเด็นสำคัญ อาทิ การเดินทางไป-กลับ สถานศึกษาของผู้เรียน, รูปแบบการจัดการเรียนการสอน (On-Site, On-Air และ Online)? มาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค, แผนรองรับกรณีพบการระบาดของโรคในสถานศึกษา? เป็นต้น

ขณะเดียวกันในที่ประชุมยังได้รับทราบการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการตรวจราชการ และติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา?ของกระทรวงศึกษาธิการ? (e-Inspection) โดยระบบดังกล่าว จัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการให้มีความถูกต้อง (Accuracy)? สอดคล้องกับงานที่ต้องการใช้ (Relevancy) และทันต่อการใช้งาน (Timelineness)? เพื่อให้การบริหารงานและการใช้ข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ? 

ตลอดจนใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลด้านการศึกษา สามารถนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลด้านการศึกษา ทั้งในระดับส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้

รมว.ศึกษาธิการ? กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมได้หารือประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล การจัดการศึกษาของกระทรวง?ศึกษาธิการ ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ? โดยจะสนับสนุนและส่งเสริม (Empower)? ให้ผู้ตรวจราชการทำงานอย่างเต็มที่ 

“อีกทั้งยัง ได้หารือถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่พบจากการลงพื้นที่ตรวจราชการ อาทิ การจัดสรรงบประมาณในการบริหารจัดการการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เป็นต้น พร้อมทั้ง วางแผนการติดตามผลการศึกษา?ในช่วง COVID-19? ที่จะเปิดเรียนแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ ในวันที่ 13 สิงหาคม? 2563 ด้วย“

บันทึกโดย : acnewsวันที่ : 11 ส.ค. 2563 เวลา : 15:48:50
26-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 1:37 pm