สุขภาพ
วอลนัทอาหารบำรุงสมองสำหรับผู้สูงวัยป้องกันโรคอัลไซเมอร์


อัลไซเมอร์ เป็นอาการทางสมองที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกาย ที่ทำให้เซลล์ประสาทสมองตายไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลต่อความสามารถของสมองลดลง ผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านการสื่อสาร ความจำ ความรอบรู้ การคิดอย่างมีเหตุผลและยังมีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและบุคลิกภาพ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยจะเริ่มต้นช้า ๆ และค่อย ๆ มีอาการหนักขึ้นตามเวลา


องค์การอัลไซเมอร์ระหว่างประเทศ (Alzheimer’s Disease International; ADI) ได้ประกาศให้วันที่ 21 กันยายนของทุกปีเป็นวันอัลไซเมอร์โลก ซึ่งโรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของอาการสมองเสื่อมในวัยสูงอายุ ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุประมาณ 7  ล้านคน  จากข้อมูลของสมาคมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยพบว่าร้อยละ 10 ของผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีอาการสมองเสื่อม จะเห็นได้ว่าโรคนี้นับเป็นปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

สาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ยังไม่เป็นที่แน่ชัด  แต่มีปัจจัยที่อาจมีส่วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ คือ อายุ ประวัติของบุคคลในครอบครัว การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ความเครียด และผู้มีอาการความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน รวมถึงพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ไขมันสูง ขาดการออกกำลังกาย

การป้องกันโรคอัลไซเมอร์ อาจทำได้โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การฝึกฝนสมอง และการตรวจสุขภาพเป็นประจำ

การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการก็สามารถช่วยลดโอกาสการเป็นอัลไซเมอร์ได้เช่นกัน  ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูง รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน มีผลวิจัยจาก The New York State Institute for Basic Research in Developmental Disabilities พบว่าการทานถั่ววอลนัท สามารถช่วยลดป้องกันการอักเสบและชะลอการเสื่อมของเซลล์สมองในกลุ่มทดลอง เนื่องจากมีโอเมก้า และสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูงมากเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่น

การทานถั่ววอลนัทอาจจะเป็นเรื่องยุ่งยากและไม่คุ้นเคยสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งในปัจจุบัน บริษัท ซิมเพิ้ล ฟู้ดส์ จำกัด ได้นำถั่ววอลนัทมาคั้นสดเป็นนมในรูปแบบกล่องยูเอชทีที่สะดวก ปลอดภัย อร่อย ย่อยง่าย และยังรักษาคุณค่าทางอาหารได้อย่างครบถ้วนโดยไม่เติมน้ำตาลทรายและเกลือ เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย โดยผู้สูงอายุที่แพ้นมวัวและต้องระมัดระวังเรื่องอาหาร

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 19 ก.ย. 2563 เวลา : 16:31:17
23-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 23, 2024, 10:29 pm