การตลาด
สกู๊ป ''ลุ้น' รัฐคุมโควิด-19 อยู่ ''ดัน'' อุตสาหกรรมโฆษณาปี 2564 กลับมาโต 10%


เป็นไปตามที่หลายคนคาดการณ์สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาในปี 2563 ที่ผ่านมา  โดยมีอัตราการขยายตัวติดลบอยู่ที่ประมาณ 11.57% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 91,460 ล้านบาท ปรับตัวลดลงจากปี 2562 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ  105,690 ล้านบาท เนื่องจากทุกสื่อขยายตัวติดลบทั้งหมด  ภายหลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 
 
 
จากข้อมูลของ นีลเส็น ประเทศไทย ระบุว่า สื่อที่ได้รับผลกระทบมาที่สุดและมีการขยายตัวติดลบมากที่สุดในช่วงปีที่ผ่านมา คือ สื่อโรงหนัง ติดลบอยู่ที่ประมาณ 51.15%  หรือมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 4,317 ล้านบาท ลดลงจากปี 2562 ที่มีมูลค่า 8,838 ล้านบาท  ตามด้วยสื่อในอาคาร ขยายตัวติดลบที่  35.19% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ  674  ล้านบาท ลดลงจากปี 2562 ที่มีมูลค่า  1,040 ล้านบาท สื่อเคเบิลทีวี/แซทเทลไลท์ทีวี ติดลบ  33.10%  หรือมีมูลค่า 1,516 ล้านบาท  ลดลงจากปี 2562 ที่มีมูลค่า 2,266 ล้านบาท  สื่อหนังสือพิมพ์  ขยายตัวติดลบ  33.10%  หรือมีมูค่า  3,109 ล้านบาท ลดลงจากปี 2562 ที่มีมูลค่า  4,616 ล้านบาท
 
สื่อนิตยสาร ขยายตัวติดลบ  31.47%  หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 723 ล้านบาท  ลดลงจากปี 2562 ที่มีมูลค่า  1,055 ล้านบาท  สื่อเคลื่อนที่ ขยายตัวติดลบ 25.40%  หรือมีมูลค่า  4,913 ล้านบาท  ลดลงจากปี 2562  ที่มีมูลค่า  6,588  ล้านบาท  สื่อวิทยุ  ขยายตัวติดลบ 24.59%  หรือมีมูลค่า  3,602 ล้านบาท  ลดลงจากปี 2562 ที่มีมูลค่า  4,741 ล้านบาท  สื่อนอกอาคาร  ขยายตัวติดบ  11.45%  หรือมีมูลค่า  6,128  ล้านบาท  ลดลงจากปี  2562  ที่มีมูลค่า  6,920 ล้านบาท  และสื่อทีวี  ขยายตัวติดลบ  9.38%  หรือมีมูลค่า  61,662 ล้านบาท  ลดลงจากปี 2562  ที่มีมูลค่า 68,044 ล้านบาท  ส่วนสื่ออินเตอร์เน็ตยังไม่มีการเปรียบเทียบตัวเลข  เนื่องจากมีการปรับระบบการเก็บข้อมูลใหม่  แต่หากดูเฉพาะตัวเลขของปี 2563 ที่ผ่านมามีการใช้เม็ดเงินอยู่ที่ประมาณ 6,815 ล้านบาท
 
 
อย่างไรก็ดี  หากมองแค่เฉพาะเดือน ธ.ค. 2563 ถือว่าแนวโน้มเริ่มปรับตัวดีขึ้น  เนื่องจากภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาสามารถปรับตัวขึ้นมามีอัตราการเติบโตเป็นบวกได้ที่  2.04%  ดีขึ้นจากเดือน พ.ย. 2563 ที่มีการขยายตัวติดลบ  6.12%  ซึ่งในส่วนของเม็ดเงินโฆษณาในเดือน ธ.ค.ที่ทำได้ในปี 2563 คือ 9,443 ล้านบาท  เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีเม็ดเงินโฆษณาอยู่ที่ประมาณ 9,173 ล้านบาท  โดยสื่อที่มีการขยายตัวมากที่สุด คือ สื่อในอาคาร  เติบโตที่  8.45% หรือมีมูลค่า 77 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2562  ที่มีมูลค่า  71 ล้านบาท 
ตามด้วยสื่อนอกอาคาร เติบโตที่ 8.36% หรือมีมูลค่า 635 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า  586 ล้านบาท และสื่อทีวี เติบโตที่  5,851 ล้านบาท  เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 5,506 ล้านบาท
 
ส่วนสื่อที่มีการขยายตัวติดลบมากที่สุดในช่วงเดือน ธ.ค. 2563 คือ  สื่อโรงหนัง ติดลบที่ 38.81% หรือมีมูลค่า 667 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 1,090 ล้านบาท  สื่อเคเบิลทีว/แซทเทลไลท์ทีวี  ติดลบที่ 37.77% หรือมีมูลค่า 117 ล้านบาท  ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 188 ล้านบาท สื่อนิตยสาร ติดลบที่  27.91% หรือมีมูลค่า 62 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 86 ล้านบาท  สื่อสื่อวิทยุ  ติดลบที่  24.59% หรือมีมูลค่า 322 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 427 ล้านบาท  และสื่อหนังสือพิมพ์  ติดลบที่ 16.08% หรือมีมูลค่า 308 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 367 ล้านบาท  ส่วนสื่ออินเตอร์เน็ตยังไม่มีการเปรียบเทียบตัวเลข  เนื่องจากมีการปรับระบบการเก็บข้อมูลใหม่  แต่หากดูเฉพาะตัวเลขของเดือน ธ.ค. 2563 ที่ผ่านมามีการใช้เม็ดเงินอยู่ที่ประมาณ 888 ล้านบาท
 
 
สำหรับ 5 บริษัทที่มีการใช้เม็ดเงินผ่านสื่อโฆษณามากที่สุด 5 อันดับแรกในปี 2563 ที่ผ่านมา คือ 1.บริษัท ยูนิลีเวอร์(ไทย)โอลดิ้ง จำกัด  ใช้เม็ดเงินไปทั้งหมด 5,050 ล้านบาท 2.บริษัท เนสท์เล่(ไทย) จำกัด ใช้เม็ดเงินไปทั้งหมด 2,808 ล้านบาท  3.บริษัท พร็อคเตอร์ แนด์ แกมเบิล(ประทศไทย) จำกัด หรือ พีแอนด์จี ใช้เม็ดเงินไปทั้งหมด 2,416 ล้านบาท  4.บริษัท  ไลฟ์สตาร์ จำกัด  ใช้เม็ดเงินไปทั้งหมด 1,776 ล้านบาท  และ 5.บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด(มหาชน) ใช้เม็ดเงินไปทั้งหมด 1,714 ล้านบาท 
 
นายภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ MI กล่าวว่า  จากการระบาดของโรคโควิด-19 รอบใหม่ที่ห็นภาพชัดในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนธ.ค. 2563  จนขณะนี้  ภาพรวมของเม็ดเงินโฆษณาหายไปเพียง 10-15% เท่านั้น  เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562  แต่อย่างไรก็ดี  ภาพของอุตสาหกรรมโฆษณาจะเห็นชัดขึ้นในช่วงเดือน ก.พ.-เม.ย. เนื่องจากเป็นช่วงไฮซีซัน  ซึ่งภาพรวมของอุตสาหกรรมโฆษณาจะขยายตัวได้มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการระบาดรอบใหม่ 
 
 
ทั้งนี้  MI ได้คาดการณ์สถานการณ์ของอุตสาหกรรมโฆษณาในปีนี้ไว้ด้วยกัน 3 ระดับ  คือ  1. หากการระบาดรอบใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนธ.ค. ที่ผ่านมา สามารถควบคุมได้ จะทำให้ปี  2564 มีเม็ดเงินโฆษณากลับมาเติบโตได้ 10% เป็นอย่างน้อย  2.หากการระบาดรอบใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนธ.ค. ไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ในบางพื้นที่  จะทำให้เม็ดเงินโฆษณามีอัตราการเติบโตได้ที่ประมาณ 5% และ 3. หากการระบาดรอบใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนธ.ค. ไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ในหลายพื้นที่  ส่งผลให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่(รายวัน)เพิ่มขึ้นสูงต่อเนื่อง ประชาชนเริ่มตื่นตระหนกและไม่มั่นใจในสถานการณ์ เม็ดเงินโฆษณามีโอกาสทรงตัวหรือเติบโตต่ำกว่าปี 2563 
 
นายภวัต กล่าวว่า หากสถานการณ์คลี่คลายในทิศทางที่ดี  บริษัทคาดว่าอุตสาหกรรมโฆษณาในปี 2564 นี้จะกลับเติบโตได้ที่ประมาณ 10% หรือมีมูลค่าอยู่ที่  81,057 ล้านบาท แต่หากสถานการณ์แย่อุตสาหกรรมโฆษณาก็มีโอกาสติดลบและอยู่ในสถานการณ์ตกต่ำมากที่สุดในรอบกว่า 20 ปี หรือมีมูลค่าต่ำกว่า 72,000 ล้านบาท  เนื่องจากผู้บริโภคมีการตื่นตระหนกมากเกินไป  ซึ่งหากดูจากแนวโน้มการที่อุตสาหกรรมสื่อโฆษณาจะกลับมามีมูลค่าที่แสนล้านบาท มีความเป็นไปได้ยากแล้ว ในมุมของเอเจนซี่มองเป้าหมายภายใน 3 ปีนี้เท่านั้น ว่าเม็ดเงินโฆษณาจะกลับมาเติบโตเป็นปกติ หรือกลับมามีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 90,212 ล้านบาท เท่าปี 2562 หรือไม่ ซึ่งหากไปอยู่ที่จุดนั้นได้ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาแล้ว

LastUpdate 16/01/2564 11:25:33 โดย : Admin
25-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 25, 2024, 2:12 pm