คุณภาพชีวิต
สวนดุสิตโพล : ดัชนีครูไทย ปี 2563 ''ครูไทยในยุคโควิด-19''


“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้จัดทำดัชนี “ความเชื่อมั่นครูไทย” ปี 2563 โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชน ทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 4,147 คน ระหว่างวันที่ 11-15 มกราคม 2564 โดยเน้นตัวชี้วัด 30 ประเด็นที่บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นต่อ  ครูไทยทั้งในด้านส่วนตัว ชุมชนและการพัฒนาวิชาชีพตลอดจนการพัฒนาประเทศในรอบปี 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งแต่ละตัวชี้วัดจะมีคะแนน เต็ม 10 สรุปเรียงลำดับจากความเชื่อมั่นสูงสุดไปถึงต่ำสุด ได้ดังนี้ 

1. ประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่น “ดัชนีครูไทย” ปี 2563 ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว ภาพรวมคะแนนเต็ม 10 ได้ 7.35 คะแนน
2. ประชาชนให้คะแนน 30 ตัวชี้วัด “ดัชนีครูไทย” โดยคะแนนเต็ม 10 เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้
 

สรุปผลการสำรวจ : ดัชนีครูไทย ปี 2563  “ครูไทยในยุคโควิด-19”
 
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “ดัชนีครูไทย ปี 2563 ครูไทยในยุคโควิด-19” กลุ่มตัวอย่าง 4,147 คน สำรวจวันที่ 11 – 15 มกราคม 2564 พบว่า ภาพรวมครูไทยในปี 2563 ได้คะแนน 7.35 คะแนน ประเด็นที่ได้คะแนนสูงสุด คือ บุคลิกภาพ การแต่งกายมีความเหมาะสมกับอาชีพ 7.70 คะแนน ประเด็นที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การไม่เป็นหนี้เป็นสิน 5.95 คะแนน จุดเด่นของครูไทย คือ มีความสามารถ มีศักยภาพ ปรับตัวได้เร็ว ร้อยละ 26.75 จุดด้อย คือ ความรู้ใหม่ ๆ น้อย ร้อยละ 23.57  ในยุคโควิด-19 ครูไทยต้องเรียนรู้ให้มากขึ้น พัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี ร้อยละ 73.78 
 
จากดัชนีครูไทย 5 ปี พบว่า คะแนนความเชื่อมั่นต่อครูไทยลดลงตั้งแต่ปี 2560 แต่ในปี 2563 นี้ ครูไทยได้คะแนนเพิ่มสูงขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนรับรู้ถึงการทำงานของครูไทยในภาพรวมว่ามีการปรับตัวและพัฒนาตนเองมากขึ้น โดยเฉพาะในยุคโควิด-19 เช่นนี้ ครูไทยไม่ปล่อยให้เด็กเก่งเทคโนโลยีเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น แต่ได้นำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาการเรียนในช่วงปิดสถานศึกษาเพื่อควบคุมโควิด-19 อาจกล่าวได้ว่าครูไทยเก่งและมีศักยภาพ ภาครัฐและทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญกับเส้นทางอาชีพครูให้มากยิ่งขึ้น เพื่อจะได้มีครูดีมีคุณภาพช่วยพัฒนาวงการศึกษาไทยต่อไป 

โดย นางสาวพรพรรณ บัวทอง
นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
 
จากผลโพลเรื่อง ดัชนีครูไทยในยุคโควิด-19 ประเด็น “จุดด้อยของครู” พบว่า มีความรู้ใหม่ ๆ น้อย รู้ไม่เท่าทันเด็กยุคใหม่ เป็นข้อมูลที่สะท้อนกลับมายังบุคลากรในวิชาชีพครูให้กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง กล้าที่จะออกจากพื้นที่ของความกลัว (COMFORT ZONE) ไปสู่พื้นที่ของการเรียนรู้ (LEARNING ZONE) ค้นหาเทคนิค วิธีการ และรูปแบบการสอนแบบใหม่ โดยเฉพาะเทคนิคการสอนออนไลน์ ศึกษาและใช้เครื่องมือเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนในยุคใหม่ให้คล่องแคล่ว เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส  ใช้เวลากับการทำงานที่บ้าน (WFH) เพื่อเรียบเรียงประสบการณ์ตรง เพื่อนำไปใช้ยกตัวอย่างให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง   มากขึ้น ประสบการณ์ตรงของผู้สอน คือ เรื่องราวที่ผู้เรียนจะหาไม่ได้จากแหล่งข้อมูลออนไลน์ใด ๆ  
 
ครูยุคใหม่ควรมี TEACHER เป็นหลักในการเตือนตนเอง คือ  T : TECHNOLOGY E: ENTERTAINER A: ATTITUDE  C: COMMUNICATION H: HEART  E: ENERGY  R: RESEARCH  ใช้เทคโนโลยี สร้างความสุขให้ผู้เรียน มีทัศนคติที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลง มีศิลปะในการสื่อสารกับเด็กยุคใหม่ ทำงานด้วยหัวใจ และค้นคว้าวิจัย เสริมสร้างประสบการณ์ตรง

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรัตต์ อินทสระ
อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 16 ม.ค. 2564 เวลา : 11:33:26
20-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 3:52 am