คุณภาพชีวิต
ผลสำรวจเรื่อง ''คนไทยกับการฉีดวัคซีนโควิด 19''


 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “คนไทยกับการฉีดวัคซีนโควิด 19”  โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,258 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 88.0 ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจว่าตนเองอยู่ในกลุ่มต้องฉีดวัคซีนโควิด - 19 ในระยะใดตามนโยบายฉีดวัคซีน ขณะที่ร้อยละ 6.5 อยู่ในกลุ่มนโยบายระยะที่ 1 กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2564 ใน 10 จังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด และร้อยละ 5.5 อยู่ในกลุ่มนโยบายระยะที่ 2 มิถุนายน – ธันวาคม 2564


เมื่อถามว่าหากได้สิทธิ์ในการฉีดวัคซีนโควิด - 19 ท่านจะฉีดหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.7 คิดว่าจะฉีด โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 54.1 จะดูผลข้างเคียงของคนที่ฉีดไปแล้วก่อน ส่วนร้อยละ 14.6 จะฉีดทันทีเพราะกลัวติดโควิด – 19 ขณะที่ร้อยละ 31.3 คิดว่าจะไม่ฉีด โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 16.8 ให้เหตุผลว่ากลัวมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย และร้อยละ 14.5 คิดว่าตัวเองไม่มีความเสี่ยงที่จะติด

ส่วนความกังวลเกี่ยวกับวัคซีนโควิด - 19 พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 69.1 กังวลว่าผลกระทบหลังการรับวัคซีนต่อภูมิต้านทาน และสุขภาพร่างกาย รองลงมาร้อยละ 42.8 กังวลว่าวัคซีนผ่านมาตรฐานการรับรองหรือไม่ ปลอดภัยหรือไม่  และร้อยละ 27.2 กังวลว่าราคา ค่าใช้จ่ายแพงในการฉีดวัคซีน หากไม่มีการควบคุมจากภาครัฐ

สำหรับความหวังหลังจากการฉีดวัคซีนโควิด - 19 ในประเทศไทยพบว่า ประชาชนร้อยละ 47.9 หวังว่าวิถีการดำเนินชีวิตประชาชนจะกลับมาเป็นปกติโดยเร็ว รองลงมาร้อยละ 22.5 หวังว่าจะช่วยปกป้อง/สร้างภูมิคุ้มกัน ให้ประชาชน และร้อยละ 18.8 หวังว่าจะเกิดการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้ปกติ เร็วที่สุด
 

สุดท้ายคำถามเพิ่มเติมที่อยากฝากถามเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด – 19 พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 31.6 ฝากถามว่ากลุ่มใดบ้างที่ควรฉีดและไม่ควรฉีดวัคซีนโควิด – 19 เช่น กลุ่มเด็ก กลุ่มสตรีมีครรภ์ รองลงมาร้อยละ 23.2 ฝากถามว่าวัคซีนที่ได้รับจะคุ้มครองได้นานแค่ไหน  ต้องฉีดเพิ่มหรือไม่ และร้อยละ 19.9 ฝากถามว่าการฉีดวัคซีนมีค่าใช้จ่ายหรือไม่

รายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้  

1. ข้อคำถาม “ท่านอยู่ในกลุ่มนโยบายฉีดวัคซีนโควิด - 19 ระยะใด”
ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจว่าต้องฉีดวัคซีนในระยะใด ร้อยละ 88.0
ระยะที่ 1 กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2564 ใน 10 จังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ร้อยละ 6.5
ระยะที่ 2 มิถุนายน – ธันวาคม 2564 ร้อยละ 5.5
 
2. ข้อคำถาม “หากได้สิทธิ์ในการฉีดวัคซีนโควิด - 19 ท่านจะฉีดหรือไม่”
   
คิดว่าจะฉีด ร้อยละ 68.7
โดย จะดูผลข้างเคียงของคนที่ฉีดไปแล้วก่อน ร้อยละ 54.1
จะฉีดทันทีเพราะกลัวติดโควิด - 19  ร้อยละ 14.6
คิดว่าจะไม่ฉีด ร้อยละ 31.3
เพราะ กลัวมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย ร้อยละ 16.8
คิดว่าตัวเองไม่มีความเสี่ยงที่จะติด ร้อยละ 14.5
 
3. ความกังวลเกี่ยวกับวัคซีนโควิด - 19  (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ผลกระทบหลังการรับวัคซีนต่อภูมิต้านทาน และสุขภาพร่างกาย ร้อยละ 69.1
วัคซีนผ่านมาตรฐานการรับรองหรือไม่ ปลอดภัยหรือไม่   ร้อยละ 42.8
ราคา ค่าใช้จ่ายแพงในการฉีดวัคซีน หากไม่มีการควบคุมจากภาครัฐ ร้อยละ 27.2
การกระจายวัคซีนไม่ทั่วถึง ร้อยละ 26.0
การเข้ามาแทรกแซงทางการเมือง ทำให้ล่าช้า ร้อยละ 19.1
อื่นๆ เช่น กลัวโรคกลายพันธุ์วัคซีนรักษาไม่ได้ ไม่กังวล ร้อยละ 5.8
 
4. ความหวังหลังจากการฉีดวัคซีนโควิด - 19 ในประเทศไทย

หวังว่าวิถีการดำเนินชีวิตประชาชนจะกลับมาเป็นปกติโดยเร็ว ร้อยละ 47.9
หวังว่าจะช่วยปกป้อง/สร้างภูมิคุ้มกัน ให้ประชาชน ร้อยละ 22.5
หวังว่าจะเกิดการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้ปกติ เร็วที่สุด ร้อยละ 18.8
หวังว่าจะลดจำนวนผู้ป่วย จำนวนการตายจากโควิด - 19 ร้อยละ 10.3
อื่นๆ เช่น ไม่ได้หวัง ไม่มีความเห็น ร้อยละ 0.5
 
5. คำถามเพิ่มเติมที่อยากฝากถามเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด - 19

กลุ่มใดบ้างที่ควรฉีดวัคซีน และไม่ควรฉีดวัคซีนโควิด – 19 เช่น กลุ่มเด็ก       กลุ่มสตรีมีครรภ์ ร้อยละ 31.6
วัคซีนที่ได้รับจะคุ้มครองได้นานแค่ไหน  ต้องฉีดเพิ่มหรือไม่ ร้อยละ 23.2
การฉีดวัคซีนมีค่าใช้จ่ายหรือไม่ ร้อยละ 19.9
จะทราบได้อย่างไร ว่าตนมีสิทธิ์ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด - 19 ร้อยละ 17.0
หากไม่อยู่ในกลุ่มระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ควรทำอย่างไร ร้อยละ 4.2
อื่นๆ เช่น ปลอดภัยแค่ไหน มีประสิทธิภาพไหม ร้อยละ 4.1
 
รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ
 
1)เพื่อสะท้อนถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด - 19
2)เพื่อสะท้อนความกังวลเกี่ยวกับวัคซีนโควิด - 19  
3)เพื่อสะท้อนถึงความหวังหลังจากการฉีดวัคซีนโควิด - 19 ในประเทศไทย
4)เพื่อสะท้อนถึงคำถามเพิ่มเติมที่อยากฝากถามเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด - 19

ประชากรที่สนใจศึกษา
 
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
      
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
   
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  ± 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95

วิธีการรวบรวมข้อมูล
 
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล  :  15 – 17 กุมภาพันธ์ 2564
     
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ      :  24 กุมภาพันธ์ 2564
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 24 ก.พ. 2564 เวลา : 10:34:58
25-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 25, 2024, 12:59 am