ข่าวประชาสัมพันธ์
ซีพีเอฟ เดินหน้าสร้างอาหารมั่นคง ร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมยั่งยืน


รายงานสดจากพื้นที่

สภาพอากาศที่ร้อนระอุในหน้าร้อน ทำให้จิตอาสากลุ่มหนึ่ง นัดรวมตัวกันตั้งแต่ก่อน 07.00 น. เพื่อทำกิจกรรมซ่อมแซมฝายชะลอน้ำ ในพื้นที่โครงการ "ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง" ต.พัฒนานิคม อ.พัฒนานิคม  จ.ลพบุรี  โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าที่เกิดจากความร่วมมือ 3 ประสาน คือ กรมป่าไม้  ชุมชนรอบพื้นที่เขาพระยาเดินธง และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ   

 


กิจกรรมครั้งนี้ มีจิตอาสาซีพีเอฟจากสายธุรกิจต่างๆ ประมาณ 200 คน พร้อมด้วยชุมชนที่อาศัยอยู่รอบพื้นที่เขาพระยาเดินธง  เจ้าหน้าที่จากสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 5 (สระบุรี)  รวมทั้งอาจารย์และเยาวชนจิตอาสา จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลพบุรี  ร่วมมือร่วมใจกัน  ซ่อมแซมฝายชะลอน้ำ  6 ฝาย ที่สร้างไว้ตั้งแต่ปี  2561  แต่ปัจจุบันมีสภาพชำรุดไปตามระยะเวลา จึงต้องเตรียมสภาพของฝายให้พร้อมใช้งานในการชะลอการไหลของน้ำ ดักตะกอน ใบไม้ ดิน โคลน  เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฝายก่อนเข้าสู่ฤดูฝน  เป็นกิจกรรมที่มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง นับจากจุดเริ่มต้นของโครงการฯ เมื่อปี  2559 และปัจจุบันเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า 
 

โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง มีเป้าหมายอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าเพิ่มเป็น 7,000 ไร่ ในระยะที่สองของโครงการ (ปี 2564- 2568) หลังจากระยะที่หนึ่งที่ดำเนินการแล้วเสร็จไปแล้ว 5,971 ไร่ พร้อมกันนี้  ซีพีเอฟขยายผลสู่การสร้างอาหารมั่นคงของชุมชน ด้วยการต่อยอดดำเนินโครงการปลูกผักวิถีธรรมชาติ และ โครงการปล่อยปลาลงเขื่อน  เพื่อให้ชุมชมพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และสอดรับกับกลยุทธ์สู่ความยั่งยืนของบริษัท 3  เสาหลัก  ประกอบด้วย อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่ 
 
 
ว่าที่ร้อยตรี ทรงพล แป้นแก้ว นายอำเภอพัฒนานิคม  เล่าถึง  ความเปลี่ยนแปลงของผืนป่าแห่งนี้ จากปี 2559 กับปัจจุบัน สภาพพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปมาก   เดิมผืนป่าเขาพระยาเดินธงเสื่อมโทรม  เป็นผืนป่าที่มีพื้นที่กว้างขวาง  การที่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งจะเข้ามาฟื้น ฟูเองโดยลำพัง อาจใช้ระยะเวลานานกว่าจะพลิกฟื้นผืนป่าแห่งนี้ให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ขึ้นได้อย่างรวดเร็ว  การที่ภาคเอกชนซึ่งมีเครือข่ายเข้ามาสนับสนุนและร่วมดำเนินการ ทำให้สามารถประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน   
 
 
โดยเฉพาะการที่ซีพีเอฟเป็นกำลังหลัก ในการประสานความร่วมมือกับกรมป่าไม้   และพี่น้องประชาชนรอบพื้นที่ผืนป่าเขาพระยาเดินธง  ทำให้การพัฒนาและฟื้นฟูผืนป่าแห่งนี้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์  นอกจากนี้ ซีพีเอฟเข้ามาเติมเต็มให้พี่น้องประชาชนที่มีความตั้งใจทำอาชีพด้านการเกษตร ปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ผล เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร  เป็นเรื่องราวดีๆ ที่ภาคเอกชนกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่  ร่วมกันสร้างสรรในสิ่งที่เป็นความเข้มแข็งของชุมชน         
 
     
ด้านนายบัญชา ขาวเมืองน้อย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ ในฐานะรองประธานคณะทำงานโครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ  ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง กล่าวว่า ภายใต้กลยุทธ์ 3 เสาหลัก อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน ดินน้ำป่าคงอยู่  ในด้านของเสาหลักดินน้ำป่าคงอยู่  ซีพีเอฟดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อมหลากหลาย
 
 
 
ซึ่งโครงการ "ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง" เป็นอีกโครงการที่มีเป้าหมายบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ  ต่อยอดการสร้างอาหารมั่นคง สอดรับกับเป้าหมายความยั่งยืนของซีพีเอฟ ปี 2030  และสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ( Sustainable Development Goals: SDGs)
 
              
นอกจากนี้ ความสำเร็จของการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าแห่งนี้ สามารถเป็นโมเดลให้กับผืนป่าอื่นๆของประเทศ  และยังเป็นแหล่งเรียนรู้อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าผ่านห้องเรียนธรรมชาติ สำหรับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่สนใจ  โดยที่ผ่านมา มีสถานศึกษา  และหน่วยงาน และบริษัทที่เข้ามาศึกษาดูงานปลูกป่า อาทิ   มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี สาขาชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลพบุรี บริษัท บี.กริม ดร.เกฮาร์ด ลิงค์ บิวดิ้ง จำกัด   บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด เป็นต้น  

 
   
นายคม เจ็กนอก รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลพบุรี  ซึ่งนำเยาวชนจิตอาสานักศึกษาปวส.ชั้นปีที่ 1  ร่วมกิจกรรมซ่อมแซมฝายชะลอน้ำ กล่าวว่า  ทางวิทยาลัยฯมีการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาพืชศาสตร์ จึงเป็นโอกาสดีที่ได้นำนักเรียนนักศึกษามาดูโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าที่ทำจริงๆ ว่ามีรูปแบบอย่างไร ตั้งแต่การเตรียมดิน การคัดสรรพันธุ์ไม้ การบำรุงรักษา  เป็นองค์ความรู้ที่นักศึกษาสามารถนำไปได้สอดคล้องกับการเรียนการสอน เป็นการเรียนรู้นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน   อีกส่วนหนึ่งเป็นการปลูกฝังการเป็นจิตอาสา ให้นักศึกษามีเจตคติที่ดีในการทำงานร่วมกับคนอื่น    
 
 
      
น.ส. กฤติยา ห่วงเจริญ หรือ น้องแป้ง ศึกษาอยู่ชั้น ปวส.ปีที่ 1 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลพบุรี  กล่าวว่า หนูและเพื่อนๆที่มาทำกิจกรรมซ่อมแซมฝายชะลอน้ำ  เป็นกลุ่มจิตอาสา  เวลาที่มีกิจกรรมเพื่อสังคมหรือชุมชน พวกเราก็จะออกไปช่วยเหลือ ก่อนหน้าที่จะมาทำกิจกรรมครั้งนี้  ก็เคยมาช่วยกันปลูกต้นไม้  การที่มีโอกาสได้ลงพื้นที่ทำงานจริง  สามารถนำไปกับการเรียนได้ด้วย  อยากเชิญชวนเพื่อนๆทุกคนร่วมกันฟื้นฟูป่า ซึ่งเป็นกิจกรรมทางหนึ่งเพื่อพัฒนาชุมชน เพื่อให้ชุมชนอยู่ได้อย่างยั่งยืน มีการพัฒนาที่ดีขึ้น  และพวกเราต้องขอขอบคุณหน่วยงานต่าง ๆ  ทั้งกรมป่าไม้ และ ซีพีเอฟ ที่ทำโครงการดีๆ ให้เยาวชนคนรุ่นหลังอย่างพวกเรา ได้มีโอกาสมีส่วนร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า

 
 

ซีพีเอฟ มุ่งมั่นสานต่อการดำเนินโครงการ "ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง" เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการส่งมอบพื้นที่สีเขียวให้ประเทศ และบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) นอกจากนี้ ยังอาศัยความเชี่ยวชาญของบริษัท ส่งเสริมองค์ความรู้ให้แก่ชุมชนในการผลิตอาหารที่สะอาด ปลอดภัย "สร้างอาหารมั่นคงและสนับสนุนให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้"  เพื่อสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็ง  พร้อมทำหน้าที่ดูแลผืนป่าในพื้นที่ให้คงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไ

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 01 เม.ย. 2564 เวลา : 15:37:30
03-05-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 3, 2024, 1:30 pm