ข่าวประชาสัมพันธ์
กรุงเทพโพลล์ เปิดผลสำรวจ ''ความเสี่ยงที่คนไทยต้องเผชิญในปี 2564 เป็นอย่างไร''


กรุงเทพโพลล์โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ความเสี่ยงที่คนไทยต้องเผชิญในปี 2564 เป็นอย่างไร” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,075 คน พบว่า ความเสี่ยงที่คนไทยต้องเผชิญในการดำเนินชีวิตประจำวันในปัจจุบัน ในภาพรวมมีความเสี่ยงเฉลี่ย 4.98 คะแนนจากเต็ม 10 คะแนน (เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจปี 2563  0.11 คะแนน)

 
โดยด้านที่คนไทยมีความเสี่ยงมากที่สุดคือ ด้านภัยธรรมชาติและโรคระบาดร้ายแรงได้ค่าเฉลี่ย 7.62 คะแนน (เพิ่มขึ้น 1.83 คะแนน) รองลงมาคือ ด้านค่าครองชีพและหนี้สิน ได้ค่าเฉลี่ย 6.47 คะแนน (เพิ่มขึ้น 0.62 คะแนน) ด้านการงานอาชีพ ได้ค่าเฉลี่ย 5.57 คะแนน (เพิ่มขึ้น 0.93) ด้านสุขภาพร่างกาย ได้ค่าเฉลี่ย 5.43 (เพิ่มขึ้น 0.20)  และด้านสุขภาพจิตใจ ได้ค่าเฉลี่ย 5.42 (เพิ่มขึ้น 1.00)

ทั้งนี้เมื่อถามว่า “อยากให้รัฐแก้ปัญหาเร่งด่วนในเรื่องใด เพื่อลดความเสี่ยงให้กับประชาชน” พบว่า ส่วนใหญ่  ร้อยละ  84.4 อยากให้แก้เรื่องการป้องกันโรคระบาดโควิด-19  การจัดหาวัคซีนทางเลือกให้ประชาชน รองลงมาคือ เรื่องค่าครองชีพที่สูงขึ้น สินค้าราคาแพงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 61.0 และเรื่องผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยวของไทย คิดเป็นร้อยละ 55.3
    
สุดท้ายเมื่อถามว่าเชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตวัคซีนโควิด-19 (วัคซีน ChulaCov19    ชนิด mRNA เทียบเท่าไฟเซอร์)  เพื่อเป็นวัคซีนทางเลือกใช้ป้องกันโควิด-19 ได้ ในปี 2565 พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 63.4 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 36.6 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
 
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ข้อคำถาม “คิดว่าในปัจจุบันนี้การดำเนินชีวิตประจำวันต้องเผชิญความเสี่ยงในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด” 
 
 
2. ข้อคำถาม “ท่านอยากให้รัฐแก้ปัญหาเร่งด่วนในเรื่องใด เพื่อลดความเสี่ยงให้กับประชาชน” (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

การป้องกันโรคระบาดโควิด-19   การจัดหาวัคซีนทางเลือกให้ประชาชน ร้อยละ 84.4
ค่าครองชีพที่สูงขึ้น สินค้าราคาแพงขึ้น ร้อยละ 61.0
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยวของไทย ร้อยละ 55.3
การว่างงาน การตกงาน ร้อยละ 43.1
การทุจริตคอร์รัปชั่น การบังคับใช้กฎหมาย ร้อยละ 43.1
การชุมนุมทางการเมืองและความแตกแยกของคนไทยด้วยกัน ร้อยละ 35.9
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ร้อยละ 26.0
ปัญหาจราจรและการเดินทาง  ร้อยละ 18.5
อื่นๆ เช่น ยาเสพติด ช่วยเหลือเกษตรกร ราคาสินค้าเกษตร เยียวยาให้มากกว่านี้ ร้อยละ 2.6

3. ความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตวัคซีนโควิด-19 (วัคซีน ChulaCov19 ชนิด mRNA เทียบเท่าไฟเซอร์)  เพื่อเป็นวัคซีนทางเลือกใช้ป้องกันโควิด-19 ได้ ในปี 2565

ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 63.4
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างมาก ร้อยละ 51.0 และมากที่สุด ร้อยละ 12.4)
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 36.6
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 27.0 และน้อยที่สุด ร้อยละ 9.6)

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
 
1) เพื่อสะท้อนความเสี่ยงของประชาชน ปี 2564 ในด้านต่างๆ
2) เพื่อสะท้อนถึงเรื่องที่อยากให้รัฐแก้ปัญหาเร่งด่วนในเรื่องใด เพื่อลดความเสี่ยงให้กับประชาชน
3) เพื่อสะท้อนถึงความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตวัคซีนโควิด-19 (วัคซีน ChulaCov19 ชนิด mRNA เทียบเท่าไฟเซอร์)  เพื่อเป็นวัคซีนทางเลือก ใช้ป้องกันโควิด-19 ได้ ในปี 2565

ประชากรที่สนใจศึกษา
 
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
 
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  ± 4 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล
 
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล   :  23-25 สิงหาคม 2564

วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ   :  28 สิงหาคม 2564
 
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 28 ส.ค. 2564 เวลา : 18:10:24
03-05-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 3, 2024, 10:53 pm