คริปโตเคอเรนซี่
Special Report : ''มือใหม่'' อยากลงทุนเหรียญ ''Crytocurrency'' เริ่มต้นตามนี้เลย


สำหรับคนที่กำลังอยากเข้าสู่วงการลงทุนของ “Cryptocurrency” คงให้ความสนใจกับการลงทุนในเหรียญ Bitcoin มาเป็นอันดับแรก เพราะด้วยชื่อเสียงที่เราคุ้นหูกันดี เป็นเหรียญที่คนส่วนใหญ่ให้ความเชื่อถือมากที่สุด หรือความจริงที่ว่า Bitcoin นั้นเป็น Cryptocurrency เหรียญแรกที่เกิดขึ้นมาในโลกของ Digital Asset และมีกลไกที่เปรียบได้กับ “ทองคำดิจิทัล” ที่มี Supply จำกัดเพียงแค่ 21 ล้านเหรียญ แต่จริงๆ แล้ว ยังมี Cryptocurrency อื่นๆ ที่ควรรู้และเข้าไปศึกษาอีกมากมายหลายประเภท ซึ่งถ้าจะทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งขึ้นไปอีกนั้น Digital Asset ที่เป็นเหรียญดิจิทัล แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ Cryptocurrency และ Digital Token
 
-Cryptocurrency VS Digital Token
 

Cryptocurrency หรือที่เรียกว่าสกุลเงินดิจิทัล สกุลเงินที่ถูกเข้ารหัสเพื่อใช่ในการป้องกันและยืนยันธุรกรรมผ่านระบบ Blockchain กล่าวคือ เป็นสกุลเงินดิจิทัล ที่มีลักษณะเป็นเหรียญ เรียกว่า “Coin” โดยในแต่ละเหรียญนั้นจะมีระบบ Blockchain พัฒนาเป็นของใครของมัน หรือเข้าใจง่ายๆในเบื้องต้นว่าเหรียญเหล่านี้ก็เป็นเหมือนกับสกุลเงินตราในโลกปัจจุบัน แต่อยู่บนโลกดิจิทัลที่ผู้ซื้อและผู้ขายกำหนดมูลค่ากันเอง สามารถใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการต่างๆ คล้ายกับเงินตรา หรือแม้แต่ใช้สำหรับซื้อขายเหรียญดิจิทัลสกุลอื่นๆ ซึ่งสามารถแบ่ง Crytocurrency ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ Bitcoin, Altcoin และ Stable Coin

1.Bitcoin  เป็น Cryptocurrency เหรียญแรกของโลกที่มี Supply จำกัด ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น มีคุณสมบัติเป็น “Stock of Value” สามารถถือเพื่อสะสมมูลค่า หรือเรียกเป็นภาษาไทยให้เห็นภาพว่าเป็น “ทองคำดิจิทัล” บนโลกของ Digital Asset 

2.Altcoin หรือชื่อเต็ม คือ “Alternative Coin” เรียกรวมเหรียญ Cryptocurrency ต่างๆ ที่ไม่ใช่ Bitcoin หรือก็คือ เป็นเหรียญทางเลือกนอกเหนือจาก Bitcoin นั่นเอง โดยที่ในแต่ละเหรียญจะมีคุณสมบัติเฉพาะ และการใช้งานนอกเหนือจากการซื้อขายบนกระดานเทรดที่แตกต่างกันออกไป คล้ายกับการลงทุนในหุ้น ที่แต่ละบริษัทมีการประกอบกิจการที่แตกต่างกันออกไปเช่นกัน ตัวอย่าง Altcoin เช่น Ethereum (ETH), Terra(LUNA), Avalanche(AVAX) หรือ Polkadot (DOT) เป็นต้น 

3.Stable Coin เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่สามารถคงมูลค่าไว้คงที่ตลอดเวลา ราคาของเหรียญจะมีความสัมพันธ์ตามสิ่งที่ถูกตรึงหรือ Backup เอาไว้ ซึ่งมูลค่าของสิ่งที่ Backup ไว้จะสะท้อนมูลค่าของ Stable Coin เหรียญนั้นๆ โดยจะมี Stable Coin ที่มี “Fiat Back” หรือ มีเงินสดจริงๆ ตรึงเอาไว้ในการสร้างเหรียญออกมา และ “Crypto Back” ที่ใช้เหรียญ Crytocurrency เอามาค้ำในการออกเหรียญ Stable Coin อีกทีหนึ่ง ซึ่งคล้ายกับการที่รัฐบาลในแต่ละประเทศมีทองคำค้ำเพื่อผลิตเงินสดออกมานั่นเอง ตัวอย่างเหรียญ Stable Coin ได้แก่ USDT, BUSD, DAI หรือ UST เป็นต้น
 
ส่วน Digital Token เป็นเหรียญแบบ “Token” แตกต่างจาก “Coin” เนื่องด้วย Digital Token ไม่ถือว่าเป็นสกุลเงินดิจิทัล และไม่มี Blockchain เป็นของตนเองโดยตรง แต่ถูกพัฒนาเกิดเป็น Token นั้นๆ ขึ้นมาจาก Blockchain ของเหรียญ Cryptocurrency อื่นๆ กล่าวคือเป็น Token ที่ถูก Spin off ออกมาจากเหรียญ Cryptocurrency เหรียญใดเหรียญหนึ่งเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยให้การทำงานในลักษณะเฉพาะของตัวเหรียญ Cryptocurrency นั้นๆเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือสร้างประโยชน์ให้กันและกัน เช่น ใช้เป็นแต้มหรือคะแนนสำหรับใช้บริการ,ใช้จ่ายเป็นค่าทำธุรกรรม, เป็นเสมือนดอกเบี้ยอย่างหนึ่งที่ได้รับหากถือ “Coin” บางประเภทไว้ตามเงื่อนไข หรือการปันผล เป็นต้น โดย Digital Token เราสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 
 
 
1. Utility Token เปรียบเสมือนแต้มหรือคะแนนที่เอาไว้สำหรับใช้งานระบบหรือบริการต่างๆ เป็นตัวกำหนด “กำหนดสิทธิ”ในการรับสินค้าหรือบริการที่เจาะจง เช่น Token ของโปรเจค Decentraland แพลตฟอร์มการกระจายศูนย์เสมือนจริง (Virtual) หรือ “Metaverse” ที่เราสามารถสร้างตัวละครพบปะผู้คน เสมือนย้ายตัวเองไปอยู่ยังบนโลกออนไลน์ สามารถซื้อที่ดิน หรือเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายใน Decentraland ได้ โดยใช้ Token ที่เรียกว่า “MANA”  เป็นToken ที่ทำงานบน Blockchain ของเหรียญ Cryptocurrency ที่ชื่อว่า “Ethereum” เป็นต้น

2. Security Token สินทรัพย์ทางการเงินที่ถูกเปลี่ยนให้มาอยู่ในรูปแบบ Token หรือเป็นการ Tokenized สิทธิในการถือครองสินทรัพย์นั้นๆ สมมติให้เห็นภาพอย่างที่ดิน 1 แปลง 100 ตารางวา ทำการซอยย่อยด้วย Blockchain เกิดเป็น Token จำนวน 500 Token เราก็สามารถร่วมถือครองสินทรัพย์นั้นๆ ได้เป็นส่วนๆ ไม่จำเป็นต้องซื้อทั้งหมด ซึ่งมากน้อยแล้วแต่จำนวน Token ที่เราเป็นเจ้าของนั่นเอง ซึ่งนั่นหมายความว่าเราสามารถสร้างสินทรัพย์ทางการเงินชนิดใหม่สำหรับโปรเจคหรือธุรกิจได้ ด้วยการแบ่งสินทรัพย์นั้นๆ แปลงเป็น Security Token นั่นเอง ซึ่งผู้ที่ถือจะได้รับประโยชน์ในแง่ของการร่วมเป็นเจ้าของในโปรเจคที่สร้างToken นั้นๆ จริงๆ มีอำนาจในการโหวตที่คล้ายกับผู้ถือหุ้น และได้รับดอกเบี้ยหรือเงินปันผล เป็นต้น

โดยเราสามารถศึกษาเหรียญแต่ละเหรียญที่เราจะลงทุนได้จากสิ่งที่เรียกว่า “White Paper” คล้ายกับเวลาเราจะหาหุ้นพื้นฐานดีๆ สักตัว เราก็ต้องดูงบการเงิน ถ้าอยากได้กองทุนรวมดีๆ สักกองก็ต้องอ่าน Fund Fact Sheet ตัวของ “White Paper” จะบอกถึงวัตถุประสงค์ในการสร้างเหรียญนั้นๆ มีกลไกและคุณสมบัติอะไร หรือมี Supply อยู่เท่าไหร่ ซึ่งในขั้นเบื้องต้นสามารถเข้าไปดูข้อมูลของเหรียญต่างๆ ได้ที่ coinmarketcap.com จะเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลที่ครอบคลุมเหรียญทุกเหรียญเอาไว้ ก่อนจะเลือกดู White Paper ของแต่ละเหรียญ
 

 -ซื้อได้ที่ไหน

สำหรับการซื้อขายเหรียญ Cryptocurrency และ Digital Token มีเว็บไซต์ของไทยที่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. สามารถซื้อเพื่อลงทุนหรือเทรดได้จาก 6 เว็บไซต์ด้วยกัน ได้แก่ Bitkub (bi?tkub.com), Satang Pro (satang.pro), ERX (er-x.io), Zipmex (zipmex.com/th), Upbit (th.up?bit.com ) และ Z.comEX (ex.z.com)
 
 
ทั้งนี้ ตลาดของเหรียญดิจิทัลนั้น มีความผันผวนที่สูงมาก ควรวางแผนและบริหารความเสี่ยงให้ดี รู้จักการ “Stop Loss” หรือเรียกสั้นๆว่า “SL” คือ การตั้งขายสินทรัพย์นั้นๆ เมื่อเห็นว่ามีการปรับตัวราคาที่ลดลงในจุดที่เราประเมินตามดุลยพินิจของตนว่าเหรียญนั้นๆ จะมีราคาที่ต่ำลงไปกว่านี้ การ Stop Loss จะทำให้เราหยุดการขาดทุนจากเงินที่เราได้ลงไปในเหรียญนั้นๆ ซึ่งเราสามารถวางแผนทำการซื้อกลับเข้าไปใหม่เมื่อราคาได้ลงมามากกว่าจุด Stop Loss ที่เราได้ขายนำเงินออกมา และรู้จักการ “Take Profit” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “TP” คือการขายทำกำไร จากเหรียญที่เราได้ซื้อไป อาจแบ่งขายเป็น Layer หรือที่เรียกว่า แบ่งไม้ขาย เช่น ซื้อเหรียญ A มีราคาอยู่ที่เหรียญละ 5 บาท จำนวน 10,000 บาท เท่ากับว่าเราจะมีเหรียญ A อยู่จำนวน 5,000 เหรียญ เมื่อราคาเหรียญ A ปรับตัวขึ้นมาเหรียญละ 7 บาท ได้ทำการแบ่งขายออกไป 1,000 เหรียญ และตั้งขายเหรียญ A เอาไว้ล่วงหน้า หากราคาเหรียญขึ้นมา 10 บาท อีกจำนวน 1,000 เหรียญ 15 บาท อีกจำนวน 1,000 เหรียญเช่นกัน เป็นต้น เพื่อป้องกันสิ่งที่เรียกว่า “ขายหมู” หมายถึงการขายเหรียญหรือTP ออกไป แล้วเหรียญนั้นมีราคาปรับขึ้นสูงไปอีก 

การแบ่งไม้ขายจะทำให้เราลดความเสี่ยงจากการที่ขายเหรียญทั้งหมดในราคานั้นๆ รวดเดียว แล้วเหรียญดังกล่าวดันมีการปรับราคาสูงขึ้นอีกในอนาคต การมีเหรียญที่เราตั้งขายเอาไว้ในอีกไม้จะทำให้เพิ่มโอกาสในการได้มาซึ่งกำไรที่มากขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถลดโอกาสการขาดทุนหากเราตั้งขายออกไปไม้หนึ่งแล้ว ราคาดันกลับมีราคาที่ลดลง ไม่เป็นไปตามแผนที่เราตั้งไว้ เพราะในโลกของการเทรดและการลงทุนใน Digital Asset มีความผันผวนที่สูงมาก เราไม่อาจคาดการณ์ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นได้ ซึ่งสะท้อนความจริงอีกข้อหนึ่งว่าเราไม่สามารถขายเหรียญนั้นๆได้ในราคาที่สูงที่สุด และก็ไม่สามารถซื้อเหรียญนั้นๆ ได้ในราคาที่ต่ำสุดเช่นกัน 

ฉะนั้น หนึ่งสิ่งที่สำคัญ คือ ควรจัดการกับความโลภของตนเอง เป็นเรื่องปกติที่เราจะอาจจะขาดทุนกำไร หรือได้กำไรไม่เท่าคนอื่น แต่ต้องพยายามรักษาเงินทุนหรือเงินตั้งต้นที่ซื้อเหรียญนั้นๆ ไม่ให้ขาดทุน ใช้เงินเย็นลงทุน เป็นเงินที่ยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้มาซื้อเหรียญที่เราต้องการ ไม่ควรกู้เงินคนอื่นมาใช้ และทางที่ดีควรแบ่งซื้อเหรียญ 60% จากเงินที่ตั้งใจจะมาลงทุนทั้งหมด เพื่อเราจะได้มีเงินเย็นดังกล่าวประมาณ 40% เผื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น ซื้อเหรียญเพิ่มหากราคาโดนเทลงมา หรือซื้อเหรียญ Project ที่เราสนใจอื่นๆ ในอนาคต 

หากทำในสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นได้ จะทำให้เรามีภูมิคุ้มกันจากความโลภ จิตใจแข็งแรง และสามารถยืนอยู่ในตลาดของ Digital Asset ได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง

LastUpdate 11/12/2564 22:15:09 โดย : Admin
12-05-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 12, 2024, 9:07 pm