คริปโตเคอเรนซี่
Special Report : NFT คืออะไรกันแน่? งานศิลปะไฟล์ JPEG มีมูลค่าด้วยเหรอ?


 

NFT ย่อมาจาก “Non-Fungible Token” มีความหมายตรงตัวว่า “Token ที่ไม่สามารถทดแทนได้”  เป็นอีกหนึ่งชนิดของ Digital Asset หรือสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว ไม่สามารถเลียนแบบหรือผลิตซ้ำขึ้นมาได้ สินทรัพย์ที่เอื้อต่อการนำมาแปลงเป็นNFT ให้เข้าไปโลดแล่นบนโลกออนไลน์จะเป็นได้ทั้ง รูปภาพ วีดีโอ ดนตรี อสังหาริมทรัพย์ ไปจนถึงของสะสม หรือสิ่งต่างๆที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว โดยจะถูกจัดเก็บสินทรัพย์นั้นในรูปแบบของเหรียญ Token และระบบที่รันอยู่เบื้องหลังก็แน่นอนว่ายังคงเป็นเทคโนโลยี Blockchain คนดีคนเดิมนั้นเอง ซึ่ง NFT หรือเหรียญ Token ประเภทนี้จะถูกสร้างขึ้นบน Blockchain ในแต่ละเครือข่าย หรือในแต่ละ Chain ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าไปศึกษาการทำงานของ Blockchian เพื่อเพิ่มความเข้าใจได้ใน “ Blockchain เบื้องหลังการสร้างมูลค่าให้ Digital Asset” นี้จึงเป็นเหตุผลที่ NFT กลายเป็นอีก Digital Asset หนึ่งที่มีมูลค่า คล้ายกับเหรียญ Crytocurrency และ Digital Token เหรียญอื่นๆ แต่จุดที่แตกต่างกันคือ Crytocurrency อย่าง Bitcoin  นั้นเป็น Digital Asset ประเภท “Fungible” ไม่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว เพราะถึงแม้ Bitcoin นั้นไม่สามารถCopy หรือผลิตซ้ำจาก 21ล้านเหรียญที่เป็นคุณสมบัติที่มีอยู่อย่างจำกัดของมัน เป็น 22ล้านเหรียญหรือมากกว่านั้นไม่ได้ แต่ทุก21ล้านเหรียญนั้นมีหน้าตาและคุณสมบัติเหมือนกันทุกเหรียญ พวก Cryptocurrency ต่างๆจึงนิยมใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ คล้ายกับเงินสด  แต่ NFT แต่ละเหรียญจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวหรือเรียกได้ว่าเป็น “Non-Fungible”  ที่ทุกเหรียญที่ออกมาจะไม่มีใครเหมือนและเหมือนใคร ผู้ที่ถือครองNFT จึงแสดงถึงสิทธิความเป็นเจ้าของของสินทรัพย์นั้นๆ โดยจะมีการบันทึกไว้บนระบบ Blockchain  ว่าใครเป็นเจ้าของ ซึ่งเราสามารถซื้อและจัดเก็บ NFT ไว้ได้บนกระเป๋าเงินดิจิทัลของเรา หากผู้อ่านต้องการศึกษาวิธีการเปิดบัญชีกระเป๋าสามารถเข้าไปอ่านได้ใน “เก็บCrypto ไว้กับตนเองด้วย Metamask สอนวิธีการใช้งานง่ายๆใครก็ทำได้”

 

การเก็บภาพNFT ไว้ในบัญชีกระเป๋าดิจิทัล Metamask
 
-แล้วทำไมจึงต้องมี NFT ในเมื่อโลกออนไลน์ก็ยัง Copy ดูดรูปกันได้ง่ายๆอยู่?
 
ในอินเตอร์เน็ตยุคแรก นวัตกรรมที่อินเตอร์เน็ตได้สร้างขึ้นมาคือ “Digital Abundance” เป็นการที่เราสามารถผลิตซ้ำได้ในทุกสิ่งที่ได้เข้ามาอยู่ในโลกออนไลน์ หรือก็คือการ Copy พวกรูปภาพ งานศิลปะ เพลง วีดีโอ บทความต่างๆ และทุกๆอย่างที่ถูก Input เข้ามา ซึ่งคุณสมบัติของสิ่งที่กล่าวมานั้นเป็น “ทรัพยากรที่มีได้ไม่จำกัด”  ทีนี้เราลองมาย้อนดู Concept ของสิ่งของที่มีค่า หรือสินทรัพย์ที่มีราคากัน อย่างเช่น “ทองคำ” เป็นสิ่งที่ผู้คนเชื่อใจว่าสามารถกักเก็บมูลค่าได้ และยังใช้ Backup วางค้ำเพื่อผลิตสกุลเงินของแต่ละประเทศอีกด้วย คุณสมบัติที่ทองคำมีคือ “ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด”  หรืองานศิลปะบนโลกออฟไลน์ที่บางภาพนั้นมีราคาที่สูงมากๆ คุณสมบัติของมันจะเป็นในลักษณะเช่น  “มีเพียงชิ้นเดียวบนโลก”  “เป็น1ในงานที่ศิลปินชื่อดังเป็นคนวาดขึ้นมา” หรือ “จะหารูปภาพแบบนี้อีกไม่ได้แล้ว” ซึ่งสามารถเอามารวมตีความได้ว่า กลไกที่จะทำให้สิ่งนั้นๆมีมูลค่าขึ้นมาได้ คุณสมบัติของมันคือ เป็นสิ่งที่มีอยู่อย่างจำกัดและผลิตซ้ำไม่ได้ ฉะนั้นหากเราทำการขายงานศิลปะของเราในลักษณะของไฟล์ภาพ JPEG  ทั้งอาจจะอัพโหลดภาพขึ้นมาในโลกออนไลน์เพื่อตั้งขาย หรือส่งไฟล์ภาพให้กับผู้ซื้อ มันก็ไม่ Make Sense นัก เพราะเมื่อไหร่ที่รูปนั้นได้ถูกอัพโหลดลงบนอินเตอร์เน็ตแล้ว มันก็สามารถผลิตซ้ำได้เพียงแค่กด Ctrl+C ก็สามารถหอบรูปเราออกไปได้ง่ายๆ และยังไม่สามารถรู้ได้อีกว่าไฟล์รูปของใครเป็นเจ้าของที่แท้จริงอีกด้วย มันจึงกลายเป็นว่าหากงานศิลปะนั้นคงอยู่ในลักษณะ Physical หรืออยู่ในรูปแบบออฟไลน์ที่จับต้องได้ในชีวิตจริง จะยังสามารถคงมูลค่าเอาไว้ได้ เพราะไม่มีอะไรมาลบล้างคุณสมบัติที่มีอยู่อย่างจำกัดของมัน  แต่กลับกันงานศิลปะของเราจะถูกลดทอนมูลค่าเมื่ออยู่ในรูปแบบออนไลน์สืบเนื่องมาจากคุณสมบัติของนวัตกรรม Digital Abundance 
 
 
Opensea (https://opensea.io/) พื้นที่ซื้อขายงาน NFT ในChain Ethereum
 
Solution หรือการแก้ไขปัญหาที่จะทำให้สิ่งที่อยู่บนโลกออนไลน์นั้นสามารถมีมูลค่าขึ้นมาได้ นั้นก็คือการมาของ NFT นั้นเอง ซึ่ง NFT นั้นจะเข้ามาทลายในสิ่งที่อินเตอร์เน็ตยุคแรกทำ ด้วยการที่เราสามารถแปลงสินทรัพย์ที่อยู่บนโลกออฟไลน์ให้กลายเป็น “Digital Version” ที่ Copy ไม่ได้ ด้วยการที่เก็บสินทรัพย์นั้นในรูปแบบเหรียญที่มีคุณสมบัติเฉพาะ เป็น Non-Fungible Token สร้างขึ้นมาด้วยเทคโนโลยี Blockchain อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น จริงอยู่ว่าคนอื่นๆบนอินเตอร์เน็ตยังสามารถทำการกด Ctrl+C Copy NFTรูปนั้นๆหรือแคปภาพออกไปได้ แต่สิ่งที่ถูกCopy ออกไปนั้นไม่ได้ขโมยเอามูลค่าของ NFT ออกไปด้วย เพราะเนื่องด้วยระบบ Blockchain  ยังบันทึกข้อมูลสิทธิความเป็นเจ้าของงาน NFT นั้นๆอยู่ ซึ่งจะทำการซื้อขายหรือโอนสิทธิความเป็นเจ้าของออกไปก็ต่อเมื่อนำไปวางในตลาดหรือ Marketplace ของ Chain ที่ NFT นั้นถูกสร้างขึ้นมา หรือใช้การโอนออกไปยังบัญชี Address กระเป๋าดิจิทัลอื่นเท่านั้น ซึ่งธุรกรรมทั้งหมดจะถูกบันทึกเอาไว้ในระบบ Blockchain ที่เป็นกลาง ตรวจสอบได้ และไม่มีใครแทรกแซง นั้นจึงเป็นสาเหตุที่ถึงเราจะนำสินทรัพย์แปลงขึ้นไปบนโลกออนไลน์ หรือซื้อทำการสินทรัพย์นั้นๆ หากมันถูกแปลงอยู่ในรูปแบบของ NFT อย่างไรแล้วก็จะยังสามารถคงและกักเก็บมูลค่าของสินทรัพย์นั้นเอาไว้ได้
 
-ซื้อ NFT แล้วจะได้อะไร
 
 
โปรเจค NFT ที่ชื่อ “Bored Ape Yacht Club” ราคาเริ่มต้น ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 59 ETH และมี Volume การซื้อขายทั้งหมดอยู่ที่ 2,782,000 ETH
 
สำหรับคนที่ชอบและมีงานอดิเรกในการสะสมงานศิลปะ NFT ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถซื้อและสะสมได้ในโลกออนไลน์ นอกจากนี้ พื้นที่สะสมงานของเรายังเปิดเผยเป็นสาธารณะ เนื่องด้วยความโปร่งใสของระบบ Blockchain ทำให้ทุกคนรู้ได้ว่าเรานั้นสะสมงานอะไรบ้าง มีรสนิยมแบบไหน หรือพูดง่ายๆว่าเราสามารถ Show งานสะสมเรา เป็นอีกลักษณะหนึ่งในการเข้าร่วมสังคม คล้ายกับการที่เราถ่ายรูปลง Social Media อย่าง Facebook อัพ Story บน Instagram  หรือเปรียบได้กับการที่เราซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมเช่น Chanel, Gucci  ซื้อนาฬิกา Rolex ซื้อรถสปอร์ต ที่จะทำให้เราเป็นหนึ่งในคนของ Community นั้น เป็นสัญลักษณ์ของการเข้าสังคม และอาจมีคุณค่าทางจิตใจของเรา ที่เสริมบารมี หรือความเท่ เป็นต้น ซึ่งหลักการนั้นก็เป็นหลักการเดียวกับ NFT เลย  ที่คนจะเลือกซื้อNFT ของโปรเจคที่ตัวเองชื่นชอบหรืออยากจะเป็นส่วนร่วมในสังคมนั้น โดยภาพ NFT ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของ Avatar ที่เอาไว้ตั้งเป็นโปรไฟล์ของเรา  หรือนอกเหนือจากนี้ก็เป็น NFT ที่เป็นในลักษณะของ Item ในเกม หากเราซื้อก็สามารถอัพโหลด NFT นั้น เอาไปเป็นเครื่องมือที่ใช้เล่นในเกมได้  และในเมื่อ NFT เป็นสินทรัพย์ที่มีความต้องการ อีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถทำได้ก็คือการซื้อขายเพื่อเก็งกำไร ซึ่งเราอาจจะเป็นคนสร้างงาน NFT นำไปขายเอง หรือศึกษาโปรเจคงานที่มีอยู่ในตลาด NFT ประเมินศักยภาพแต่ละงาน และเลือกซื้อไว้เพื่อไปเก็บไปขายต่อในราคาที่สูงขึ้นได้ เป็นต้น

LastUpdate 30/12/2564 21:38:00 โดย : Admin
13-05-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 13, 2024, 9:31 pm