หุ้นทอง
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปีลงทุนเสือทอง


เศรษฐกิจ ตลาดการเงินและการลงทุน ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากการ แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 หลายระลอก ส่งผลให้นักลงทุนจำนวนมากเริ่มวางกลยุทธ์การลงทุนในปี 2565 ด้วยการมองหาแนวโน้ม โอกาส สินทรัพย์การลงทุน รวมถึงความเสี่ยง เพื่อนำมากำหนดแนวการลงทุน


คำถามใหญ่ในปี 2565 ไม่ได้อยู่ที่ว่า “เศรษฐกิจจะฟื้นตัวหรือไม่” แต่คำถามกลับโฟกัสไปที่ “เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้มากน้อยแค่ไหน และจะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง หรือไม่” เนื่องจากยังมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นตัวฉุดรั้งและเป็นแรงต้านไม่ให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดความเสี่ยงกับภาค เศรษฐกิจและการลงทุน
 

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานเศรษฐกิจ ไทยไตรมาส 3 ปี 2564 ปรับตัวลดลง 0.3% เทียบกับการขยายตัวที่ 7.6% ใน ไตรมาส 2 ปี 2564 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นโดยรวมแล้วในช่วง9เดือนแรกของปี2564 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 1.3% และประเมินว่า ณ สิ้นปี 2564 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้ม จะขยายตัวที่ 1.2% เป็นการปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ

นอกจากนี้ สศช. ได้ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ว่าจะขยายตัว ในช่วง 0.7 – 1.2% โดยมีปัจจัยสนับสนุนมาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ และภาคการผลิตตามสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ที่มีแนวโน้มคลี่คลายและ ความคืบหน้าของการกระจายวัคซีน การฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ของภาคการท่องเที่ยว ภายใต้นโยบายการเปิดประเทศของภาครัฐ รวมถึงภาคการลงทุน และการบริโภคจะ กลับมาขยายตัว

ธนาคารโลก ได้จัดทำ “รายงานอัพเดทเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและ แปซิฟิก ประจาเดือนตุลาคม ปี 2564” โดยได้ประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจ ไทยปี 2564 อยู่ที่ระดับ 1%

“เป็นผลมาจากความเสียหายและบาดแผลทางเศรษฐกิจและสังคมจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ครั้งล่าสุดที่ทาให้ภาวะ เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลง” เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ประจาประเทศไทย ธนาคารโลก กล่าว

แล้วเมื่อไหร่ (เศรษฐกิจไทย) จะกลับมา
 
เกียรติพงศ์ บอกว่า ปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ คือ การฉีดวัคซีน ซึ่งรายงานฉบับนี้ระบุว่า หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมทั้งประเทศไทย จะสามารถบรรลุเป้าหมายการฉีดวัคซีนครอบคลุมเพียง 60% ของจำนวนประชากร ภายในสิ้นปี 2564 และคาดว่าการฉีดวัคซีนจะครอบคลุม 70% ของจำนวนประชากร จนช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต พร้อมทั้งขับเคลื่อนกิจกรรมทาง เศรษฐกิจให้กลับมาดำเนินต่อไปได้ในช่วงกลางปี 2565

ด้านฟรานเชสกา ลามานนา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก คาดว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยจะไม่กลับมาอยู่ในระดับก่อนหน้าการเกิด COVID-19 ไปจนกระทั่งปี 2565 โดยความเร็วในการฟื้นตัวจะขึ้นอยู่กับความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน ประสิทธิผลของมาตรการสนับสนุนทางด้านการคลัง และระดับการฟื้นตัวของ การท่องเที่ยวระหว่างประเทศ

โดยฟันเฟืองหลักของเศรษฐกิจไทย เช่น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็น สัดส่วนกว่า 17% ของ GDP จะสามารถเดินหน้าได้ก็ต่อเมื่อการฉีดวัคซีนครอบคลุม 70% ของจำนวนประชากรในกลางปี 2565 ซึ่งมีนัยสำคัญต่อภาคการท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยวเข้าไทยลดลง

นอกจากนี้ ธนาคารโลกประเมินว่า ปี 2565 จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาใน ประเทศไทยประมาณ 7 ล้านคน ซึ่งน้อยกว่าจานวนที่ไทยเคยได้รับก่อนเกิดการแพร่ ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเกือบ 40 ล้านคน

“จากเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้เชื่อได้ว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยจะต้องใช้ เวลาอย่างน้อย 3 ปี จึงจะกลับมาเท่ากับช่วงก่อนเกิด COVID-19 ซึ่งล่าช้ากว่าที่ ธนาคารโลกเคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้า คือ ภายในเวลา 2 ปี” เกียรติพงศ์ ประเมิน

ปี66 เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติ

ดร.กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการวิจัย นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการพัฒนา และ ผู้อำนวยการโครงการวิเคราะห์เศรษฐกิจเชิงลึก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า “เศรษฐกิจไทยโดยรวม การบริโภคในครัวเรือน การส่งออก การท่องเที่ยว จะฟื้นตัวกลับไปสู่ปกติก่อนปี 2562 ต้องใช้เวลาไปถึง ปี 2566 ซึ่งรัฐบาลยังคงต้องเยียวยา ต้องกระตุ้นด้วยการแจกเงิน เพราะหลายนโยบาย ยังเบิกเงินไม่หมด ไม่ว่าจะเป็นนโยบายคนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน หรือการให้เงินกับ คนที่มีรายได้น้อย เน้นเรื่องการบริโภค การสนับสนุนหมู่บ้านหรือชุมชน การช่วยเหลือ SMEsให้รักษาการจ้างงานซึ่งยังมีน้อยทาให้ในปี2565 ยังคงเห็นมาตรการกระตุ้น การบริโภคจากภาครัฐต่อไป”

การฟื้นตัวปี65ขยายตัว3.9-4.0%

ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงิน บล.เกียรตินาคินภัทร อธิบายว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยรอบนี้อาจมีความไม่ แน่นอนอยู่พอสมควร และการฟื้นตัวในปี 2565 มองการขยายตัวอยู่ที่ระดับ 3.9 – 4% ซึ่งเมื่อรวมกับการขยายตัวทั้ง 2 ปี ก็ยังฟื้นตัวกลับไปไม่เท่ากับที่หดตัวไปเมื่อปี 2563 จึงต้องรอการฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติในปี 2566

“ปัจจัยสาคัญที่จะกระทบต่อการประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2565 คือ การกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ จึงตั้งคำถามว่าแม้จะเริ่มเปิดเมือง นักท่องเที่ยวที่ ฉีดวัคซีนเข้ามาแล้วไม่ต้องกักตัว คำถามที่สาคัญ คือ การเดินทางระหว่างประเทศ จะกลับคืนสู่ปกติได้เมื่อไร” ดร.พิพัฒน์ กล่าว

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยกลับมามีความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้นอีกครั้ง หลังการกลาย พันธุ์ของไวรัส COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ทำให้หลายประเทศเริ่มคุม เข้มด้านการเดินทาง อาจทำให้แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2565 โดยเฉพาะในไตรมาสแรกของปีได้รับผลกระทบ

เศรษฐกิจทั้งปี 65 ฟื้นตัวที่ระดับ 3.7%

ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าภายใต้ มาตรการการเดินทางและสุขอนามัยต่าง ๆ ที่คุมเข้มมากขึ้นในหลายประเทศ รวมถึง การปิดประเทศสะท้อนให้เห็นว่าทั่วโลกมีความกังวลต่อความรุนแรงของไวรัสสายพันธุ์ ใหม่

ในการประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ โอมิครอน จะขึ้นอยู่กับอัตราการแพร่เชื้อ ประสิทธิภาพของวัคซีน และความรุนแรงของ โรค ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กรณี ภายใต้สมมติฐานที่การแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ โอมิครอน จะบรรเทาลงในปลายไตรมาสที่ 1 ปี 2565 นอกจากนี้ รัฐบาลไทยคาดว่าจะ ไม่มีการกู้เงินนอกงบประมาณเพิ่มเติม โดยให้ใช้วงเงิน 2.6 แสนล้านบาทที่คงเหลือจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท

“ในกรณีที่ดีนั้น แม้ไวรัสจะแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว แต่หากความรุนแรงน้อยกว่า สายพันธุ์เดลต้า (Delta) และวัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันสามารถลด หรือจำกัดระดับความรุนแรงของอาการป่วยได้ ประเทศไทยก็อาจไม่จำเป็นต้องมีการล็อกดาวน์ ดังนั้น เศรษฐกิจทั้งปี 2565 ก็ยังน่าจะสามารถฟื้นตัวได้ที่ระดับ 3.7% โดยจะได้รับแรง หนุนจากการส่งออก การฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน รวมถึงการท่องเที่ยว ในช่วงปลายปี ซึ่งภายใต้กรณีนี้แรงกดดันจากเงินเฟ้อยังคงเป็นความเสี่ยงต่อ เศรษฐกิจ” ณัฐพร อธิบาย

ในกรณีที่แย่ สายพันธุ์โอมิครอนมีความรุนแรงเทียบเท่ากับสายพันธุ์ เดลต้า และประสิทธิภาพของวัคซีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันลดลงอย่างมาก ณัฐพร ประเมินว่า จะส่งผลต่อความจำเป็นต้องมีการนำมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในประเทศกลับมาใช้ เช่น การปิดประเทศ รวมถึงมาตรการล็อกดาวน์ภายในประเทศตามระดับความเสี่ยงของแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ลดลง มาอยู่ที่ประมาณ 2.8%

“แต่ภายใต้สมมติฐานในกรณีที่แย่ สถานการณ์การแพร่ระบาด ในภาพรวมก็ยังดีกว่าช่วงการแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลต้า ที่เริ่มในช่วงเดือน เมษายนปี 2564”ณัฐพร ระบุ

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 28 ม.ค. 2565 เวลา : 12:05:19
29-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 29, 2024, 10:57 am