การศึกษา-สิ่งแวดล้อม-สาธารณสุข
กรุงเทพโพลล์สำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง"คนละครึ่งเฟส 5 กับ ความเป็นอยู่คนไทยในวันนี้"


สถานะทางการเงินปัจจุบันคนไทยเป็นหนี้เพิ่มสูงขึ้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 59.5 ได้ลงทะเบียนโครงการคนละครึ่งเฟส 5 โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 59.2 จะนำเงินโครงการคนละครึ่งเฟส 5 ไปซื้อของแห้งมาตุนไว้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 69.5 เห็นว่าโครงการคนละครึ่งเฟส 5 ช่วยลดภาระค่าครองชีพได้ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด แต่ส่วนใหญ่ร้อยละ 60.3 ยังอยากขอให้รัฐมีโครงการคนละครึ่งเฟส 6 ต่อไป


กรุงเทพโพลล์โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “คนละครึ่งเฟส 5 กับ ความเป็นอยู่คนไทยในวันนี้” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,187 คน พบว่า

ปัจจุบันประชาชนร้อยละ 41.7 มีสถานะทางการเงินพอดีกับค่าใช้จ่ายไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม (ลดลงจากผลสำรวจเดือน ก.พ. 65 ร้อยละ 1.4) ขณะที่ร้อยละ 39.4 มีสถานะทางการเงินไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4) ส่วนร้อยละ 18.9 มีสถานะทางการเงินเพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0)

เมื่อถามว่าได้ลงทะเบียนโครงการคนละครึ่งเฟส 5 หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 59.5 ได้ลงทะเบียน ขณะที่ร้อยละ 40.5 ไม่ได้ลงทะเบียน

ทั้งนี้เมื่อถามผู้ลงทะเบียนว่าจะใช้เงินโครงการคนละครึ่งเฟส 5 ไปกับการใช้จ่ายในเรื่องใด พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 59.2 จะนำไปซื้อของแห้งมาตุนไว้เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง รองลงมาร้อยละ 50.9 จะนำไปซื้ออาหารสด ของสด มาทำกินเองที่บ้าน และร้อยละ 49.2 จะนำไปซื้อของใช้ต่างๆ

เมื่อถามว่าโครงการคนละครึ่งเฟส 5 จะช่วยลดภาระค่าครองชีพ การใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตประจำวันได้มากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 69.5 เห็นว่าช่วยได้ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 30.5 เห็นว่าช่วยได้ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

โครงการที่อยากขอแก่รัฐบาลให้มีต่อไป เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพให้แก่ประชาชน ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 60.3 อยากขอให้มีโครงการคนละครึ่งเฟส 6 รองลงมาคือ โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คิดเป็นร้อยละ 35.9 และโครงการเราเที่ยวด้วยกัน คิดเป็นร้อยละ 11.6

โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ข้อคำถาม “ปัจจุบันจากสถานการณ์ต่างๆ ทั้งข้าวของแพง โควิด-19 ทำให้สถานะทางการเงินของท่านเป็นอย่างไร”

สำรวจเดือน ก.พ. 65 ยังเพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม ร้อยละ 17.9 
สำรวจเดือน ส.ค. 65 ยังเพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม ร้อยละ 18.9 
เพิ่มขึ้น / ลดลง ร้อยละ +1.0

สำรวจเดือน ก.พ. 65 พอดีกับค่าใช้จ่ายไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม ร้อยละ 43.1
สำรวจเดือน ส.ค. 65 พอดีกับค่าใช้จ่ายไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม ร้อยละ 41.7
เพิ่มขึ้น / ลดลง ร้อยละ -1.4

สำรวจเดือน ก.พ. 65 ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม ร้อยละ 39.0
สำรวจเดือน ส.ค. 65 พอดีกับค่าใช้จ่ายไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม ร้อยละ 39.4
เพิ่มขึ้น / ลดลง ร้อยละ +0.4
 
 
2. ข้อคำถาม “ท่านได้ลงทะเบียนโครงการคนละครึ่งเฟส 5 หรือไม่”
 
ลงทะเบียน ร้อยละ 59.5

ไม่ได้ลงทะเบียน ร้อยละ 40.5

3. ข้อคำถาม “คิดว่าจะใช้เงินโครงการคนละครึ่งเฟส 5 ไปกับการใช้จ่ายในเรื่องใด” (ถามเฉพาะผู้ที่ลงทะเบียนและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
 
ซื้อของแห้งมาตุนไว้เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง ร้อยละ 59.2

ซื้ออาหารสด ของสด มาทำกินเองที่บ้าน ร้อยละ 50.9

ซื้อของใช้ต่างๆ ร้อยละ 49.2

ซื้ออาหารปรุงสำเร็จ เช่น ตามสั่ง ข้าวราดแกง ก๋วยเตี๋ยว ร้อยละ 40.8

ซื้อเครื่องดื่ม เช่น กาแฟ ชา ร้อยละ 12.3

ซื้อเสื้อผ้า ร้อยละ 3.5

ซื้อบุหรี่ แอลกอฮอล์ ร้อยละ 0.7

อื่นๆ อาทิเช่น อาหารสัตว์ บุหรี่ แอลกอฮอล์ ร้อยละ 1.2

4.ความเห็นต่อโครงการคนละครึ่งเฟส 5 จะช่วยลดภาระค่าครองชีพ การใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตประจำวันได้มากน้อยเพียงใด (ถามเฉพาะผู้ที่ลงทะเบียนและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
 
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 30.5

(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างมาก ร้อยละ 26.5 และมากที่สุด ร้อยละ 4.0)

ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 69.5

(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 57.8 และน้อยที่สุด ร้อยละ 11.7)
 
 
5. โครงการที่อยากขอแก่รัฐบาลให้มีต่อไป เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพ ให้แก่ประชาชน ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
 
โครงการคนละครึ่งเฟส 6 ร้อยละ 60.3

โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ร้อยละ 35.9

โครงการเราเที่ยวด้วยกัน ร้อยละ 11.6

โครงการช้อปดีมีคืน ร้อยละ 8.2

โครงการทัวร์เที่ยวไทย ร้อยละ 7.3

อื่นๆ อาทิเช่น เพิ่มเงินผู้สูงอายุ ลดค่าไฟ ไม่มีที่อยากขอ ไม่มีความเห็น ร้อยละ 17.0

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 03 ก.ย. 2565 เวลา : 19:35:55
07-05-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 7, 2024, 9:06 pm