ไอที
ไต้หวันบูรณาการเทคโนโลยี ITC หลากหลายสาขา สร้างชื่อเป็นพันธมิตรที่วางใจได้ในด้านมิเตอร์อัจฉริยะทั่วซัพพลายเชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ระบบมิเตอร์อัจฉริยะประกอบด้วยมิเตอร์ไฟฟ้าดิจิทัล ระบบสื่อสาร และระบบบริหารจัดการข้อมูลมิเตอร์ โดยทำให้ผู้ใช้ปลายทางและระบบสาธารณูปโภคสื่อสารกันได้แบบสองทางผ่านแพลตฟอร์มคลาวด์ นับเป็นองค์ประกอบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของระบบกริดอัจฉริยะ และด้วยรากฐานอันแข็งแกร่งของไต้หวันในเรื่องเทคโนโลยีเหล่านี้ ทางสถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ITRI) จึงขอให้ความช่วยเหลือบริษัทที่เกี่ยวข้องในการขยายตลาดในต่างประเทศ


รัฐบาลไทยได้ตั้งวิสัยทัศน์ "ไทยแลนด์ 4.0" ขึ้นมาเมื่อปี 2560 โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างเมืองอัจฉริยะให้ได้ 100 แห่งภายในเวลา 20 ปี นอกจากนี้ ความริเริ่มดังกล่าวยังดำเนินการควบคู่ไปกับแผนพัฒนากริดอัจฉริยะทั่วประเทศด้วย ซึ่งคาดว่า บ้านเรือนราว 1.3 หลังในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกจะมีมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะเอาไว้ใช้งาน โดยทั้งไทยและไต้หวันได้เปิดตัวแผนระดับประเทศเพื่อพัฒนากริดอัจฉริยะ การติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะจึงคืบหน้าด้วยเช่นเดียวกัน แนวโน้มดังกล่าวน่าจะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจในแวดวงซัพพลายเชนได้เป็นอย่างมากในภาคเทคโนโลยีพลังงานใหม่

ผู้ผลิตมิเตอร์อัจฉริยะชั้นนำ 4 รายของไต้หวันที่ทำงานร่วมกับสถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม อย่างแอคเบล โพลีเทค (Acbel Polytech), อาร์ช มิเตอร์ (Arch Meter), ต้าถุง คอมปะนี (Tatung Company) และดีเอเอส เทคโนโลยี (DAS Technology) ล้วนมีขีดความสามารถทางเทคนิคอย่างครอบคลุมในการพัฒนาระบบ และมีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองในระดับสากล บริษัทเหล่านี้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องส่วนประกอบหลัก การวางระบบ และการใช้งานที่ช่วยเพิ่มมูลค่า

ไต้หวันเพียบพร้อมด้วยความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีเบื้องหลังระบบมิเตอร์อัจฉริยะ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบวงจรรวม ฮาร์ดแวร์เครือข่าย อุปกรณ์ตรวจสอบ และส่วนประกอบหลักอื่น ๆ โดยในกลุ่มผู้ผลิตมิเตอร์อัจฉริยะสัญชาติไต้หวันนั้น อาร์ช มิเตอร์ เป็นบริษัทรายใหญ่ที่พัฒนาส่วนประกอบหลักที่ใช้ในกริดอัจฉริยะ โดยมุ่งพัฒนาระบบตรวจสอบการใช้พลังงาน ระบบบริหารจัดการพลังงานขั้นสูง และบูรณาการเทคโนโลยีเครือข่ายต่าง ๆ โซลูชันอัตโนมัติสมรรถนะสูงของบริษัทฯ มีการนำไปใช้ในกลุ่มผู้ให้บริการสาธารณูปโภค ผู้ผลิต องค์กร และเจ้าของบ้าน นอกจากนี้ อาร์ช มิเตอร์ ยังกำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ระดับพรีเมียมที่ผนวกรวมการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) วัดการใช้พลังงานเข้ากับเทคโนโลยีสื่อสารล้ำสมัย เพื่อยกระดับบทบาทของบริษัทในตลาดมิเตอร์อัจฉริยะระดับไฮเอนด์ ในขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังร่วมมือวิจัยและพัฒนากับผู้เล่นรายอื่นๆ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของตนเจาะตลาดได้เป็นผลสำเร็จ

ไต้หวันได้สร้างระบบที่ครอบคลุมการผลิต จัดจำหน่าย และขนส่งผลิตภัณฑ์อย่างครบวงจร เข้าถึงได้เกือบทุกประเทศในภูมิภาคใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชียแปซิฟิก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกต้าถุง คอมปะนี เป็นตัวอย่าง โดยต้าถุง คอมปะนี ร่วมมือกับบริษัทชั้นนำระดับโลก เช่น ทริลเลียนท์ (Trilliant) ไซอัน (Cyan) และชไนเดอร์ (Schneider) ในเรื่องโซลูชันกริดอัจฉริยะ และหลังจากที่คว้าการรับรองสำคัญมาได้มากมาย (เช่น JIS, TIS และ SIRIM) ต้าถุงก็วางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของตนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่นได้เป็นผลสำเร็จ นอกเหนือจากต้าถุงแล้ว ดีเอเอส เทคโนโลยี ก็เป็นผู้ผลิตมิเตอร์อัจฉริยะจากไต้หวันอีกรายที่ยังคงรักษาชื่อเสียงในสายตาลูกค้าทั่วโลกเอาไว้ได้ โดยดีเอเอสเป็นพันธมิตรทางเทคโนโลยีกับบริษัทอเมริกันผู้นำระบบอ่านมิเตอร์อัตโนมัติอย่างไอทรอน (ITRON) มานานแล้ว ความร่วมมือนี้ทำให้ดีเอเอสได้พัฒนาขีดความสามารถในการนำเสนอผลิตภัณฑ์แบบปรับแต่งที่ตอบโจทย์ความต้องการเจาะจงแต่ละประเทศได้

ผู้ผลิตระบบอัจฉริยะในไต้หวันยังเป็นที่ยอมรับในเรื่องการนำเสนอการใช้งานที่ช่วยเพิ่มมูลค่าเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ด้วย โดยในกรณีของแอคเบล โพลีเทค บริษัทฯ เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีบริหารจัดการพลังงาน รากฐานนี้ทำให้บริษัทฯ รุกพัฒนาโซลูชันใหม่ ๆ ที่เชื่อมโยงมิเตอร์อัจฉริยะเข้ากับการใช้งานอื่น ๆ เช่น การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า และ PLC นอกจากนี้ ดีเอเอสยังเดินหน้าสำรวจหาแนวทางใหม่ ๆ ในการผสานเทคโนโลยีการสื่อสารขั้นสูงลงในมิเตอร์อัจฉริยะ เพื่อให้ฮาร์ดแวร์ทำงานรองรับระบบบริหารจัดการพลังงานทั่วไป ระบบโฮมออโตเมชัน โมดูลสื่อสารผ่าน 4G แพลตฟอร์ม IoT และอื่นๆ ได้ บรรดาผู้ผลิตมิเตอร์อัจฉริยะต่างนำเทคโนโลยี IoT มาใช้เพิ่มโอกาสให้ผลิตภัณฑ์ของตนในการใช้งานประเภทต่างๆ ซึ่งปัจจุบัน แอคเบลกำลังพัฒนาให้มิเตอร์อัจฉริยะเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ในขณะเดียวกัน ดีเอเอสก็กำลังขยายขอบข่ายการใช้งานผลิตภัณฑ์ของตนให้ครอบคลุมการบริหารจัดการพลังงานด้วย

เมื่อมิเตอร์อัจฉริยะฝังตัวลงอย่างล้ำลึกในระบบกริดของหลายๆ ประเทศ รัฐบาลทั่วโลกจึงได้เริ่มเฟ้นหาซัพพลายเออร์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในแวดวงนี้ เพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติและข้อมูล การที่ไต้หวันมีบทบาทสำคัญในซัพพลายเชนชิปเซมิคอนดักเตอร์และอุปกรณ์การสื่อสารนั้น ทำให้ไต้หวันพร้อมมอบโซลูชันที่ผสานรวมมิเตอร์อัจฉริยะเข้ากับเทคโนโลยีความปลอดภัยของข้อมูลที่จำเป็นได้อย่างครบถ้วน ทำให้ไต้หวันขึ้นแท่นพันธมิตรที่วางใจได้ในซัพพลายเชนกริดอัจฉริยะของโลก เทคนิวส์ (TechNews) ได้ปล่อยวิดีโอแนะนำอุตสาหกรรมมิเตอร์อัจฉริยะของไต้หวันไว้บนแชนแนลยูทูบ: https://youtu.be/-9KtJee0lFA

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 06 ต.ค. 2565 เวลา : 12:54:00
03-05-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 3, 2024, 12:45 am