การศึกษา-สิ่งแวดล้อม-สาธารณสุข
"สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้จัดทำดัชนีครูไทย ปี 2565 "พลังครู คือ หัวใจของการพลิกโฉมคุณภาพการศึกษา"


“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้จัดทำดัชนี “ความเชื่อมั่นครูไทย” เป็นประจำทุกปี โดยปีนี้เป็นปีที่ 18 สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 3,897 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 16-26 ธันวาคม 2565 เน้นตัวชี้วัด 20 ประเด็นที่บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นต่อครูไทยทั้งในด้านส่วนตัว การพัฒนาตนเอง และการพัฒนาวิชาชีพในรอบปี 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งแต่ละตัวชี้วัดจะมีคะแนนเต็ม 10 สรุปเรียงลำดับจากความเชื่อมั่นสูงสุดไปถึงต่ำสุด ได้ดังนี้


1. ประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่น “ดัชนีครูไทย” ปี 2565 เต็ม 10 ได้ 7.52 คะแนน

2. ประชาชนให้คะแนน 20 ตัวชี้วัด “ดัชนีครูไทย” โดยคะแนนเต็ม 10 เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้

3. “จุดเด่น-จุดด้อย” ของ ครูไทย วันนี้ คือ

4. ประชาชนคิดว่า "ครูไทย" ควรทำอย่างไร จึงจะพลิกโฉมคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรม

อันดับ 1 บุคลิกภาพดี แต่งกายเหมาะสมกับอาชีพ 7.82 คะแนน

อันดับ 2 มนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับผู้อื่นได้ 7.73 คะแนน

อันดับ 3 มีเป้าหมาย ประเมินและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง 7.68 คะแนน

อันดับ 4 ทันสมัย ทันเหตุการณ์ รู้ข้อมูลใหม่ ๆ 7.66 คะแนน

อันดับ 5 ใช้เทคโนโลยีได้เหมาะสม 7.65 คะแนน

อันดับ 6 มีความเมตตา มีจิตใจโอบอ้อมอารี 7.64 คะแนน

อันดับ 7 ความรู้ความสามารถในการสอนและการถ่ายทอดความรู้ 7.63 คะแนน

อันดับ 8 สามารถทำงานเป็นทีมได้ 7.61 คะแนน

อันดับ 9 ดูแลตนเองทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจ 7.59 คะแนน

อันดับ 10 อบรม พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 7.55 คะแนน

อันดับ 11 ขยันขันแข็ง อดทน เสียสละ ซื่อสัตย์ สุจริต 7.54 คะแนน

อันดับ 11 ช่วยเหลือนักเรียน เพื่อนร่วมงาน ชุมชน สังคม และประเทศชาติ 7.54 คะแนน

อันดับ 13 รักในวิชาชีพครู มีอุดมการณ์ความเป็นครู 7.52 คะแนน

อันดับ 14 ปรับตัวได้เร็ว แก้ปัญหาได้ดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 7.51 คะแนน

อันดับ 15 มีความน่าเชื่อถือ เป็นแบบอย่างที่ดี 7.50 คะแนน

อันดับ 16 มีความเป็นผู้นำ กล้าคิด กล้าตัดสินใจ กล้าเปลี่ยนแปลง 7.48 คะแนน

อันดับ 17 การประพฤติปฏิบัติตนถูกต้องตามหลักคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู 7.45 คะแนน

อันดับ 17 มีทัศนคติที่ดี เข้าใจและคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน 7.45 คะแนน

อันดับ 19 ควบคุมอารมณ์ได้ดี แสดงออกอย่างเหมาะสม 7.33 คะแนน

อันดับ 20 ประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่เป็นหนี้เป็นสิน 6.50 คะแนน

ที่ จุดเด่น ของ ครูไทย ภาพรวม ที่ จุดด้อย ของ ครูไทย ภาพรวม

1 ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ มีทักษะใหม่ๆ 51.89% 1 ภาระงานมาก 56.26%

2 ขยัน อดทน ทุ่มเท เสียสละ 48.11% 2 ขาดงบประมาณในการพัฒนาตนเอง 46.36%

3 เข้าใจเด็ก เข้าใจยุคสมัยที่เปลี่ยนไป 44.63% 3 สวัสดิการ ค่าตอบแทนไม่เหมาะสม 45.08%

4 บูรณาการความรู้มาใช้ในการเรียนการสอน 41.34% 4 หนี้สิน 44.43%

5 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 40.53% 5 มีความเหลื่อมล้ำ 42.25%

สรุปผลการสำรวจ : ดัชนีครูไทย ปี 2565 “พลังครูคือหัวใจของการพลิกโฉมคุณภาพการศึกษา”

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “ดัชนีครูไทย ปี 2565” เป็น ปีที่ 18 สำรวจในกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3,897 คน ระหว่างวันที่ 16-26 ธันวาคม 2565 พบว่า ประชาชนให้คะแนน ความเชื่อมั่น “ดัชนีครูไทย” ปี 2565 7.52 คะแนน โดยตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ บุคลิกภาพดี แต่งกายเหมาะสมกับอาชีพ เฉลี่ย 7.82 คะแนน รองลงมาคือ มนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับผู้อื่นได้ เฉลี่ย 7.73 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่เป็นหนี้สิน เฉลี่ย 6.50 คะแนน จุดเด่นของครูไทยในปีนี้ คือ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และมีทักษะใหม่ๆ ร้อยละ 51.89 จุดด้อย คือ การมีภาระงานมาก ร้อยละ 56.26 สุดท้ายกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 65.74 มองว่า “ครูไทย” จะต้อง “ทันสมัย ทันโลก ทันเหตุการณ์ ปรับตัวเร็ว แก้ปัญหาไว” จึงจะพลิกโฉมการศึกษาไทยได้

ดัชนีครูไทยปีนี้ประชาชนให้คะแนน “ครูไทย” ลดลงจากปีที่แล้วเล็กน้อย (ปี 2564 ได้ 7.75 คะแนน) ปีนี้เต็ม 10 คะแนน ได้ 7.52 คะแนน โดยประชาชนมองว่าครูไทยมีบุคลิกและมนุษยสัมพันธ์ดี พัฒนาตนเอง ทันสมัย แต่ก็ยังพบปัญหาด้านจริยธรรม จรรยาบรรณ การควบคุมอารมณ์ จากผลสำรวจดัชนีครูไทยย้อนหลัง 10 ปีชี้ชัดว่าปัญหา “หนี้สิน” เป็นปัญหาใหญ่และฝังรากลึกมาอย่างยาวนานสำหรับครูไทย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการไม่ว่ายุคใดสมัยใดแม้ให้ความสำคัญ แต่ก็ยังแก้ปัญหาไม่สำเร็จ จึงควรศึกษาและรื้อดูระบบว่าปัญหานี้อยู่ที่จุดใดกันแน่

โดย นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533

“ดัชนีครูไทย ปี 2565” พบว่า ประชาชนเกิดการรับรู้และให้ความสนใจเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของครู โดยครูมีการพัฒนาบุคลิกภาพดีขึ้นซึ่งถือเป็นส่วนที่มองเห็นชัดเจน เนื่องจากการเรียนรู้ไม่ได้จัดขึ้นเฉพาะในชั้นเรียน แต่ขยายวงกว้างในโลกออนไลน์ บุคคลต่าง ๆ สามารถเข้าถึงและรับรู้ได้ง่ายขึ้น ตลอดจนการพัฒนาตนเองทางด้านวิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ ๆ ด้วยรูปแบบการสอน เทคนิคใหม่ ๆ ผสมผสานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้เด็ก ครอบครัว และสังคมมีส่วนร่วม ครูไทยต้องแสดงพลังความร่วมแรง ร่วมใจของครูทุกศาสตร์ รักษาจุดเด่นในเรื่องการปรับตัว การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และพร้อมเปลี่ยนแปลงตนเองให้สอดคล้องตามยุคสมัย ตามวิถีของผู้เรียนในยุคปัจจุบัน ไม่ควรหยุดที่จะเรียนรู้ พัฒนาทักษะใหม่ ๆ จนเกิดความรู้ลึกและรู้กว้าง ขยันศึกษาและเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม บริหารจัดการเวลาในการทำงานอย่างสมดุล ตลอดจนรักษาจิตวิญญาณของความเป็นครูที่มุ่งมั่นและตั้งใจในการพัฒนาเด็กไทยด้วยใจที่เมตตาและปรารถนาดี

ดร.ศศิธร รณะบุตร ครูใหญ่โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ ลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

1 ทันสมัย ทันโลก ทันเหตุการณ์ ปรับตัวเร็ว แก้ปัญหาไว 65.74%

2 ปรับรูปแบบการสอน ใช้เทคนิคใหม่ ๆ ผสมผสาน 62.23%

3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้เด็กมีส่วนร่วม ได้ทำจริง 59.28%

4 คิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ 56.81%

5 พัฒนาด้านเทคโนโลยี 54.14%

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 15 ม.ค. 2566 เวลา : 21:47:42
05-05-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 5, 2024, 8:07 am