การศึกษา-สิ่งแวดล้อม-สาธารณสุข
ผลกระทบของมลพิษในอากาศ ต่อพัฒนาการทางสมองและสุขภาพของเด็ก


 
ฝุ่นควันขนาดเล็กจากมลพิษในอากาศหรือ PM2.5 มีขนาดเล็กกว่าความกว้างของเส้นผมมนุษย์ถึง 25 เท่า ขณะที่หายใจเข้าฝุ่นขนาดเล็กนี้ ก็เข้าสู่ร่างกายทางจมูกและปาก อากาศไหลผ่านทางเดินหายใจและในที่สุดก็ไปถึงถุงลมซึ่งเป็นถุงอากาศเล็กๆ ในส่วนลึกที่สุดของปอด ฝุ่นขนาดเล็กที่สุดเมื่อเข้ามาในปอด แทรกตัวผ่านถุงลม เข้าสู่กระแสเลือด และเคลื่อนตัวไปยังอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย และส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะเหล่านี้

อวัยวะสำคัญที่ได้รับผลกระทบได้แก่ ปอด ระบบภูมิคุ้มกัน หัวใจและสมองที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา สมองจะพัฒนาได้เร็วที่สุดในช่วงแรกเกิด แต่การพัฒนาจะมีต่อเนื่องตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยรุ่น และมีบทบาทสำคัญในเรื่องความจำของเด็ก ความสนใจระยะสั้น การควบคุมอารมณ์ และการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

เมื่อเข้าไปถึงสมองของเด็กที่กำลังพัฒนา ฝุ่นละอองจะเข้าไปสร้างความเสียหายให้เซลล์สมอง ผลก็คือความบกพร่องในพัฒนาการทางสติปัญญาและความสามารถในการเรียนรู้ที่อาจมีผลร้ายแรงตามมาต่อสวัสดิภาพและศักยภาพในการทำงานตลอดช่วงชีวิต

ฝุ่นละอองอาจจะสะสม ซึ่งก่อให้เกิดการเสื่อมของระบบประสาทในช่วงปลายของชีวิต นอกจากจะสร้างความเสียหายให้แก่สมองแล้ว มลพิษในอากาศยังอาจทำให้ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ตลอดช่วงชีวิตอีกด้วยซึ่งรวมถึงสมองขาดเลือด ปอดบวม โรคหลอดเลือดหัวใจแข็ง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มะเร็งปอด

ปกป้องลูกหลานของคุณจากมลพิษทางอากาศโดยอยู่ภายในอาคารเมื่อมลพิษในอากาศสูง หากจำเป็นต้องออกข้างนอก ใส่หน้ากากกันฝุ่นติดตั้งเครื่องกรองอากาศที่บ้านหากเป็นไปได้ ทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีวิตามินซีและอีและสารต้านอนุมูลอิสระ โอเมก้า 3 สูง

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 02 ก.พ. 2566 เวลา : 19:08:51
27-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 27, 2024, 5:19 am