การค้า-อุตสาหกรรม
โครงการเพาะเห็ดเศรษฐกิจแบบเกษตรกรมีส่วนร่วมจังหวัดศรีสะเกษ สร้างอาชีพและรายได้ให้สมาชิกปีละกว่า 1 ล้านบาท / ปี


ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ฯ จัดฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้พัฒนาการผลิตเห็ดให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรนำเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการผลผลิตเห็ดตามคำแนะนำกรมวิชาการเกษตรเพิ่มศักยภาพผลิตเห็ดคุณภาพเพิ่มทางเลือกการประกอบอาชีพและรายได้

 
 
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่าศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรมวิชาการเกษตร อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มีการจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม และดำเนินการฝึกอบรมให้ความรู้ในด้านต่างๆ ตามความเหมาะสมให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ในพื้นที่ทั้งการอบรมภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ การจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายงานขยายผลในรูปแบบผลสำเร็จของศูนย์ฯ สู่เกษตรกรในพื้นที่อื่นๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวตลอดจนติดตามประเมินผลประสิทธิภาพและประสิทธิผลจากการฝึกอบรมโดยเน้นการแก้ไขปัญหาหนี้สิน การพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้ สนับสนุนการทำเกษตรกรรมไร้สารพิษ มุ่งเน้นการผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาด สมาชิกภายในกลุ่มสามารถทำเองได้ ดังนี้

 
ตั้งแต่ต้นน้ำคือการจัดการการผลิตให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และมีปริมาณตามความต้องการเพื่อเข้าสู่ธุรกิจกลางน้ำ คือ การบริการจัดการผลผลิต การรับรองมาตรฐาน การแปรรูป และ ปลายน้ำคือการเชื่อมโยงตลาด ทั้งตลาดในชุมชน ตลาดในจังหวัด ห้างค้าปลีก ตลาดโรงงานแปรรูปและตลาดส่งออก การยกระดับการผลิตและการแปรรูปสินค้าเกษตรอินทรีย์และการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและการค้าชุมชนผ่านสื่อออนไลน์อีกด้วยซึ่งปัญหาที่เกิดในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษที่พบคือ เกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษแนวบริเวณชายแดน ประกอบอาชีพทำนาไม่ได้ผล และมีค่าใช้ในครัวเรือนที่สูงขึ้นรวมทั้งหลายสาเหตุของหนี้สินของเกษตรกร

 
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงดำเนินงานเพื่อสนองแนวพระราชดำริ ลดภาระค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ในครัวเรือน แก้ปัญหาความยากจนและหนี้สินเกษตรกรตามแนวบริเวณชายแดนโดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการผลิตเห็ด ตามคำแนะนำกรมวิชาการเกษตร ช่วยพัฒนาการผลิตเห็ดให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) มีการจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ คัดเลือกเกษตรกรจัดทำแปลงเรียนรู้การผลิตเห็ดเศรษฐกิจ การติดตาม ให้คำแนะนำการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตพืช การขยายผล สร้างเครือข่าย และการชี้ช่องทางการหาตลาดรองรับให้กับเกษตรกร

 
ปัจจุบันการเพาะเห็ดนางรมของสมาชิกมีการผลิตปีละ 2 รอบจำนวนก้อนเห็ดที่ได้ปีละ 21,131 ก้อน/ราย ได้ผลผลิตรวมปีละ 3,559 กิโลกรัม/ราย ต้นทุนอยู่ที่ปีละ 151,235 บาท/ราย รายได้รวมอยู่ที่ปีละ 213,526 บาท/ราย ผลผลิตรวมของสมาชิก 29,964 กิโลกรัม สร้างรายได้ให้แก่สมาชิกปีละประมาณ 1,797,855 บาท และสมาชิกมีการต่อยอดนำก้อนเชื้อเห็ดนางรมที่หมดระยะการให้ผลผลิตมาเป็นวัสดุเพาะเห็ดฟาง ซึ่งมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 3,444 บาท/เดือน/ราย ผลผลิตเฉลี่ย 284 กก./เดือน/

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 03 ก.พ. 2566 เวลา : 17:14:31
20-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 11:55 am