การศึกษา-สิ่งแวดล้อม-สาธารณสุข
"กรุงเทพโพลล์"สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ความหวังของแรงงานไทย ในวันแรงงานแห่งชาติ"


 

แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 72.3 มีชีวิตความเป็นอยู่ไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิม เมื่อเทียบกับช่วงโควิด-19 โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 41.4 มีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนเดิม ส่วนร้อยละ 30.9 มีชีวิตความเป็นอยู่แย่ลง ส่วนใหญ่ร้อยละ 71.9 ยังเจอผลกระทบต่อการทำงาน โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 44.5 รายได้ต่อวันลดลงจากเดิม รองลงมาร้อยละ 31.3 ต้องทำงานเยอะขึ้น สิ่งที่อยากขอ ในวันแรงงานแห่งชาติปีนี้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.9 อยากให้ควบคุมราคาสินค้า ไม่ให้กระทบค่าครองชีพรองลงมา อยากให้เร่งขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ คิดเป็นร้อยละ 72.2 ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.6 อยากให้มีการพัฒนาทักษะในการปรับตัวและเปิดรับในการเรียนรู้สิ่งใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานสากล


กรุงเทพโพลล์โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ความหวังของแรงงานไทย ในวันแรงงานแห่งชาติ” โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแรงงานพบว่า

เมื่อถามว่าชีวิตความเป็นอยู่ในวันนี้เป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 พบว่ากลุ่มตัวอย่างแรงงานร้อยละ 41.4 มีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนร้อยละ 30.9 มีชีวิตความเป็นอยู่แย่ลง ขณะที่ร้อยละ 27.7 มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น

ทั้งนี้เมื่อถามว่ายังต้องเจอผลกระทบต่อการทำงานหรือไม่ หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คลี่คลายพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 71.9 ยังเจอผลกระทบ โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 44.5 รายได้ต่อวันลดลงจากเดิม รองลงมาร้อยละ 31.3 ต้องทำงานเยอะขึ้น งานหนักขึ้น และร้อยละ 24.0 ไม่มี OT เงินโบนัส ขณะที่ร้อยละ 28.1 ไม่เจอกับผลกระทบ

เมื่อถามว่า “ในปัจจุบันรายรับจากค่าจ้างแรงงานกับรายจ่ายเป็นอย่างไร” พบว่า แรงงานร้อยละ 45.7 มีรายรับพอดีกับค่าใช้จ่ายจึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม ขณะที่ร้อยละ 38.6 มีรายรับไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม ส่วนที่เหลือร้อยละ 15.7 มีรายรับเพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม

สิ่งที่อยากขอให้กับแรงงาน ในวันแรงงานแห่งชาติปีนี้พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.9 อยากให้ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภค พื้นฐานไม่ให้ขึ้นราคา กระทบค่าครองชีพ รองลงมาคือ อยากให้เร่งขึ้นค่าแรงขั้นต่ำคิดเป็นร้อยละ 72.2 และอยากให้มีสวัสดิการโบนัสแก่แรงงานในทุกๆ ปี คิดเป็นร้อยละ 52.7

สุดท้ายเมื่อถามว่าอยากให้มีการพัฒนาทักษะในด้านใด เพื่อเพิ่มศักยภาพต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานสากลพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.6 อยากให้พัฒนาทักษะในการปรับตัวและเปิดรับในการเรียนรู้สิ่งใหม่ รองลงมาคือ ทักษะทางภาษา คิดเป็นร้อยละ 44.6 และทักษะในการสื่อสารทางการตลาด คิดเป็นร้อยละ 27.1

โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ชีวิตความเป็นอยู่ในวันนี้เป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19

ดีขึ้น ร้อยละ 27.7

เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ร้อยละ 41.4

แย่ลง ร้อยละ 30.9

2. ผลกระทบต่อการทำงานที่ยังต้องเจอหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย

ยังเจอผลกระทบ ได้แก่ ร้อยละ 71.9

(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) รายได้ต่อวันลดลงจากเดิม ร้อยละ 44.5

ต้องทำงานเยอะขึ้น งานหนักขึ้น ร้อยละ 31.3

ไม่มี OT เงินโบนัส ร้อยละ 24.0

หางานได้ยากขึ้น ร้อยละ 21.5

ถูกลดสวัสดิการต่างๆ ที่เคยได้รับลง ร้อยละ 19.1

ตกงาน ต้องหางานใหม่ ร้อยละ 12.8

ไม่เจอผลกระทบ ร้อยละ 28.1

3. ข้อคำถาม “ในปัจจุบันรายรับจากค่าจ้างแรงงานกับรายจ่ายเป็นอย่างไร”

รายรับเพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม ร้อยละ 15.7

รายรับพอดีกับค่าใช้จ่ายจึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม ร้อยละ 45.7

รายรับไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม ร้อยละ 38.6

4. สิ่งที่อยากขอให้กับแรงงาน ในวันแรงงานแห่งชาติปีนี้

(เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

อยากให้ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภค พื้นฐานไม่ให้ขึ้นราคา กระทบค่าครองชีพ ร้อยละ 73.9

อยากให้เร่งขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ร้อยละ 72.2

อยากให้มีสวัสดิการโบนัสแก่แรงงานในทุกๆ ปี ร้อยละ 52.7

อยากให้ดูแลสวัสดิการความปลอดภัย ค่ารักษาพยาบาลแก่แรงงาน ร้อยละ 44.2

อยากให้สร้างงาน สร้างอาชีพ ลดภาวการณ์ว่างงาน ร้อยละ 42.1

อยากให้ดูแลสวัสดิการเกี่ยวกับผู้เกษียณอายุ ผู้สูงอายุ ร้อยละ 33.1

อื่นๆ อาทิ ดูแลความเป็นอยู่แรงงาน ดูแลแรงงานที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ร้อยละ 0.3

5. ข้อคำถาม “อยากให้มีการพัฒนาทักษะในด้านใด เพื่อเพิ่มศักยภาพต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานสากล”

(เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ทักษะในการปรับตัวและเปิดรับในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ร้อยละ 63.6

ทักษะทางภาษา ร้อยละ 44.6

ทักษะในการสื่อสารทางการตลาด ร้อยละ 27.1

ทักษะในการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ร้อยละ 24.1

ทักษะทางด้านเทคโนโลยี ร้อยละ 21.9

ทักษะในการคิดและวิเคราะห์ ร้อยละ 16.0

อื่นๆ อาทิ ไม่มี ไม่ทราบ ร้อยละ 0.8

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 29 เม.ย. 2566 เวลา : 20:19:29
29-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 29, 2024, 7:43 pm