เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
Special Report : ทำความรู้จัก "Green Bond" ตราสารหนี้สีเขียว สนับสนุนธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม


 

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เรื่องของ ESG หรือลักษณะการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำนั้น กำลังเป็นที่พูดถึงและมีหลากหลายธุรกิจที่ได้เริ่มยึดแนวคิดนี้มาเป็นแกนหลักในการปฏิบัติงานภายในองค์กรของตน เพราะกระแสรักษ์โลกในปัจจุบันนี้ ได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากจนทำคนส่วนใหญ่ตระหนักถึงเรื่องของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งนอกจากจะเริ่มที่ตัวเองแล้ว ก็ยังมีการรณรงค์ให้สังคมรอบตัวหันมายึดถือหลักปฏิบัตินี้ด้วยเช่นกัน อย่างการเรียกร้องในเรื่องของการใส่ใจสิ่งแวดล้อมกับทางภาคธุรกิจให้ลดผลกระทบ หรือดำเนินการของกิจการไปพร้อมกับการช่วยเหลือปัญหาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน เนื่องจากผู้บริโภคมีอำนาจในมือที่สามารถเลือกที่จะไม่อุดหนุนธุรกิจที่มีส่วนในการทำลายสิ่งแวดล้อมและเลือกที่จะสนับสนุนสินค้าของธุรกิจที่ใส่ใจดูแลเรื่องดังกล่าว ทำให้ธุรกิจที่หันมายึดถือคุณค่าของ ESG เช่นเดียวกับผู้บริโภค ไม่ว่าจะด้วยการสะท้อนบทบาทความรับผิดชอบต่อ Stakeholders ผู้ที่มีส่วนได้เสียกับธุรกิจที่ทำ และการแสดงผลลัพธ์การดำเนินกิจการในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน จะทำให้ได้รับการยอมรับจากสังคมและอยู่รอดบนโลกธุรกิจในทศวรรษนี้

จากสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้ฝั่งของการเงินการลงทุน ที่ถือว่าเป็นเส้นเลือดใหญ่ของภาคธุรกิจอีกที ก็ต้องตอบรับแนวคิด ESG เช่นเดียวกัน ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ที่เรียกว่า ตราสารหนี้สีเขียว หรือ Green Bond ขึ้นมา ซึ่งก็คือหุ้นกู้ที่ผู้ออก (รัฐบาล องค์กรธุรกิจ และสถาบันการเงิน) ทำการสัญญาว่าจะใช้เงินสำหรับการลงทุนในธุรกิจที่ดำเนินกิจการเพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม โดยจะทำการขายให้กับนักลงทุน ซึ่งมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ และพวกเขาจะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยอย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนด และจะได้รับเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนดอายุของ Green Bond นั้นๆเฉกเช่นเดียวกับตราสารหนี้ชนิดอื่นๆ

ซึ่ง Green Bond มีการเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเริ่มต้นจากทางฝั่งของประเทศที่มีนักลงทุนที่ใส่ใจสังคมเป็นจำนวนมากอย่างสหรัฐและประเทศในแถบยุโรป ส่วนด้านของประ เทศไทย ในปี 2561 นั้น ธนาคารทหารไทยธนชาตเป็นธนาคารแห่งแรกที่ได้ออก Green Bond ในไทย โดยได้ออกตราสารหนี้สีเขียวที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ จากปัญหาความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย แต่ยังถือว่าในช่วงเวลานั้นยังได้รับความนิยมน้อยอยู่ เนื่องจากปัจจัยของเรื่องความยั่งยืนยังไม่ได้มีน้ำหนักพอในการประกอบการพิจารณาในการลงทุนของฝั่งประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่พบว่าการออก Green Bond ในไท ตั้งแต่ ปี 256เป็นต้นมาจนถึงปี 2565 มีมูลค่ารวม 85,300 ล้านบาทจาก 11 บริษัทคิดเป็นเพียง 2%ของมูลค่าหุ้นกู้ภาคเอกชนทั้งหมดและข้อมูลนี้ก็ได้รับการยืนยันจากทาง ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ที่ได้กล่าวว่า ปัจจุบันในตลาดของประเทศ ไทย สัดส่วนพันธบัตรประเภท Green Bond นั้นมีอยู่เพียง 2% ซึ่งถือเป็นตลาดที่ Economy of Scale ยังไม่เกิด ผนวกกับปี 2565 เป็นปีที่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกด้วย จึงเป็นปัจจัยกดดันสำหรับผลิตภัณฑ์ Green Bond ในไทย 

แต่อย่างไรก็ตามหากเทียบปีต่อปีจะพบว่าในปี 2563 ประเทศไทยมีการออก ESG Bond (รวมถึง Green Bond) ในสัดส่วนที่มาก กว่าปี 2562 ถึง 3 เท่า เพราะทางฝั่งของผู้ออก อย่างภาครัฐและภาคเอกชนเริ่มให้ความสนใจในการออกตราสารหนี้นี้กันมากขึ้น เริ่มต้นมาตั้งแต่การวางรากฐานของทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่มีการกำหนดเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการเสนอขาย ESG Bond ที่ชัดเจนตั้งแต่ปี 2561 และยังมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นขอคำอนุญาตและค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้สำหรับตราสารหนี้ด้ง
 
 
 
 
รูปจาก Krungthai Compass

กล่าวจนถึงวันที่ 31 พ.ค.2568 มีการสร้างมาตรฐานการวัดระดับอย่างการผลักดัน Reviewer เป็นคนตรวจสอบว่าหุ้นกู้นี้เป็น ESG Bond หรือไม่ พร้อมทั้งส่งเสริมให้กองทุนต่างๆหันมาลงทุนในหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนมากขึ้น

จาการสนับสนุนดังกล่าว ทำให้ ESG Bond โดยเฉพาะ Green Bond ค่อยๆมีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ นับตั้งแต่การออก Green Bond เจ้าแรกของ ธนาคารทหารไทยธนชาตตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น แต่เนื่องจากเป็นการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินสีเขียวเป็นครั้งแรก ซึ่งเหมือนเป็นสินค้าใหม่ที่ก้าวเข้าสู่ตลาด จึงมีการออกในสัดส่วนเพียงแค่ 10,120 ล้านบาทในปี 2561 แต่เมื่อตลาดเริ่มรู้จัก เริ่มมีความคุ้นชิน ประกอบกับเรื่องของกระแสรักษ์โลก ทำให้มีผู้ออกตราสารหนี้สีเขียวหน้าใหม่ก้าวเข้ามาเรื่อยๆ โดยเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นในปี 2563 ทั้งจากทางฝั่งของกระทรวงการคลังมีการออก Sustainability Bond เป็นครั้งแรกเพื่อนำไปใช้ในมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของวิกฤติ Covid-19 ซึ่งได้รับความสนใจจากบรรดานักลงทุนที่มีอยู่ถึง 3.05 เท่า เช่นเดียวกับ Green Bond ของ บจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) ที่ออกตราสารหนี้ดังกล่าวเพื่อสนับสนุนโครงการระบบขนส่งที่ลดการก่อเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นส่วนมากเช่นกัน หรือจะเป็นในส่วนของสถาบันการเงินอย่างธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่มีการออก Green Bond มูลค่า 6,000 ล้านบาท ที่เสนอขายให้กับนักลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งลงทุนในสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การเพิ่มและฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ และการส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืน
 

 


LastUpdate 07/08/2566 19:11:07 โดย : Admin
03-05-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 3, 2024, 3:08 am