การตลาด
Dialogue Forum 5 Year 4 วิเคราะห์ข้อท้าทายการเจรจาฯ ลดโลกร้อน COP28


 
ในห้วงเวลาที่สังคมยังมีช่องว่างและความแตกต่างทางข้อเท็จจริงและความคิดสูง บางประเด็นที่เกิดขึ้นในสังคมอาจถูกขยายผลจนนำไปสู่วิกฤตการณ์ หากไร้ซึ่งเวทีในการพูดคุยแลกเปลี่ยนทางความคิดสำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 
 
สื่อมวลชนเอง ในขณะที่ทำหน้าที่บอกกล่าวและให้แรงบันดาลใจกับผู้คนในสังคม สามารถมีบทบาทช่วยอํานวยความสะดวกการพูดคุยและสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกิดขึ้น เป็นเสมือน “สะพานเชื่อม” เพื่อประสานช่องว่างและความแตกต่างทางข้อมูลข้อเท็จจริง พร้อมๆ กับเชื่อมร้อยประเด็นที่กระจัด กระจายเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นภาพใหญ่เพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้นในสังคม    
 
โดยการสนับสนุนของมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ สำนักงานประเทศไทย (Konrad Adenauer Foundation (KAS), Thailand Office) และความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตร, สำนักข่าว Bangkok Tribune ร่วมกับ Decode.plus Thai PBS, ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม, และ SEA-Junction จัดเวทีเสวนาประจำเดือนภายใต้โครงการ “Dialogue Forum” เพื่อเป็นพื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลข้อเท็จจริง รวมทั้งข้อคิดเห็นต่างๆ ของทุกฝ่ายในประเด็นที่กำลังอยู่ในความสนใจของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็นเชิงนโยบายทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เพื่อช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเชิงนโยบายที่ดีขึ้น 

นับตั้งแต่ประชาคมโลกก้าวเข้าสู่ทศวรรษแห่งความท้าทายในการแก้ปัญหาโลกร้อนระยะ 10 ปีแรก ตั้งแต่ พ.ศ.2564-2573 (2021-2030) โดยมีการประชุมเจรจาฯ ลดโลกร้อน COP26 และ COP27 ที่เมืองกลาสโกล์ว ประเทศอังกฤษ และประเทศอียิบต์ ในปี 2564 และ 2565 ตามลำดับ โลกกำลังก้าวสู่บททดสอบที่หนักหนาสาหัสเนื่องจากความไม่ลงรอยในแนวทางแก้ปัญหาของประเทศสมาชิกในการเจรจาตกลงเพื่อแก้ไขปัญหาโลกร้อนในเวทีดังกล่าว

เพื่อจะบรรลุเป้าหมายที่จะรักษาระดับอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส หรือไม่เกินขีดจำกัดที่ 1.5 องศาฯ ทุกประเทศต้องร่วมมือช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่น้อยกว่า 43% ของระดับการปล่อยในปี 2019 แต่ข้อมูลจาก World Resources Institute (WRI) กลับพบว่า ความพยายามในการช่วยกันลดก๊าซฯ ผ่านการดำเนินงาน “การมีส่วนร่วม (ลดก๊าซ) ที่ประเทศกำหนด' (NDCs) ตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) โลกจะสามารถลดก๊าซฯ ได้เพียง 7% เท่านั้น 

นอกจากนั้น ทางสถาบัน WRI กลับพบว่า  การให้เงินอุดหนุนการใช้พลังงานฟอสซิลกลับพุ่งสูงถึงกว่า US$7 ล้านล้านในปีที่ผ่านมา

แม้จะมีความสำเร็จในการเจรจาในเบื้องต้นใน COP27 ไม่ว่าจะเป็นข้อตกลงในการจัดทำ Global Stocktake การเตรียมจัดตั้งทุนสำหรับ Loss and Damage หรือการเพิ่มเงินสนับสนุนการปรับตัวฯ (Adaptation) ก็ตาม ประเด็นเหล่านี้ยังเป็นความท้าทายในการเจรจาที่จะมาถึงใน COP28 ที่ประเทศดูไบ

เวทีเสวนาเชิงนโยบาย Dialogue Forum จึงใคร่ถือโอกาสนี้เรียนเชิญท่านที่สนใจ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็นดังกล่าวกับผู้เชี่ยวชาญและผู้ดูแลรับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ความท้าทายที่จะเกิดขึ้นและเส้นทางในอนาคตในการแก้ปัญหาและการรับมือโลกร้อนใน ซีรีย์เวทีเสวนา Dialogue Forum 5&6 l Year 4: วิเคราะห์ข้อท้าทายการเจรจาฯ ลดโลกร้อน COP28 และเส้นทางสู่อนาคต ในวันที่ 28 พฤศจิกายน และวันที่ 22 ธันวาคม 2566 เวลา 10.00-12.30 น. ณ SAE-Junction ชั้น 4 หอศิลปแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)
 
วัตถุประสงค์ 
 
เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจในประเด็นเชิงนโยบายด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อสาธารณะ (Inform & Inspire)
 
เพื่อริเริ่มการสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้และนวตกรรมทางการสื่อสารแบบใหม่ที่เต็มไปด้วยเนื้อหาสาระและมีความเป็นอิสระแก่สาธารณะ (Indie & In-depth)
 
เพื่อส่งเสริมคนในสังคมให้รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิตและในสังคม รวมทั้งการทำงานของสื่อมวลชนที่มีส่วนช่วยสร้างสรรค์สังคม (Empowering)
 
เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและการออกแบบข้อเสนอเชิงนโยบาย และตัดสินใจ
เชิงนโยบายในสังคม (Participatory & Inclusive)

ร่วมจัดโดย

Decode.plus, สำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ Thai PBS
ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม (The Thai Society of Environmental Journalists)
SEA-Junction
สำนักข่าว Bangkok Tribune 

Supported by

Konrad Adenauer Foundation (KAS), Thailand Office

ติดต่อประสานงาน 
 
Piyaporn Wong l ผู้ประสานงาน สำนักข่าว Bangkok Tribune: 089 920 8027/ b.tribune@bkktribune.com/ FB Messenger: Bangkok Tribune News

ลงทะเบียน: https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSdwnG82RRCiEulAnWbyHJY1uJk1QTYNWezgLcLwzR5J7JUsXg/viewform?usp=pp_url
 
**เนื่องด้วยมาตรการโควิด 19, กรุณายืนยันการเข้าร่วมงานเสวนาของท่านล่วงหน้า และปฏิบัติตามมาตรการพื้นฐานการป้องกันโรคโควิด 19 อาทิ การสวมหน้ากาก การล้างมือด้วยแอลกอฮอล์
 
***ท่านสามารถติดตามการถ่ายทอดสดงานเสวนา (FB Live) ได้อีกทางหนึ่งที่ Facebook Page: Decode.plus, Bangkok Tribune News, ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม, และ SEA-Junction
 
Dialogue Forum 5 l Year 4 วิเคราะห์ข้อท้าทายการเจรจาฯ ลดโลกร้อน COP28
SEA-Junction, BACC 28 พฤศจิกายน 2566 (10.00-12.30 น.)
 
10.00 น. ลงทะเบียน

10.20 น. แนะนำเวที

10.25 น. Overview: ประเด็นท้าทายการเจรจาฯ ลดโลกร้อนในทศวรรษ 2030 และความหวังในการปรับตัวและการยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา MQDC และผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต 

10.40 น.Forum Discussion: บทวิเคราะห์การเจรจาฯ ลดโลกร้อน COP28 และจุดยืนของประเทศไทย
          
วิทยากร:

คุณนารีรัตน์ พันธุ์มณี ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ดร.กฤษฎา บุญชัย เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา และผู้ประสานงานเครือข่าย Thai Climate Justice for All (TCJA)

คุณธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการกรีนพีซ ประเทศไทย
 
ผู้ดำเนินรายการ

คุณวิภาพร วัฒนวิทย์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ Decode.plus และผู้ประกาศข่าว Thai PBS

12.00 น. ช่วงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและถาม-ตอบ

12.30 น. สรุปและปิดเวที
 










 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 24 พ.ย. 2566 เวลา : 19:08:11
01-05-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 1, 2024, 7:56 am