การศึกษา-สิ่งแวดล้อม-สาธารณสุข
"นิด้าโพล" เผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง "ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567"


 
เนื่องในวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี ตรงกับวันผู้สูงอายุ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ร่วมกับ ศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ (Center for Aging Society Research – CASR) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 26-27 มีนาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุระหว่าง 30-59 ปี กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับภาพลักษณ์ของผู้สูงอายุไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อภาพลักษณ์ของผู้สูงอายุไทย ในประเด็นต่าง ๆ พบว่า

1. ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่น่าเคารพ ตัวอย่าง ร้อยละ 88.17 ระบุว่า เห็นด้วย และร้อยละ 11.83 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย

2. ผู้สูงอายุสามารถอาศัยอยู่ร่วมกับลูกหลานได้ ตัวอย่าง ร้อยละ 86.18 ระบุว่า เห็นด้วย และร้อยละ 13.82 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย

3. ผู้สูงอายุสามารถเป็นที่พึ่งให้ลูกหลาน ตัวอย่าง ร้อยละ 83.97 ระบุว่า เห็นด้วย และร้อยละ 16.03 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย

4. ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตแจ่มใส ไม่ซึมเศร้า ตัวอย่าง ร้อยละ 74.81 ระบุว่า เห็นด้วย และร้อยละ 25.19 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย

5. ผู้สูงอายุมีเพื่อนฝูง ไม่เหงา ไม่เก็บตัว ตัวอย่าง ร้อยละ 73.82 ระบุว่า เห็นด้วย และร้อยละ 26.18 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย

6. ผู้สูงอายุมีความจำดี สามารถรับรู้ได้ดี ตัวอย่าง ร้อยละ 69.62 ระบุว่า เห็นด้วย และร้อยละ 30.38 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย

7. ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ตัวอย่าง ร้อยละ 67.63 ระบุว่า เห็นด้วย และร้อยละ 32.37 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย

8. ผู้สูงอายุสามารถทำงานหารายได้เลี้ยงดูตนเอง ตัวอย่าง ร้อยละ 53.36 ระบุว่า เห็นด้วย และร้อยละ 46.64 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.40 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.70 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.10 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 34.05 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 8.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.78 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.22 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 61.91 มีผู้สูงอายุพักอาศัย อยู่ร่วมกันในครอบครัว และร้อยละ 38.09 ระบุว่า ไม่มีผู้สูงอายุพักอาศัยอยู่ร่วมกันในครอบครัว

ตัวอย่าง ร้อยละ 48.70 อายุ 30-44 ปี และร้อยละ 51.30 อายุ 45-59 ปี ตัวอย่าง ร้อยละ 95.80 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.21 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.99 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 25.19 สถานภาพโสด ร้อยละ 73.05 สมรส และร้อยละ 1.76 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 19.01 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 36.18 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.39 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 30.08 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 5.34 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 11.15 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 19.69 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 25.80 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.50 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 19.01 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน และร้อยละ 9.85 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน

ตัวอย่าง ร้อยละ 9.77 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 18.78 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 34.20 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 14.12 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.57 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 5.96 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 11.60 ไม่ระบุรายได้
 
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 13 เม.ย. 2567 เวลา : 18:37:59
04-05-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 4, 2024, 12:10 pm