เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทางการเงิน (Financial Technology : FinTech)


นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง  เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังมีนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรม FinTech อย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดแรงขับเคลื่อนในการพัฒนาอุตสาหกรรม FinTech ในวงกว้าง อันจะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาการให้บริการทางการเงินในระบบการเงินของไทย สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาลที่มุ่งหวังให้เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศกระทรวงการคลังจึงเสนอแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทางการเงิน

 

 

ซึ่งประกอบด้วย3 มาตรการ ได้แก่ 1) พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางการเงิน 2) ผลักดันหน่วยงานภาครัฐเป็นผู้ให้และผู้ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับ FinTech และ 3) จัดตั้งสถาบันนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเงิน (Institute for Financial Innovation and Technology) หรือ InFinIT ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแนวทางดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2561 แนวทางดังกล่าว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 

1) พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางการเงิน เพื่อให้ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการทางการเงินสามารถทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย โดยกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมอยู่ระหว่างดำเนินโครงการสำคัญ 2 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติที่ส่งเสริมการบูรณาการระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในระบบภาครัฐและภาคเอกชน และ                  2) โครงการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Identification Platform) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนและลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน ซึ่งเป็นภาระแก่ทั้งผู้แสดงตนและผู้มีหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องและยืนยันตัวตนในด้านเวลาและทรัพยากร 

2) ผลักดันหน่วยงานภาครัฐเป็นผู้ให้และผู้ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับ FinTech โดยกระทรวงการคลังจะผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นทั้งผู้ให้และผู้ใช้บริการผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับ FinTech มากขึ้น เช่น การรับจ่ายเงินภาครัฐทางอิเล็กทรอนิกส์การบูรณาการระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ การจ่ายสวัสดิการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ การเพิ่มช่องทางในการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของ SFIs เป็นต้น เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม FinTech อีกทางหนึ่ง 

3) จัดตั้งสถาบันนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเงิน (Institute for Financial Innovation and Technology : InFinIT) เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นที่เกี่ยวข้องกับ FinTech (FinTech Startups) และพัฒนาสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์ของอุตสาหกรรม FinTech (FinTech Ecosystem) ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 โดย InFinIT จะทำหน้าที่ ดังนี้ 1) บ่มเพาะและส่งเสริม FinTech Startups ให้สามารถต่อยอดความคิดให้เป็นนวัตกรรมทางการเงิน 2) เสริมสร้างความสามารถทางการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ FinTech Startups สามารถพัฒนานวัตกรรมในเชิงการค้าได้ 3) สร้างเครือข่ายของภาครัฐและภาคเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ FinTech ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้ประเทศไทยมี FinTech Ecosystem ที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม FinTech 4) ผลักดันให้มีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการทางการเงินในประเทศไทยในทุกภาคส่วน ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับ FinTech ของ SFIs และ 5)  ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งทักษะที่เกี่ยวข้องกับ Fintech เพื่อสร้างผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรม FinTech หรือผู้ประกอบการในอนาคต (Talent Pipeline)     

ทั้งนี้ InFinIT จะประสานงานกับหน่วยงานที่ทำหน้าที่บ่มเพาะและเร่งการพัฒนา (Incubators and Accelerators) ในระดับนานาชาติ สถาบันการศึกษาชั้นนำ หน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศรวมทั้ง สถาบันการเงินเฉพาะกิจและผู้ให้บริการทางการเงินประเภทต่างๆ ในการจัดทำโครงการต่าง ของ InFinIT 

นางสาวกุลยาฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “FinTech และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ FinTech เช่น บล็อกเชน ปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น ได้มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างยิ่งในการทำธุรกรรมการเงินในรูปแบบต่าง ซึ่งอุตสาหกรรม FinTech และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมีความสำคัญไม่เพียงต่อการให้บริการทางการเงินเท่านั้น แต่ยังจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอื่น ในวงกว้าง รัฐบาลได้เห็นถึงความสำคัญและได้พิจารณาถึงผลกระทบของ FinTech ที่มีต่อประชาชน และผู้ให้บริการทางการเงิน รวมถึงแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรม FinTech เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 18 เม.ย. 2561 เวลา : 15:28:20
25-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (24 เม.ย.67) บวก 3.64 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.10 จุด

2. ประกาศ กปน.: 27 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (24 เม.ย.67) บวก 3.44 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,360.90 จุด

4. MTS Gold คาดว่าจะมีกรอบแนวรับที่ 2,260 เหรียญ และแนวต้านที่ 2,335 เหรียญ

5. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (23 เม.ย.67) ร่วง 4.30 เหรียญ คลายความกังวลตะวันออกกลาง-จับตาเงินเฟ้อและGDPสหรัฐ

6. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (23 เม.ย.67) พุ่งขึ้น 263.71 จุด ขานรับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนแข็งแกร่งเกินคาด

7. ทั่วไทยมีฝนฟ้าคะนอง ภาคเหนือ 30% ภาคอีสาน-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่ง ตต. 20% ภาคใต้ ฝั่ง ตอ.10% กรุงเทพปริมณฑล ฝนเล็กน้อยบางแห่ง

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.80-37.05 บาท/ดอลลาร์

9. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (24 เม.ย.67) แข็งค่าขึ้น ที่ระดับ 36.93 บาทต่อดอลลาร์

10. ทองเปิดตลาด (24 เม.ย. 67) ปรับขึ้น 100 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 40,950 บาท

11. ตลาดหุ้นไทยเปิด (24 เม.ย.67) บวก 7.26 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,364.72 จุด

12. ประกาศ กปน.: 25 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก)

13. ประกาศ กปน.: 25 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนประชาร่วมใจ

14. ตลาดหุ้นปิด (23 เม.ย.67) บวก 7.94 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,357.46 จุด

15. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (23 เม.ย.67) บวก 11.57 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.09 จุด

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 25, 2024, 12:38 am