แบงก์-นอนแบงก์
ทำอย่างไรให้มีเงินออม ในสังคมไร้เงินสด (Cashless Society)


ตั้งแต่ธนาคารเปิดให้บริการ Internet Banking จนถึง Mobile Banking ให้ลูกค้าทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์และจ่ายค่าบริการผ่านบัตรเครดิต การโอนเงินแบบ PromptPay ตลอดจนการจ่ายค่าบริการและสินค้าผ่าน QR Code คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมไทยเองก็กำลังก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) เข้าไปทีละน้อย สำหรับคนที่ปรับพฤติกรรมมาใช้บริการด้าน Digital Banking และ e-Payment คงรู้สึกได้ถึงข้อดีด้านความสะดวกรวดเร็วในการทำธุรกรรมทางการเงิน เพียงแต่ความคล่องตัวนี้ อาจทำให้เราใช้เงินเพลินจนเกลี้ยงบัญชีแบบไม่รู้ตัวได้เหมือนกัน

 


 

  

คำถามคือ ทำอย่างไรให้เหลือเงินออมในสังคมไร้เงินสดแบบนี้? 

 

นี่คือมาตรการรับมือเพื่อการออมเงินอย่างมีประสิทธิภาพ มีวิธีไหนบ้างไปดูกัน 

1)       จัดสรรบัญชี เนื่องจากลักษณะและรูปแบบการโอนเงิน รับเงิน และการใช้จ่ายในยุคดิจิทัลเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การไหลเข้าออกของเงินคล่องตัว ดังนั้นหากไม่มีการจัดสรรบัญชีแยกไว้สำหรับการใช้จ่ายและการเก็บออม อาจทำให้เงินส่วนต่างๆ ปะปนกันจนแยกไม่ออก แล้วก็ไม่เหลือเก็บ สำหรับคนที่ไม่เคยแยกบัญชีเงินเก็บสามารถลองจัดสรรบัญชีต่างๆ ได้ดังนี้

-        บัญชีสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน  โดยบัญชีนี้จะเป็นบัญชีที่ถอนมาใช้จ่ายแบบเป็นประจำ ทั้งรายวัน และรายเดือน อาทิ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายบิลต่างๆ ควรจะต้องมองหาบัญชีที่ปลอดค่าธรรมเนียมแบบ 100% ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมการโอน การจ่าย การเปิดบัญชี หรือค่าธรรมเนียมบัตร เป็นต้น

-        บัญชีเงินเก็บสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน บัญชีนี้จะนำมาใช้เมื่อถึงเวลาจำเป็นจริงๆ เช่น ปรับเปลี่ยนงาน หรือเจ็บป่วย ดังนั้นควรตัดใจแน่วแน่ให้เป็นเงินเย็น เพื่อสำรองไว้สำหรับเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่จะเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว ควรเลือกบัญชีที่คล่องตัว ฝาก-ถอนเมื่อไหร่ก็ได้ และที่สำคัญให้ผลตอบแทนสูง

-        บัญชีเงินออม ไม่สำคัญว่าจะมากหรือน้อย แค่เริ่มเร็วเท่าไรก็ยิ่งสะสมเพิ่มขึ้นเท่านั้น มีให้เลือกทั้งฝากประจำ และไม่ประจำ แต่สิ่งสำคัญจะต้องเป็นบัญชีที่ให้ดอกเบี้ยสูง หนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจอย่างบัญชี ME SAVE ของ ME by TMB บัญชีเงินฝากที่มาพร้อมดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไปถึง 4.5 เท่า สามารถฝากแบบไม่มีขั้นต่ำ ฝากถอนเท่าไหร่ก็ได้ แต่ยังคงให้ผลตอบแทนสูง

-        บัญชีสำหรับให้กำไรกับชีวิต อาจแบ่งเป็นเป้าหมายระยะสั้น ระยะยาวก็ได้ อาทิ เพื่อการท่องเที่ยว ซื้อรถ ซื้อบ้าน แต่งงาน ฯลฯ แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเป้าหมาย และยังไม่ใช้เงินก็สามารถถอนไปรวมกับบัญชีเงินออม แล้วตั้งเป้าหมายใหม่ เพื่อให้ได้เงินเก็บมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ได้

-        บัญชีเพื่อการลงทุน หากรายได้เพียงพอก็สามารถจัดสรรสำหรับส่วนนี้เพิ่มเติมได้ แล้วนำไปต่อยอดเพื่อผลตอบแทนในอนาคต อาทิ ซื้อกองทุน สลากออมสิน ทองรูปพรรณ พันธบัตร หุ้น และอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น และสิ่งสำคัญ คือ การศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนการลงทุน

2)       ใช้ Application เป็นตัวช่วย ในเมื่อเงินเข้า เงินออก จับต้องไม่ได้ ก็ต้องหาเครื่องมือในการคำนวณให้เห็นสถานะทางการเงินของตัวเอง อย่างแอปพลิเคชันด้านการเงินที่เปิดให้บริการดาวน์โหลดทั้งแบบฟรีและมีค่าบริการ มีตั้งแต่การบันทึกรายรับ-รายจ่าย แบบที่คนไม่เคยทำบัญชีมาก่อนก็ทำได้ อย่าง Money Lover สามารถเลือกดูบัญชีการเงินได้ทั้งแบบรายวันและรายเดือน จำแนกค่าใช้จ่ายแต่ละประเภท สามารถทบทวนการใช้จ่าย เพื่อตัดรายจ่ายแบ่งไปออมเพิ่ม หรือ Piggipo ก็มีฟังก์ชันจัดระเบียบบัตรเครดิตที่ถืออยู่ แจ้งเตือนเมื่อถึงกำหนดชำระบิล ป้องกันปัญหาการใช้จ่ายเกินตัวได้ด้วย ใครต้องการตัวช่วยแบบไหนลองศึกษาการใช้และเลือกโหลดตามที่เหมาะกับตัวเองได้

 


 

3)       มองหาความคุ้มค่าจากสังคมไร้เงินสด ในยุคที่อยากรู้ข้อมูลอะไรก็หาได้แค่คลิกหรือนิ้วสัมผัส ดังนั้นเวลาจะใช้จ่ายรวมถึงการจ่ายค่าบริการต่างๆ ก็ควรเปรียบเทียบอย่างรอบคอบ และมองหาความคุ้มค่าก่อนตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกแหล่งซื้อของออนไลน์ ลองเปรียบเทียบราคาหรือโปรโมชั่นให้ถี่ถ้วน เงื่อนไขการทำธุรกรรมการเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการโอนต่างธนาคาร หรือการชำระค่าบริการต่างๆ หลายธนาคารต่างออกมาประกาศฟรีค่าธรรมเนียมกันหมดแล้ว การผูกบัญชี PromptPay เพื่อรับภาษีคืนอย่างรวดเร็วไม่ต้องรอรับเช็คทางไปรษณีย์เหมือนก่อน  ดังนั้นการอัพเดทข้อมูลเกี่ยวกับการบริการด้านการเงินไว้บ้างก็จะช่วยให้เราได้รับรู้ถึงประโยชน์ต่างๆ ไว้มาปรับใช้กับตัวเองได้เช่นกัน

4)       มีวินัยในการออม เพราะหากไม่มีวินัยในการออมแล้ว มาตรการไหนๆ ก็ไร้ผล สิ่งต่างๆที่วางแผนไว้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดสรรบัญชีวางแผนเงินออมก็คงไม่มีความเคลื่อนไหว แอปพลิเคชันที่โหลดมาถ้าไม่เคยถูกใช้ก็ไม่เกิดประโยชน์ เงินในกระเป๋าหรือตัวเลขในบัญชีก็คงไม่เหลือ ดังนั้นหากวางแผนในการออมเงินไว้แล้วก็ต้องมีวินัยที่จะทำให้ได้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องด้วย แล้วจะพบว่าเงินนั้นสามารถเพิ่มพูนได้อย่างเป็นรูปธรรมจากตัวเลขในบัญชีที่จัดสรรไว้แล้ว

จะเห็นได้ว่าความคุ้มค่าจากสังคมไร้เงินสดนั้นก็นับว่ามีไม่น้อย ลองปรับใช้ควบคู่ไปกับมาตรการเบื้องต้นที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้ทันที แล้วค่อยๆ ปรับจนลงตัว ย่อมช่วยให้การออมในยุคสังคมไร้เงินสดมีความสะดวกสบาย และเหลือเงินออมเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 16 มิ.ย. 2561 เวลา : 10:29:58
26-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ดาวโจนส์ปิดร่วง 375.12 จุดหลัง GDP สหรัฐชะลอตัว - เงินเฟ้อพุ่ง

2. ทองพุ่ง! ราคาทองวันนี้ 26/4/67 ครั้งที่ 1 เพิ่มขึ้น 100 บาท ทองคำแท่งขายออกบาทละ 40,850 บาท

3. ทั่วไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุด 43 องศาเซลเซียส ฟ้าหลัว ฝนฟ้าคะนองบางแห่ง และลมกระโชกแรงตลอดช่วง

4. ตลาดหุ้นปิด (25 เม.ย.67) บวก 3.17 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,364.27 จุด

5. ประกาศ กปน.: 29 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนบ้านบางไผ่-บ้านหนองเพรางาย

6. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (25 เม.ย.67) บวก 1.72 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,362.82 จุด

7. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำยังคงทรงตัวในกรอบเช่นเดิมระหว่าง 2,290-2,330 เหรียญ

8. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (24 เม.ย.67) ลบ 42.77 จุด บอนด์ยีลด์พุ่งฉุดตลาด บดบังผลประกอบการ บจ.แกร่ง

9. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (24 เม.ย.67) ร่วง 3.70 เหรียญ นักลงทุนคลายกังวลความตึงเครียดในตะวันออกกลาง

10. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองในภาคเหนือ-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่งตต. 20% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคอีสาน-ภาคใต้ ฝั่ง ตอ. 10%

11. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 37.00-37.25 บาท/ดอลลาร์

12. ทองเปิดตลาด (25 เม.ย. 67) ปรับขึ้น 200 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 41,300 บาท

13. ค่าเงินบาทเปิดวันนึ้ (25 เม.ย.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 37.08 บาทต่อดอลลาร์

14. ตลาดหุ้นไทยเปิด (25 เม.ย.67) ลบ 2.13 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,358.97 จุด

15. ตลาดหุ้นปิด (24 เม.ย.67) บวก 3.64 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.10 จุด

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 9:52 am