เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
IMF ปรับลด GDP โลกปี 2018 2019 ระบุความเสี่ยงสงครามการค้าเพิ่มขึ้น


กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) ในเดือนตุลาคม 2018 และปรับลดคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจโลกในปี 2018 และ 2019 ลดลงเป็น 3.7% ทั้งสองปีจากประมาณการในเดือนกรกฎาคมที่ระดับ3.9% จากการที่หลายกลุ่มประเทศมีการขยายตัวน้อยกว่าที่คาด ประกอบกับความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลกระทบจากสงครามการค้า

 

 

IMF ปรับลด GDP ของเศรษฐกิจโลกจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของสงครามการค้า ความเปราะบางทางเศรษฐกิจรายประเทศ และภาวะการเงินโลกที่มีแนวโน้มตึงตัวต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับประมาณการในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา (รูปที่ 1) การเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคหลักปี 2018 ถูกปรับลดลงโดยเฉพาะในยูโรโซนและกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา (EM) สำหรับประมาณการการเติบโตในปี2019 สหรัฐฯ และจีนจะขยายตัวราว 2.5% และ 6.2% ตามลำดับลดลงจากประมาณการรอบก่อน 0.2% ทั้งสองประเทศจากผลของสงครามการค้า ในขณะที่ยูโรโซนและญี่ปุ่นจะขยายตัวราว 1.9% และ 0.9% ตามลำดับ (รูปที่ 2) สำหรับการขยายตัวของกลุ่มประเทศ EM ทั้งในปี 2018 และ 2019 มีทิศทางแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ EM เอเชียจะเติบโตได้ค่อนข้างดีราว6.5% และ 6.3% ตามลำดับ อย่างไรก็ดี อัตราการขยายตัวของปริมาณการค้าโลกถูกปรับลดลงเหลือ 4.2% (ลดลงจากรอบก่อน 0.6%) ในปี 2018 และ 4% (ลดลงจากรอบก่อน 0.5%) ในปี 2019 ตามลำดับ สะท้อนผลกระทบจากสงครามการค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศEM ถูกปรับลงในปีหน้า เนื่องจากจีน บราซิล เม็กซิโก และแอฟริกาใต้ถูกปรับGDP ลง และกลุ่มประเทศ EM ที่มีความเปราะบางสูง อาทิ ตุรกี อาร์เจนตินา กำลังประสบวิกฤตค่าเงินและมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย พร้อมกันนี้ ภาวะการเงินโลกที่จะตึงตัวขึ้นจากดอกเบี้ยนโยบายในหลายประเทศที่เข้าสู่ช่วงขาขึ้น (รูปที่ 3) และผลกระทบจากมาตรการกีดกันการค้าของสหรัฐฯ ที่จะเริ่มส่งผล จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อภาพรวมการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีหน้า

IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2019 จากมาตรการกีดกันการค้า  โดย IMF คงประมาณการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี2018 ขยายตัวที่ 2.9% เนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจ

ที่แข็งแกร่งและการกระตุ้นนโยบายการคลังส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวเกินกว่าศักยภาพ อย่างไรก็ตาม การขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2019 ถูกปรับลดลงเป็น 2.5% (จากเดิม 2.7%) โดยมีปัจจัยเสี่ยงหลักมาจากมาตรการกีดกันการค้า จากล่าสุดที่สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนมูลค่ารวม 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจีนได้ตอบโต้กลับ หลังปี 2019 เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลงเมื่อผลของนโยบายการคลังหมดลงและนโยบายการเงินเข้าสู่ภาวะปกติ

เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องในระยะข้างหน้า โดยIMF ปรับการเติบโตเศรษฐกิจจีนในปี 2019 ลดเหลือ 6.2% (จากเดิม 6.4%)จากสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนที่ทวีความรุนแรงขึ้น ประกอบกับการควบคุมภาคธนาคารเงาและระดับหนี้ในบางภาคส่วนจะส่งผลให้เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอลง โดยตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจล่าสุด อาทิ การบริโภคภายในประเทศ 

การลงทุน และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเริ่มมีแนวโน้มขยายตัวลดลง ในขณะที่ การส่งออกจะเริ่มชะลอตัวชัดเจนในปี 2019 เนื่องจากภาษีนำเข้าสินค้าจีนที่สหรัฐฯ เรียกเก็บมูลค่ารวม 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะถูกปรับอัตราภาษีจาก10% เป็น 25% ในวันที่ 1 มกราคม 2019 นอกจากนี้ เงินหยวนยังมีความเสี่ยงอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องจากความเชื่อมั่นนักลงทุนที่อาจลดลงและความเสี่ยงจากสงครามการค้าที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

กลุ่มประเทศ EM เฉพาะในภูมิภาคเอเชียยังมีปัจจัยพื้นฐานโดยรวมแข็งแกร่ง แต่ความเสี่ยงต่อการเติบโตเพิ่มขึ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ EM เอเชียยังอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ดี สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนจะสร้างแรงกดดันให้เศรษฐกิจกลุ่ม ASEAN-5(มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย) เติบโตในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อยจาก 5.3% ในปี 2018 เป็น 5.2% ในปี 2019 อย่างไรก็ตาม จากผลกระทบสงครามการค้า ภาวะการเงินโลกที่มีแนวโน้มตึงตัวขึ้นจากการที่ Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ผนวกกับวิกฤตการเงินในตุรกี อาร์เจนตินา จะยังเป็นปัจจัยกดดันความเชื่อมั่นของนักลงทุนและสินทรัพย์ในกลุ่มประเทศ EM และยังอาจส่งผลให้เกิดภาวะเงินทุนไหลออกจากกลุ่มประเทศ EM เอเชียได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศ EM เอเชียที่มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการคลังสูงต่อเนื่อง เช่น อินโดนีเซีย ที่เริ่มประสบปัญหาภาวะเงินทุนไหลออกและค่าเงินอ่อนค่า

สงครามการค้าจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งสหรัฐฯ และจีนโดยผลกระทบจะเริ่มชัดเจนในปีหน้าโดยเฉพาะกับเศรษฐกิจจีน IMF ได้คาดการณ์ผลกระทบจากมาตรการการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ทั้งการขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียม 10% และ 25% ตามลำดับ การขึ้นภาษีนำเข้า 25% ในสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และภาษีนำเข้า 10% ในสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงการตอบโต้จากประเทศคู่ค้าสหรัฐฯ และจีนซึ่งตอบโต้ในมูลค่าที่เท่ากัน ยกเว้นรอบล่าสุดที่จีนขึ้นภาษีนำเข้าเฉลี่ย 7% ในมูลค่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยคาดว่าเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะสหรัฐฯ และจีนจะได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันการค้าชัดเจนในปี 2019 จากประมาณการของ IMF นอกจากภาษีนำเข้าปัจจุบันที่มีผลบังคับใช้แล้ว หากคาดการณ์ว่าสหรัฐฯ จะขึ้นภาษีนำเข้า 25% บนสินค้านำเข้าจากจีนที่เหลือ 2.67 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมมูลค่าสินค้าจีนที่สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าราว 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจีนมีการตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ทั้งหมดที่จีนสามารถทำได้ราว 1.3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ผลกระทบสงครามการค้าจะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และจีนในปี 2019 มีแนวโน้มชะลอลง 0.2% และ 1.16% ตามลำดับ และในปี 2020 จะมีแนวโน้มลดลง 0.27% และ 0.95% ตามลำดับ

มุมมองของอีไอซีต่อเศรษฐกิจไทยสอดคล้องกับประมาณการใหม่ของ IMF โดย IMF ปรับประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยดีขึ้นจากประมาณการครั้งก่อน ซึ่งในปี 2018 เพิ่มขึ้นเป็น 4.6% จาก 3.9% และในปี 2019 ขึ้นเป็น 3.9% จาก 3.8% ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจไทยโดยอีไอซีที่ระดับ 4.5% และ 4.0% ในปี 2018 และ 2019ตามลำดับ ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวตามประมาณการใหม่ของ IMF สะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาสามารถขยายตัวได้ดีกว่าที่เคยประเมิน โดยไทยเป็นประเทศเดียวในกลุ่ม ASEAN-5 ที่ IMF ปรับประมาณการเพิ่มขึ้นทั้งในปีนี้และปีหน้า ทั้งนี้ ถึงแม้ว่า IMF จะมองว่าการเติบโตของไทยอาจชะลอลงบ้างในระยะข้างหน้า แต่อัตราการเติบโตในระดับดังกล่าวยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับช่วง 5ปีก่อนหน้า (2013-2017) ที่เติบโตเฉลี่ยเพียง 2.8% ต่อปี เศรษฐกิจไทยยังคงได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายทั้งจากในประเทศและต่างประเทศที่มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ไทยควรจับตาผลกระทบและความเสี่ยงจากปริมาณการค้าโลกที่ IMF ประเมินว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวลดลงในปีหน้า จากสาเหตุของการชะลอตัวของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและสงครามการค้า รวมถึงผลกระทบของนโยบายการเงินที่มีแนวโน้มตึงตัวมากขึ้น ทั้งนี้ ธุรกิจไทยยังต้องจับตาผลกระทบทั้งในเชิงบวก เช่น การย้ายฐานการผลิตของธุรกิจจีนเข้ามาไทย และผลกระทบเชิงลบ เช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและการค้าโลกหากสงครามการค้าทวีความรุนแรงขึ้น

ภาวะการเงินที่ตึงตัวขึ้นในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ อีไอซีมองว่าภาระหนี้ของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่เป็นประเด็นที่ต้องจับตามอง ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นและการเงินที่ตึงตัวขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว อาจทำให้เกิดการปรับพอร์ตการลงทุนของนักลงทุน การเคลื่อนไหวของค่าเงินที่รุนแรง และเงินทุนไหลเข้าที่ชะลอตัวลงของกลุ่มประเทศ EM โดยเฉพาะประเทศที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ทั้งนี้ อีไอซีมองว่าจุดเปราะบางที่สำคัญสำหรับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ได้แก่ ภาระหนี้สิน เนื่องจากในช่วงที่ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น สภาพคล่องที่ลดลง ทำให้กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่มีความเสี่ยงจากเรื่องภาวะหนี้สูงขึ้น จากข้อมูล Institute of International Finance (IIF) พบว่า หนี้ต่อ GDP ของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหนี้ภาคธุรกิจและหนี้ที่อยู่ในรูปสกุลเงินต่างประเทศ

ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา และจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย

ที่สูงขึ้นและหากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง สำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไทยนั้นยังแข็งแกร่ง เนื่องจากในปี 2017 ไทยมีดุลบัญชีเดินสะพัดสูงถึง11% ต่อ GDP เงินทุนสำรองต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 3 เท่า และมีหนี้ที่อยู่ในรูปสกุลเงินต่างประเทศค่อนข้างต่ำหากเปรียบเทียบกับในกลุ่มประเทศ EMด้วยกัน


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 12 ต.ค. 2561 เวลา : 16:54:07
24-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (24 เม.ย.67) บวก 3.44 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,360.90 จุด

2. MTS Gold คาดว่าจะมีกรอบแนวรับที่ 2,260 เหรียญ และแนวต้านที่ 2,335 เหรียญ

3. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (23 เม.ย.67) ร่วง 4.30 เหรียญ คลายความกังวลตะวันออกกลาง-จับตาเงินเฟ้อและGDPสหรัฐ

4. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (23 เม.ย.67) พุ่งขึ้น 263.71 จุด ขานรับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนแข็งแกร่งเกินคาด

5. ทั่วไทยมีฝนฟ้าคะนอง ภาคเหนือ 30% ภาคอีสาน-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่ง ตต. 20% ภาคใต้ ฝั่ง ตอ.10% กรุงเทพปริมณฑล ฝนเล็กน้อยบางแห่ง

6. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.80-37.05 บาท/ดอลลาร์

7. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (24 เม.ย.67) แข็งค่าขึ้น ที่ระดับ 36.93 บาทต่อดอลลาร์

8. ทองเปิดตลาด (24 เม.ย. 67) ปรับขึ้น 100 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 40,950 บาท

9. ตลาดหุ้นไทยเปิด (24 เม.ย.67) บวก 7.26 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,364.72 จุด

10. ประกาศ กปน.: 25 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก)

11. ประกาศ กปน.: 25 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนประชาร่วมใจ

12. ตลาดหุ้นปิด (23 เม.ย.67) บวก 7.94 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,357.46 จุด

13. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (23 เม.ย.67) บวก 11.57 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.09 จุด

14. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 2,260 เหรียญ และแนวต้านอยู่ที่ 2,330 เหรียญ

15. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (22 เม.ย.67) ร่วง 67.40 เหรียญ แห่เทขายทอง หลังคลายกังวลความตึงเครียดอิหร่าน - อิสราเอล

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 24, 2024, 2:38 pm