หุ้นทอง
บทความ "SET Sustainability Reporting Guidelines รายงานอย่างสมาร์ท สร้างโอกาสกิจการให้ยั่งยืน"


SET Sustainability Reporting Guidelines

รายงานอย่างสมาร์ท สร้างโอกาสกิจการให้ยั่งยืน

โดย ศุภกร เอกชัยไพบูลย์ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนมีความสำคัญอย่างมากต่อการตัดสินใจลงทุน ในอดีตผู้ลงทุนอาจพิจารณาข้อมูลตัวเลขผลประกอบการและบทวิเคราะห์ทางการเงินเท่านั้น แต่ในปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าข้อมูลข่าวสารด้านความโปร่งใส การมีจริยธรรม การทุจริตคอรัปชั่น รวมถึงข่าวสารด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม มีผลกระทบต่อพฤติกรรมและทัศนคติของผู้มีส่วนได้เสียสำคัญขององค์กร อย่างลูกค้า คู่ค้า และผู้ลงทุน ดังนั้น องค์กรใดที่สามารถรายงานข้อมูลผลการดำเนินงานทั้งในมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ได้ครอบคลุมและครบถ้วน ย่อมเป็นการสร้างโอกาสให้ผู้ลงทุนสามารถตัดสินใจลงทุนและคู่ค้าสนใจเข้ามามีส่วนร่วมกับธุรกิจได้ง่ายขึ้น

แต่เดี๋ยวก่อน... ข้อมูลผลการดำเนินงานด้าน ESG ที่กล่าวถึงไม่ใช่การนำเสนอข้อมูลเพื่อโฆษณาชวนเชื่อหรือประชาสัมพันธ์องค์กรให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีเท่านั้น แต่คือการนำเสนอข้อมูลที่เป็น“ข้อเท็จจริง”  ที่เป็นผลการดำเนินงานทางการเงินและผลการดำเนินงานในประเด็นสำคัญอื่นๆ เช่น การกำกับดูแลกิจการ การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน การจัดการทรัพยากร และการพัฒนานวัตกรรม เป็นต้น โดยข้อมูลดังกล่าวควรสะท้อนให้ผู้อ่านเห็นทั้งด้านความเสี่ยงและโอกาสในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจขององค์กรที่ครอบคลุมทั้งเรื่องการเงิน สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรจะยืนยงคงกระพันท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และสามารถดูแลผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้เองรายงานฉบับนี้จึงนิยมเรียกว่า “รายงานความยั่งยืน” (หรือชื่ออื่นๆ ตามที่องค์กรเห็นว่าเหมาะสม เช่น รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน รายงานความรับผิดชอบต่อสังคม) 

งานวิจัยเรื่อง The Importance of Nonfinancial Performance to Investors1ระบุชัดเจนว่า ผู้ลงทุนทั่วโลกต่างตระหนักว่า ปัจจัย ESG มีผลต่อความอยู่รอดและความมั่นคงทางการเงิน ซึ่งองค์กรที่สามารถจัดการความเสี่ยงและแสวงหาโอกาสในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจจากประเด็นดังกล่าวได้มากเท่าใด ก็ยิ่งดึงดูดความน่าสนใจจากผู้ลงทุนได้มากขึ้นเท่านั้น โดยผู้ลงทุนจะพิจารณาข้อมูลเหล่านี้จากรายงานความยั่งยืน นอกจากนี้รายงานเรื่อง Is your nonfinancial performance revealing the true value of your business to investors?2ได้กล่าวไว้ว่าผู้ลงทุนยังคงให้ความสำคัญกับข้อมูลทางการเงิน อย่างไรก็ดี ข้อมูลทางการเงินเพียงอย่างเดียวก็ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน สอดคล้องกับผลสำรวจของ MSCI3ที่ระบุว่า ผู้ลงทุนสถาบันระดับโลก เช่น BlackRock และ Vanguard ต้องการให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนกันมากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันมาตรฐานการรายงานความยั่งยืนสากลที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในขณะนี้ คือ Global Reporting Initiative หรือ GRI ซึ่งเป็นหน่วยงานที่พัฒนาหลักการ กรอบการรายงาน และตัวชี้วัดการรายงานความยั่งยืนที่ตรงตามความต้องการของผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียหลากหลายกลุ่ม อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจกับ GRI Standards ซึ่งเป็นมาตรฐานการรายงานล่าสุดของ GRI ยังอาจเป็นอุปสรรคสำหรับบริษัทจดทะเบียนไทยทั้งขนาดกลางและเล็ก เนื่องจากมีตัวชี้วัดมากมายที่อาจทำให้เกิดความสับสนได้ จากที่กล่าวมาข้างต้น บริษัทจดทะเบียนอาจมีคำถามว่า จะเริ่มต้นเขียนรายงานความยั่งยืนอย่างไรให้มีคุณภาพเพื่อเป็นประโยขน์ต่อผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ

ดังนั้น ในปีนี้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงและอัพเดทคู่มือการรายงานความยั่งยืนสำหรับบริษัทจดทะเบียน (SET Sustainability Reporting Guidelines)เพื่อส่งเสริมการรายงานความยั่งยืน สำหรับบริษัทจดทะเบียนมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นรายงานและต้องการยกระดับคุณภาพการรายงานความยั่งยืนให้มีเนื้อหากระชับครบถ้วนและสอดคล้องกับมาตรฐานด้านความยั่งยืนสากล ภายใต้หลักการ 4 ข้อ “สำคัญ ทันสมัย ใส่ใจคุณค่า พัฒนาต่อเนื่อง” นอกจากนี้ คู่มือฉบับนี้ยังมีจุดเด่นที่จะเป็นประโยชน์กับบริษัทจดทะเบียนในหลายด้าน เช่น 
หลักการและกรอบการรายงานเข้าใจง่ายและไม่ซับซ้อน
การนำเสนอข้อมูลเน้นความกระชับแต่ครบถ้วน   
ตัวชี้วัดสอดคล้องกับความสนใจของผู้ลงทุนและมาตรฐานการดำเนินงานด้านความยั่งยืนทั้งในและต่างประเทศ เช่น CG Code GRI SDGs เป็นต้น
ตัวชี้วัดพิจารณาจากประเด็นพื้นฐานที่ธุรกิจควรดำเนินการหรือดำเนินการอยู่แล้ว
มีแบบฟอร์มรายงานตัวชี้วัดเพื่อแสดงผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่ชัดเจนและนำไปเปิดเผยในรายงานได้สะดวก

คู่มือการรายงานความยั่งยืนสำหรับบริษัทจดทะเบียน ไม่เพียงช่วยให้บริษัทสามารถเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนอย่างมีคุณภาพและตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บริษัทรับทราบและติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีแผนที่จะเผยแพร่คู่มือดังกล่าวในปี 2562 โดยท่านสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ SD Focus และเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ
 

LastUpdate 14/10/2561 18:10:45 โดย : Admin
27-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (26 เม.ย.67) ลบ 4.33 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,359.94 จุด

2. ประกาศ กปน.: 2 พ.ค. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนวิภาวดีรังสิต

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (26 เม.ย.67) ลบ 2.25 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,362.02 จุด

4. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 2,310 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,350 เหรียญ

5. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (26 เม.ย.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 37.06 บาทต่อดอลลาร์

6. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.90-37.15 บาท/ดอลลาร์

7. ทองปิดบวก $4.10 รับดอลล์อ่อน-แรงซื้อลดความเสี่ยง

8. ตลาดหุ้นไทยเปิด (26 เม.ย.67) บวก 0.68 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,364.95 จุด

9. ดาวโจนส์ปิดร่วง 375.12 จุดหลัง GDP สหรัฐชะลอตัว - เงินเฟ้อพุ่ง

10. ทองพุ่ง! ราคาทองวันนี้ 26/4/67 ครั้งที่ 1 เพิ่มขึ้น 100 บาท ทองคำแท่งขายออกบาทละ 40,850 บาท

11. ทั่วไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุด 43 องศาเซลเซียส ฟ้าหลัว ฝนฟ้าคะนองบางแห่ง และลมกระโชกแรงตลอดช่วง

12. ตลาดหุ้นปิด (25 เม.ย.67) บวก 3.17 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,364.27 จุด

13. ประกาศ กปน.: 29 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนบ้านบางไผ่-บ้านหนองเพรางาย

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (25 เม.ย.67) บวก 1.72 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,362.82 จุด

15. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำยังคงทรงตัวในกรอบเช่นเดิมระหว่าง 2,290-2,330 เหรียญ

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 27, 2024, 3:31 am