ประกัน
รายงานความมั่งคั่งทั่วโลกจากอลิอันซ์: จุดจบของความพึงพอใจ


อลิอันซ์ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต เปิดเผยรายงานความมั่งคั่งทั่วโลก ฉบับที่ 9 ที่ทำการสำรวจภาวะสินทรัพย์และหนี้สินภาคครัวเรือนในกว่า 50 ประเทศอย่างละเอียด ระบุ สินทรัพย์ทางการเงินทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นร้อยละ 7.7 ส่วนสินทรัพย์ทางการเงินของภาคครัวเรือนเอกชนไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 แซงหน้าการขยายตัวของสินเชื่อที่โตเพียง ร้อยละ 4.6 เผยโลกาภิวัตน์ลดความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่งในระดับโลก ขณะที่ความเหลื่อมล้ำในระดับประเทศมีมากขึ้น


ปี 2560 เป็นปีที่พิเศษสุด ท่ามกลางความตึงเครียดทางการเมืองที่มีมากขึ้น แต่ก็เป็นปีที่เกือบจะสมบูรณ์แบบสำหรับนักลงทุน การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังจากเกิดวิกฤตทางการเงินส่งผลให้เกิดการฟื้นตัวพร้อมๆ กันทั่วโลกและตลาดเงินเติบโตอย่างแข็งแกร่งโดยเฉพาะในตลาดตราสารทุน ส่งผลให้สินทรัพย์ทางการเงินภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ร้อยละ 7.7 สินทรัพย์ทางการเงินรวมของโลกเพิ่มสูงขึ้นแตะ 168 ล้านล้านยูโร(หรือประมาณ 5.5ล้านล้านบาท)
 
 
 
 
 
นายไมเคิล ไฮส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกลุ่มอลิอันซ์เยอรมนี ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต กล่าวว่า “ปีที่แล้วเป็นปีที่ดีมากสำหรับผู้ฝากเงิน ถือเป็นยุคหลังวิกฤติที่จบลงด้วยดี อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป นโยบายการเงินที่ครอบจักรวาลสุดขั้วช่วยให้เกิดกระแสขาขึ้นอย่างต่อเนื่องและมั่นคงในตลาดเงิน แต่ตอนนี้ก็เริ่มเห็นสัญญาณต่างๆ ที่น่าเป็นกังวล อาทิ การขึ้นอัตราดอกเบี้ย ความขัดแย้งทางการค้าและการเมืองที่เน้นนโยบายประชานิยมมากขึ้นเป็นสาเหตุให้เกิดความตึงเครียดและความวุ่นวาย ซึ่งทำให้เดือนแรกของปีนี้มีสัญญาณที่ไม่ดีนัก"

สำหรับประเทศไทย การเติบโตของสินทรัพย์ทางการเงินชะลอตัว
 
ในปี 2560 สินทรัพย์ทางการเงินภาคครัวเรือนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ6.2 ชะลอตัวลงจากร้อยละ9.8 ในปีก่อน "ตัวการ" สำคัญ คือ หลักทรัพย์ที่มีอัตราการเติบโต "เพียง" ร้อยละ 9.8 หลังจากปีกันชนในปี 2559 ที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 สินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ ขยายตัวพอๆ กับปีที่ผ่านมา กล่าวคือ เงินฝากธนาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 และสินทรัพย์ประกันภัยและเงินบำเหน็จบำนาญเพิ่มขึ้นร้อยละ3.8 เงินฝากธนาคารยังคงอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ที่โดดเด่นในหน่วยลงทุนกลุ่มภาคครัวเรือนไทยซึ่งคิดเป็นร้อยละ45 ของสินทรัพย์ทางการเงินรวม ตามด้วยหลักทรัพย์ หุ้นและพันธบัตรโดยมีสัดส่วนร้อยละ39.3

การก่อหนี้ของภาคครัวเรือนของไทยยังคงเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข แม้จะผ่อนคลายเล็กน้อยในปี 2560 แต่หนี้สินภาคเอกชนก็ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างมโหฬารถึงร้อยละ79.1 ของ GDP ซึ่งลดลงจากจุดสูงสุดที่ ร้อยละ81.2 ในปี 2558 อย่างไรก็ตาม พัฒนาการเช่นนี้ไม่ได้สะท้อนถึงการหยุดยั้งที่จะไม่ก่อหนี้ ในทางตรงกลับกัน หนี้สินพุ่งสูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปีที่แล้ว แตะที่ร้อยละ 4.6 หลังจากเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ3.8 ในปี 2559 เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่า (ตัวเลข) การเติบโตทางเศรษฐกิจแซงหน้าการเติบโตของสินเชื่อ แม้ว่าอัตราการขยายตัวจะต่ำกว่าอัตราตัวเลขสองหลักที่มีให้เห็นในระหว่างปี 2553-2556 โดยเฉพาะอย่างยิ่งครัวเรือนที่อยู่ในกลุ่มที่มีรายได้น้อย ยังคงอ่อนแอ นอกจากนี้ การเพิ่มดอกเบี้ยและอัตราการว่างงานอาจเป็นสาเหตุให้จำนวนครัวเรือนที่ประสบปัญหาในการชำระคืนเงินกู้ยืมพุ่งสูงขึ้น

สินทรัพย์ทางการเงินสุทธิเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ8แตะ 4,330 ยูโรต่อหัว(หรือประมาณ 140,530บาท) ดังนั้น ประเทศไทยจึงอยู่ในลำดับที่ 44 ของกลุ่มประเทศที่ร่ำรวยที่สุดของโลกเช่นเดียวกันกับปีก่อน สวิตเซอร์แลนด์กลับขึ้นมาผงาดครองอันดับสูงสุด หลังสูญเสียอันดับที่หนึ่งให้กับสหรัฐอเมริกาไปเมื่อปีก่อน โดยทั่วไปแล้วประเทศในแถบยุโรปทำอันดับได้ดีขึ้นในปี 2560 ดีกว่าหลายปีก่อนหน้านี้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงเงินยูโรที่แข็งแกร่งขึ้นมากที่สุดและเป็นสกุลเงินที่สำคัญที่สุด
 
 
 
 
 
 
กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมตามติด—ดูสหรัฐอเมริกาไล่บี้แซงจีน

หลายปีหลังจากวิกฤติ การเติบโตของสินทรัพย์ที่ค่อนข้างอ่อนแอในภาคอุตสาหกรรมเห็นได้ชัดขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศเกิดใหม่ ซึ่งการเติบโตเช่นนี้ยังคงเปลี่ยนแปลงในปี 2560 อัตราเร่งในการเติบโตเกิดขึ้นจากการพัฒนาในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมเป็นหลัก กล่าวคือ ขณะที่การเติบโตของสินทรัพย์ในประเทศต่างๆ เหล่านี้เพิ่มขึ้นมากกว่าหนึ่งจุดเป็นร้อยละ6.5 กลุ่มประเทศเกิดใหม่เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 12.9 ผลต่างของการเติบโตของสินทรัพย์ระหว่างกลุ่มประเทศทั้งสองกลุ่มนี้จึงอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2548 ที่ร้อยละ 6.5ตัวเลขเฉลี่ยการเติบโตของสินทรัพย์ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาสูงกว่าสองเท่าที่ร้อยละ 13 พัฒนาการที่ขัดกันเช่นนี้เมื่อดูการเติบโตของสินทรัพย์ทางการเงินเกิดจากคู่มวยรุ่นเฮฟวี่เวทอย่างพญามังกรจีน (การเติบโตที่ชะลอตัวลงจากร้อยละ18.3เหลือเพียงร้อยละ14) กับพญาอินทรีสหรัฐอเมริกา (ซึ่งการขยายตัวพุ่งพรวดขึ้นจากร้อยละ5.8เป็นร้อยละ8.5) ในเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) มีการขยายตัวลดลงจากร้อยละ14.7ในปี 2559 มาอยู่ที่ร้อยละ12.2 ในปี 2560 ดังนั้น สหรัฐอเมริกาจึงแซงหน้าคู่แข่งอย่างจีนได้อีกครั้งในแง่ของอัตราการเติบโตอย่างแน่นอนแล้ว ในปี 2560 การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา คิดเป็นประมาณร้อยละ44ของการเติบโตของสินทรัพย์ทางการเงินภาคครัวเรือนรวมทั้งโลก ในขณะที่ประเทศจีนมีสัดส่วนสินทรัพย์ภาคครัวเรือนเพียงร้อยละ25เท่านั้น อัตราส่วนดังกล่าวเฉลี่ยร้อยละ26เทียบกับร้อยละ35ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจีนขยายตัวเป็นอันดับหนึ่ง

ความไม่เสมอภาคมีมากขึ้นในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม
 
พัฒนาการของความไม่เท่าเทียมกันในบริบทของประเทศแสดงออกมาให้เห็นภาพที่แตกต่างกันออกไป ในหลายประเทศมีการกระจายความมั่งคั่งได้ดีขึ้นนับตั้งแต่เปลี่ยนสหัสวรรษ แต่การกระจายความมั่งคั่งในหลาย ๆ ประเทศก็แย่ลง เช่น ประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ เริ่มตั้งแต่สหรัฐอเมริกาไปจนถึงประเทศในกลุ่มวิกฤตยูโรและไม่เว้นแม้แต่ประเทศเยอรมนีและญี่ปุ่น การรับรู้ว่าประเทศอุตสาหกรรม "เก่าแก่" เป็นอาทิ ได้รับความทุกข์ระทมจากวิกฤตในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาจากช่องว่างของความไม่เท่าเทียมระหว่างคนรวยและคนจนที่ถ่างเพิ่มมากขึ้นซึ่งดูเหมือนว่าจะสอดคล้องกับความเป็นจริงในหลาย ๆ กรณี และเป็นจริงสำหรับประเทศไทย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลายครัวเรือนได้ถูกลดชั้นจากความมั่งคั่งระดับกลางไปสู่ระดับความมั่งคั่งต่ำสืบเนื่องมาจากการก่อหนี้สินที่พอกพูนขึ้น

 
 
 
ตัวชี้วัดใหม่สำหรับการกระจายความมั่งคั่งระดับประเทศ
 
เพื่อให้ได้ภาพการกระจายความมั่งคั่งในระดับประเทศที่แตกต่างน้อยมากในบริบทระหว่างประเทศ เราจึงได้นำเสนอตัวชี้วัดใหม่ในรายงานนี้ คือ ดัชนีความมั่งคั่งส่วนทุน (Allianz Wealth Equity Indicator: AWEI) ผลลัพธ์บางอย่างเป็นที่น่าประหลาดใจ "ผู้ต้องสงสัย" ยังคงเป็น สหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย และสหราชอาณาจักร เป็นประเทศที่มีการกระจายของความมั่งคั่งที่ถูกบิดเบือนอย่างมาก รวมถึงเดนมาร์ก สวีเดน และเยอรมนี ประเทศในแถบสแกนดิเนเวียอาจเป็นเพราะระดับหนี้ที่สูงขึ้นในหมู่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ การรวมตัวที่ล่าช้าของประเทศเยอรมนีและปัญหาการขาดแคลนเงินเพื่อจ่ายเงินตามแผนการจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญมีส่วนสำคัญในกระจายความมั่งคั่งในทางตรงข้าม ประเทศที่มีการกระจายความมั่งคั่งค่อนข้างสมดุลประกอบด้วยประเทศในแถบยุโรปตะวันออกและยุโรปตะวันตกหลายประเทศซึ่งบางประเทศเป็นประเทศที่ประสบกับวิกฤตยูโร เช่น อิตาลี สเปนและกรีซ แม้ว่าในช่วงสองสามปีของวิกฤตทางการเงิน และความมัธยัสถ์อาจทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันมากขึ้นในสองประเทศนี้ ซึ่งยังคงมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มั่นคงมากพอที่จะรองรับวิกฤตได้ เนื่องจากสินทรัพย์มีการกระจายตัวอย่างทั่วถึง ไม่ใช่สิ่งสุดท้ายที่เห็น หากเป็นสินทรัพย์กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ แม้การกระจายความมั่งคั่งจะเลวร้ายลงในปัจจุบัน แต่ไทยยังคงจัดอยู่ในประเทศที่มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในการจัดอันดับครั้งนี้ 

"ตัวบ่งชี้ความมั่งคั่งใหม่ของเราแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเราควรระมัดระวังในการหาข้อสรุปที่เร่งรีบหรือง่ายไปนอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา ไม่มีประเทศใดตรงกับความคิดของการกระจายความมั่งคั่งที่ถูกบิดเบือนสุดโต่ง แต่ยังคงเลวร้ายอีกต่อไป ในประเทศส่วนใหญ่เงาสีเทาเริ่มปรากฏให้เห็นแล้ว” ไมเคิลไฮส์ กล่าว

 
 
 
 
 
การลงทุนในหลักทรัพย์กลับมาคึกคัก
 
พฤติกรรมการลงทุนในปี 2560 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดหลังจากที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่สนใจลงทุนในหุ้นและกองทุนรวมในช่วงหลายปีหลังจากวิกฤติ ปี 2560 เราได้เห็นเงินไหลเข้าอย่างมีนัยสำคัญในสินทรัพย์ประเภทนี้ส่วนแบ่งในปีก่อนเกือบแตะหนึ่งในห้าของเงินลงทุนใหม่ ซึ่งสูงกว่าในช่วงหลายปีก่อนหน้าเกิดภาวะวิกฤติ ในบริบทของตลาดหุ้นที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วแสดงให้เห็นว่าเป็นหลักทรัพย์ที่เติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งที่สุดในบรรดาสินทรัพย์ทุกประเภทในปี 2560 เพิ่มขึ้นรวมร้อยละ12.2และคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ42ของเงินออมทั้งหมดในสิ้นปี 2560 ตามติดๆ มาด้วยอันดับที่สองโดยเงินรับ (Receivables)จากบริษัทประกันภัยและเงินบำนาญ คิดเป็นร้อยละ 29 ของพอร์ตสินทรัพย์และขยายตัวร้อยละ 5.2 ในปีที่ผ่านมา

ในขณะที่นักลงทุนพบว่าตลาดทุน เงินฝากธนาคารได้รับความนิยมลดลงในหมู่ครัวเรือนทั่วโลก มีเพียงร้อยละ42ของเม็ดเงินลงทุนใหม่ที่ไหลเข้าสู่ธนาคาร เทียบกับร้อยละ63เมื่อปีก่อน ตัวเลขเต็มๆ คือ ลดลงกว่า 390,000 ล้านยูโร(หรือประมาณ 12.6 ล้านล้านบาท) เป็นผลทำให้การเติบโตของเงินฝากลดลงถึงสองจุดที่ร้อยละ 4.3 (ส่วนแบ่งของพอร์ตสินทรัพย์เกือบร้อยละ27) 

แคทริน แบรนด์เมียร์(Kathrin Brandmeir) ผู้ร่วมเขียนรายงาน กล่าวว่า "ผู้ฝากเงินได้รับรู้ถึงสัญญาณของเวลาแล้วการที่ผู้ฝากเงินจะไม่นำเงินไปฝากธนาคารโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอุตสาหกรรม "เก่า" ไม่ได้มาติดอันดับที่สองเร็วจนเกินไป เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเริ่มหวนกลับมาแล้ว นอกจากนี้ การเพิ่มราคาสินค้าในประเทศเหล่านี้สูงขึ้นเป็นสองเท่าในปี 2560 แม้ว่าจะยังอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ยอดความสูญเสียในอำนาจซื้อของเงินฝากธนาคารพุ่งขึ้นด้วย คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 400,000ล้านยูโร(หรือประมาณ 12.9 ล้านล้านบาท)ในปี2560 เพียงปีเดียว
การเติบโตของหนี้สินพุ่งสูงขึ้นต่อไปอีก
 
หนี้สินครัวเรือนทั่วโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ6 ในปี 2560 ดังนั้นอัตราการเติบโตอยู่ในระดับที่สูงกว่าปีที่แล้วเล็กน้อยที่ระดับร้อยละ5.5ในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) การเติบโตของหนี้สินเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่อยู่ในระดับสูงโดยลดลงจากร้อยละ16.5 เป็น ร้อยละ15.8ในปี 2560 เนื่องจากความต้องการสินเชื่อที่สูงในตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาค (สัดส่วนหนี้สินคิดเป็นร้อยละต่อGDP) เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ64.3 (ในเอเชียไม่รวมญี่ปุ่นมีหนี้ร้อยละ49.2ของ GDP) ตัวเลขค่าเฉลี่ยเหล่านี้ปกปิดความแตกต่างกันอย่างมหาศาลในบางประเทศ ระดับหนี้และการเปลี่ยนแปลงได้ถึงขั้นวิกฤตในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา 
 

LastUpdate 17/10/2561 17:52:03 โดย : Admin
25-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 37.00-37.25 บาท/ดอลลาร์

2. ทองเปิดตลาด (25 เม.ย. 67) ปรับขึ้น 200 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 41,300 บาท

3. ค่าเงินบาทเปิดวันนึ้ (25 เม.ย.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 37.08 บาทต่อดอลลาร์

4. ตลาดหุ้นไทยเปิด (25 เม.ย.67) ลบ 2.13 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,358.97 จุด

5. ตลาดหุ้นปิด (24 เม.ย.67) บวก 3.64 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.10 จุด

6. ประกาศ กปน.: 27 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง

7. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (24 เม.ย.67) บวก 3.44 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,360.90 จุด

8. MTS Gold คาดว่าจะมีกรอบแนวรับที่ 2,260 เหรียญ และแนวต้านที่ 2,335 เหรียญ

9. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (23 เม.ย.67) ร่วง 4.30 เหรียญ คลายความกังวลตะวันออกกลาง-จับตาเงินเฟ้อและGDPสหรัฐ

10. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (23 เม.ย.67) พุ่งขึ้น 263.71 จุด ขานรับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนแข็งแกร่งเกินคาด

11. ทั่วไทยมีฝนฟ้าคะนอง ภาคเหนือ 30% ภาคอีสาน-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่ง ตต. 20% ภาคใต้ ฝั่ง ตอ.10% กรุงเทพปริมณฑล ฝนเล็กน้อยบางแห่ง

12. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.80-37.05 บาท/ดอลลาร์

13. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (24 เม.ย.67) แข็งค่าขึ้น ที่ระดับ 36.93 บาทต่อดอลลาร์

14. ทองเปิดตลาด (24 เม.ย. 67) ปรับขึ้น 100 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 40,950 บาท

15. ตลาดหุ้นไทยเปิด (24 เม.ย.67) บวก 7.26 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,364.72 จุด

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 25, 2024, 11:13 am