กองทุนรวม
KSAMกางแผนธุรกิจปี62ตั้งเป้าเอยูเอ็ม5.3แสนล้านบาท


KSAM กางแผนธุรกิจปี 62 ตั้งเป้าเอยูเอ็ม 5.3 แสนล้านบาท มุ่งเน้นนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุม ทุกความต้องการ พร้อมขยายฐานลูกค้าใหม่ควบคู่กับการพัฒนาระบบออนไลน์


น.ส.ศิริพร สินาเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงศรี จำกัด(บลจ.กรุงศรี)เปิดเผยว่า “สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจของบริษัทในปี2562บริษัทตั้งเป้ามูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหาร(AUM)ที่ 5.3 แสนล้านบาท โดยมุ่งเน้น 3 กลยุทธ์หลัก คือการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของผู้ลงทุนอย่างต่อเนื่อง การผนึกกำลังร่วมกับกลุ่มกรุงศรีและMUFG เพื่อขยายกลุ่มลูกค้าใหม่ๆในวงกว้าง รวมทั้งการพัฒนาเพื่อมอบประสบการณ์การลงทุนที่ดีให้กับลูกค้า”

“ในปี2562บริษัทมีแผนที่จะเปิดให้บริการออนไลน์เพิ่มมากขึ้น อาทิ การเปิดบัญชีออนไลน์บริการ Mobile Application และบริการ Robo Advisor ในส่วนของกองทุนรวม เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมให้กับ ผู้ลงทุน และแนะนำการลงทุนที่ตอบโจทย์ความต้องการรายบุคคล รวมถึงมุ่งเน้นการพัฒนา Mobile Applicationในส่วนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นอกเหนือจากให้บริการชำระค่าซื้อกองทุนด้วยQR Code และการพัฒนาเว็บไซต์ภาษาญี่ปุ่นที่เน้นข้อมูลในส่วนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้เปิดให้บริการในปี2561ที่ผ่านมา”

“ในส่วนของผลิตภัณฑ์ใหม่ได้มีการเปิดเสนอขายกองทุนKFHHCAREในช่วงต้นปีที่ผ่านมาและเตรียมเปิดเสนอขายกองทุนKFSUPERและกองทุนKFSUPERRMF เพื่อเติมเต็มซีรีย์ของกองทุนผสมให้มีความสมบูรณ์ โดยก่อนหน้านี้ได้มีการเปิดตัวกองทุนKFHAPPYและกองทุนKFGOOD ซึ่งแต่ละกองทุนในซีรีย์นี้ได้มีการออกแบบให้ตอบโจทย์กับผู้ลงทุนในแต่ละวัยที่รับความเสี่ยงได้แตกต่างกัน เพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุนที่ง่ายครบจบในกองทุนเดียวและเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวให้กับผู้ลงทุน”

“สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทในปี2561ที่ผ่านมานั้น บริษัทมีการเติบโตอย่างโดดเด่นเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมและบลจ.ขนาดใหญ่ 10 อันดับแรก โดยในส่วนของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ สิ้นปี2561มีมูลค่ากว่า5แสนล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตของ AUMที่ 8.5% ในขณะที่การเติบโตเฉลี่ยของอุตสาหกรรมและ บลจ.ขนาดใหญ่10 อันดับแรกอยู่ที่ 3.4% และ 3.1%ตามลำดับ โดยบลจ.กรุงศรี มีการเติบโตเพิ่มขึ้นในทุกประเภทธุรกิจทั้งในส่วนของกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” (ข้อมูล : AIMC ณ 31 ธ.ค. 61/ ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต)

“ด้านกองทุนส่วนบุคคลมีอัตราการเติบโตสูงเกือบ3เท่าของอุตสาหกรรม โดยในส่วนของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ สิ้นปี 2561มีมูลค่ารวมกว่า 112,821 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นกว่า 38,000 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 51.58% ในขณะที่อุตสาหกรรมโดยรวมเติบโตประมาณ 17.65% การเติบโตดังกล่าวมาจากความไว้วางใจของ นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศรวมทั้งลูกค้าสถาบันและลูกค้าบุคคล ในส่วนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็มีการเติบโตในทุกประเภททรัพย์สินเช่นกัน”(ข้อมูล: บลจ.กรุงศรี ณ 31 ธ.ค. 61)

“หากพิจารณาด้านผลการดำเนินงานกองทุนจะพบว่ากองทุนของบลจ.กรุงศรีมีกองทุนภายใต้การบริหารจัดการที่ติดอันดับกองทุนที่มีผลการดำเนินงานดีที่สุด (Top Quartile) จำนวนรวมทั้งสิ้น18กองทุน ครอบคลุมทั้งในประเภทกองทุนตราสารหนี้ กองทุนหุ้น กองทุน LTFและกองทุนรวมต่างประเทศ จากผลการดำเนินงานกองทุนที่ดีอย่างสม่ำเสมอส่งผลให้ บลจ.กรุงศรี มียอดเงินลงทุนสุทธิสูงสุดในอุตสาหกรรมโดยมียอดเงินลงทุนสุทธิกว่า 26,215 ล้านบาท และมีเงินลงทุนสุทธิสูงเป็นอันดับต้นๆของอุตสาหกรรมในหลากหลายประเทศกองทุน เช่น กองทุนตลาดเงินและตราสารหนี้ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทมีเงินลงทุนเพิ่มสุทธิกว่า 12,051ล้านบาท ขณะที่อุตสาหกรรมมียอดเงินลงทุนสุทธิอยู่ที่ -214,759 ล้านบาท เป็นต้นและในส่วนของกองทุน KFSPLUS ซึ่งมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นมีเงินลงทุนสุทธิสูงเป็นอันดับ 2 ของอุตสาหกรรม มูลค่ารวมกว่า 6,797 ล้านบาท อีกทั้งกลุ่มกองทุน LTFก็มียอดเงินลงทุนสุทธิสูงเป็นอันดับ 2 ของอุตสาหกรรมเช่นกัน นอกจากนี้บริษัทยังมียอดเงินลงทุนสุทธิในกองทุนหุ้น (ไม่รวม LTF-RMF) สูงเป็นอันดับ 3 ของอุตสาหกรรมอีกด้วย” (ข้อมูล : Morningstar 31 ธ.ค. 61 / ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต)

“สำหรับกลุ่มกองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง-ยาวที่มียอดเงินลงทุนสุทธิสูงสุด 3 ใน 5 อันดับกองทุนเป็นกองทุนของ บลจ.กรุงศรี ได้แก่ กองทุน KFAFIX กองทุน KFGOVRMF และกองทุน KFMTFI-D อีกทั้ง กองทุน KFAFIX คือ 1 ใน 3 กองทุนอันดับแรกของกลุ่มกองทุนตราสารหนี้ระยะกลางที่มีผลตอบแทนสูงสุดอีกด้วย นอกจากนี้ กองทุนหุ้นที่ติดอันดับ 10 กองทุนที่มียอดเงินลงทุนสูงสุดในอุตสาหกรรมเป็นกองทุนของบลจ.กรุงศรี ถึง 4 กองทุน ได้แก่ กองทุนKFLTFA50-D กองทุน KFS100RMF กองทุน KFDIVRMF และกองทุน KFSDIV ซึ่งยังคงรักษาตำแหน่งกองทุนรวมหุ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 19,807 ล้านบาท ทั้งนี้ บลจ.กรุงศรี มุ่งมั่นที่จะรักษาผลการดำเนินงานที่ดีอย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืนให้ผู้ลงทุน” น.ส.ศิริพร กล่าว (ข้อมูล : Morningstar 31 ธ.ค. 61 / ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต)

 
 
 
 
 
นางสุภาพร ลีนะบรรจง ประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มการลงทุน บลจ.กรุงศรี เปิดเผยว่า“บริษัทมีมุมมองว่าใน ปี 2562 เศรษฐกิจไทยจะยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง โดยการบริโภคภาคเอกชนยังคงมีแนวโน้มแข็งแกร่งตามรายได้โดยรวมที่ปรับตัวดีขึ้น การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องหลังโครงการลงทุนภาครัฐมีความชัดเจนและคืบหน้าในหลายโครงการ การท่องเที่ยวมีสัญญาณฟื้นตัวชัดเจนหลังนักท่องเที่ยวจีนกลับมาเที่ยวไทยมากขึ้น ในส่วนของการส่งออกถึงแม้ยังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสงครามการค้าและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก แต่มีแนวโน้มว่าปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนจะได้รับการแก้ไขไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องให้บรรยากาศการค้าในตลาดโลกดีขึ้นด้วยจึงเห็นได้ว่าเศรษฐกิจไทยมีแรงขับเคลื่อนจากหลายปัจจัย ดังนั้นหากปัจจัยใดเติบโตอ่อนแอกว่าที่คาดก็ยังมีปัจจัยอื่นที่ยังจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตต่อไปได้อย่างมีเสถียรภาพ สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญยังคงเป็นปัจจัยภายนอก ได้แก่ สงครามการค้าที่ยังคงมีความไม่แน่นอน ปัญหาเบร็กซิท และการชะลอตัวของเศรษฐกิจยุโรป”

“สำหรับมุมมองการการลงทุนในตราสารหนี้คาดว่ากองทุนประเภทตลาดเงินและตราสารหนี้ระยะสั้นจะได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยระยะสั้นที่ทยอยปรับตัวขึ้นภายหลังธนาคารแห่งประเทศไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ในขณะที่กองทุนตราสารหนี้ระยะกลางถึงยาวก็มีแนวโน้มจะสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าปีก่อนหน้า เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมกดดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond yield) ไม่สามารถปรับตัวสูงขึ้นได้มาก โดยปัจจัยที่สำคัญประกอบด้วยอัตราเงินเฟ้อในประเทศที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้มีทิศทางชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยได้รับผลกระทบทั้งด้านการส่งออกตามสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างประเทศสหรัฐและจีน และการชะลอตัวในระยะสั้นของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในประเทศเพื่อรอความชัดเจนทางการเมืองหลังการเลือกตั้ง ทำให้แนวโน้มนโยบายการเงินของไทยมีท่าทีผ่อนคลายลงและการจะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นทำได้ยากกว่าปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ในระยะสั้นตลาดตราสารหนี้อาจมีความผันผวนได้บ้างตามความเคลื่อนไหวของตลาดต่างประเทศเป็นหลัก”

“นอกจากนี้บริษัทยังมีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนในตราสารทุนระยะกลางถึงยาวแม้ว่าในระยะสั้นดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย อาจมีความผันผวนและมีแนวโน้มเคลื่อนไหวตามกระแสเงินลงทุนต่างชาติและปัจจัยภายนอกประเทศอยู่บ้าง แต่ตลาดหลักทรัพย์ไทยยังเป็นที่น่าสนใจลงทุนเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาค โดยตลาดหลักทรัพย์ไทยมีค่า P/E ปี 2562 อยู่ที่ 15.0 เท่า ขณะที่อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ อยู่ที่ 15.5 เท่า และ 16.3 เท่า ตามลำดับ ด้านอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลของไทยอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ซึ่งสูงกว่าอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์เช่นกัน (ข้อมูลจาก บลจ.กรุงศรี ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 62) ทั้งนี้ ในระยะกลางถึงยาวการลงทุนในตลาดหุ้นไทยยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยไทยที่มีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังคงแข็งแกร่ง การลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มขยายตัวหลังการเลือกตั้ง และผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนฯ ที่มีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

“ในส่วนของการลงทุนต่างประเทศนั้นบลจ.กรุงศรี มีมุมมองว่าความผันผวนในตลาดต่างประเทศจะลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วแม้ว่าความไม่แน่นอนยังคงมีอยู่ โดยในปีนี้บริษัทคาดการณ์ว่าดัชนีทั่วโลกจะสามารถฟื้นตัวขึ้นมาได้ค่อนข้างดี ตลาดเกิดใหม่นำโดยจีนจะสามารถฟื้นตัวได้ดีกว่าตลาดพัฒนาแล้ว เนื่องจากปัจจัยหลายประการ อาทิ 1)ปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนเริ่มมีท่าทีคลี่คลาย โดยสัปดาห์ที่แล้วประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ให้ความเห็นว่าการเจรจากับจีนเป็นไปได้ด้วยดีและประกาศเลื่อนเส้นตายการขึ้นภาษีจากวันที่ 1 มีนาคมออกไป 2)ธนาคารกลางสหรัฐมีท่าทีจะชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากที่เคยคาดการณ์ว่าจะขึ้น 3 ครั้ง ในปีนี้มาเป็น 1 ครั้งหรืออาจไม่ขึ้นเลย เนื่องจากเงินเฟ้อไม่ได้ร้อนแรงและเศรษกิจสหรัฐส่อแววถูกผลกระทบจากปัจจัยสงครามการค้า 3) ความไม่แน่นอนด้านการเมืองยุโรป ไม่ว่าจะเป็นประเด็นของ Brexit หรือ Italexit หรือเหตุการณ์ไม่สงบในฝรั่งเศส จะส่งผลเชิงลบต่อเศรษฐกิจและฉุดค่าเงินยูโรอ่อนค่าเป็นเหตุให้เงินไหลออกเพื่อไปเข้าภูมิภาคที่มีการเติบโตดีและราคาถูกกว่า จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นจะส่งผลดีต่อตลาดที่ปรับตัวลดลงไปค่อนข้างเยอะและมี PE ที่ค่อนข้างถูกจากการปรับตัวในปีที่แล้ว ทางบลจ.กรุงศรี จึงแนะนำกองทุน KFACHINA-A และ KF-HCHINAD อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนในประเด็นสงครามการค้ายังคงมีอยู่และความไม่แน่นอนส่วนใหญ่ จะเกิดขึ้นจากประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ซึ่งยากที่จะคาดเดา ดังนั้นอีกทางเลือกที่ทางบลจ.กรุงศรี แนะนำคือการลงทุนในกองทุนที่มีการปรับสัดส่วนการลงทุนเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ มีการกระจายความเสี่ยงสูง มีความผันผวนต่ำและมีการบริหารโยกย้ายจากสินทรัพย์ตราสารทุนไปสินทรัพย์ตราสารหนี้ได้อย่างยืดหยุ่น นั่นก็คือกองทุนตระกูล Income funds ได้แก่ KF-INCOME, KF-CINCOME, KFMINCOME, KFAINCOME ซึ่งสามารถลงทุนได้ในระยะยาวหรือสามารถลงทุนในกองทุนที่มีลักษณะ Defensive ที่เน้นลงทุนในอุตสาหกรรมกลุ่มสินค้าจำเป็นต่อการอุปโภคบริโภคทั่วโลก อย่างกองทุน KF-GBRAND นั่นเอง” นางสุภาพรกล่าว

 
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 06 มี.ค. 2562 เวลา : 17:24:09
26-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ดาวโจนส์ปิดร่วง 375.12 จุดหลัง GDP สหรัฐชะลอตัว - เงินเฟ้อพุ่ง

2. ทองพุ่ง! ราคาทองวันนี้ 26/4/67 ครั้งที่ 1 เพิ่มขึ้น 100 บาท ทองคำแท่งขายออกบาทละ 40,850 บาท

3. ทั่วไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุด 43 องศาเซลเซียส ฟ้าหลัว ฝนฟ้าคะนองบางแห่ง และลมกระโชกแรงตลอดช่วง

4. ตลาดหุ้นปิด (25 เม.ย.67) บวก 3.17 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,364.27 จุด

5. ประกาศ กปน.: 29 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนบ้านบางไผ่-บ้านหนองเพรางาย

6. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (25 เม.ย.67) บวก 1.72 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,362.82 จุด

7. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำยังคงทรงตัวในกรอบเช่นเดิมระหว่าง 2,290-2,330 เหรียญ

8. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (24 เม.ย.67) ลบ 42.77 จุด บอนด์ยีลด์พุ่งฉุดตลาด บดบังผลประกอบการ บจ.แกร่ง

9. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (24 เม.ย.67) ร่วง 3.70 เหรียญ นักลงทุนคลายกังวลความตึงเครียดในตะวันออกกลาง

10. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองในภาคเหนือ-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่งตต. 20% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคอีสาน-ภาคใต้ ฝั่ง ตอ. 10%

11. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 37.00-37.25 บาท/ดอลลาร์

12. ทองเปิดตลาด (25 เม.ย. 67) ปรับขึ้น 200 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 41,300 บาท

13. ค่าเงินบาทเปิดวันนึ้ (25 เม.ย.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 37.08 บาทต่อดอลลาร์

14. ตลาดหุ้นไทยเปิด (25 เม.ย.67) ลบ 2.13 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,358.97 จุด

15. ตลาดหุ้นปิด (24 เม.ย.67) บวก 3.64 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.10 จุด

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 9:50 am