เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
"ทีเอ็มบี" ยอมหั่นเป้าเศรษฐกิจโตต่ำกว่า 3% เหตุปัจจัยเสี่ยงต่างประเทศกดดันหนัก


นายนริศ สถาผลเดชา ผู้บริหาร TMB Analytics แถลงปรับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 62 เหลือ 2.7% จากเดิมมองที่ 3.0% เหตุตัวเลขเศรษฐกิจครึ่งปีแรกแย่กว่าคาด ทำให้แรงส่งต่อไปยังในช่วงที่เหลือมีข้อจำกัด มองมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐช่วยพยุงการบริโภคในประเทศ ท่ามกลางแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกสงครามการค้าถึงทางตัน จึงยากที่จะเห็นส่งออกกลับมาในปีนี้ ลุ้นปีหน้าเศรษฐกิจกลับมาโตได้ 3%


มองสถานการณ์ส่งออกไทยทรุด ฉุดไม่อยู่หดตัว 2.7% เหตุซัพพลายเชนโลกได้รับผลกระทบมากกว่าคาด คาดหดตัวเกือบทุกตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ จีน (-5.5%) อาเซียน (-4%) ยุโรป (-2.7%) และในเกือบทุกสินค้าสำคัญ สอดคล้องกับปัจจัยเสี่ยงด้านต่างประเทศทั้งเศรษฐกิจหลักที่เป็นคู่ค้าชะลอตัวมากขึ้น และแรงกดดันสงครามการค้าที่ต้องลุ้นผลการเจรจาในแต่ละรอบ รวมทั้งหากสหรัฐฯประกาศขึ้นภาษีในหมวดยานยนต์และชิ้นส่วนที่อัตรา 25% จากทุกประเทศ (มาตรา 232) ในเดือนพฤศจิกายนจะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกยานยนต์ทั่วโลก ซึ่งของไทยคิดเป็น11% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด สอดคล้องกับที่ IMF ปรับประมาณการการค้าโลกลงจาก 3.4% เหลือเพียง 2.5% นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินบาทเป็นอีกปัจจัยที่มีส่วนทำให้ยังคงไม่เห็นการฟื้นตัวของการส่งออกได้เร็วในปีนี้

คาดนักท่องเที่ยวต่างชาติพลาดเป้าขยายตัวแค่ 2% อยู่ที่ 39.1 ล้านคน ชะลอลงมากจากปี 61 ที่ขยายตัว 7.5% ปัจจัยลบยังคงเป็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นหลักที่ทำให้นักท่องเที่ยวมีแนวโน้มเดินทางเข้าไทยน้อยลงจากเดิมทั้งปีเราอาจเห็นตัวเลขแตะ 40 ล้านคน กอปรกับสถานการณ์บาทแข็งทุบสถิติส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวอีกด้วย โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นถึง 10% เมื่อเทียบกับเงินหยวน จึงไม่แปลกที่จะเห็นนักท่องเที่ยวจีนยังนิยมไปเที่ยวญี่ปุ่นและเกาหลีใต้อยู่แต่กลับมาเที่ยวไทยลดลง เพราะค่าเงินทั้งสองสกุลนี้ไม่ได้แข็งค่ามากเมื่อเทียบกับค่าเงินหยวน

 
 
 
 
การลงทุนภาครัฐ ชะลอกว่าคาด เหตุรองบประมาณปี 63 การเบิกจ่ายงบลงทุนมีแนวโน้มต่ำกว่าเป้า โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจ อีกทั้ง ถ้าเทียบเม็ดเงินลงทุนของรัฐบาลกลาง และ รัฐวิสาหกิจแล้วก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนมากนัก โดยเฉพาะ งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ที่ลดลงจากปีก่อนเกือบ 25% เหลือเพียง 3.33 แสนล้านจาก 4.45 แสนล้านในปีก่อน อย่างไรก็ตาม จากความล่าช้าของการอนุมัติงบประมาณปี 63 จะทำให้เริ่มเห็นเม็ดเงินจากการลงทุนภาครัฐอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยในปีหน้า

การลงทุนภาคเอกชนส่อเค้าไม่ขยายตัวในช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งปีคาดโตได้ 1.8% แม้บริษัทไทยจะมีสภาพคล่องเหลือ แต่ปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกชะลอ ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตต่ำกว่าปีที่ผ่านมาโดยอยู่ที่ระดับ 68% กดดันความต้องการขยายการลงทุน สะท้อนจากความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่อยู่ระดับต่ำกว่า 50 เป็นไตรมาสแรกในรอบเกือบสามปี อย่างไรก็ตาม คาดว่าแนวโน้มการลงทุนเอกชนจะเริ่มปรับดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาสสี่เป็นต้นไปจากมาตรการกระตุ้นการลงทุนของรัฐบาล ทั้งนโยบายภาษีและการช่วยเหลือ SME ผ่านมาตรการสินเชื่อ

การบริโภคภาคเอกชนเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ โดยทั้งปีคาดขยายตัวได้ 3.8%  จากแรงหนุนเพิ่มจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเริ่มต้นปลายไตรมาสสาม ในช่วงครึ่งปีแรกการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวถึง 4.9% หลักๆมาจากแรงซื้อสินค้าไม่คงทน ซึ่งสอดคล้องกับหนี้ครัวเรือนไทยที่พุ่งขึ้นเร็วมากอยู่ที่ 13 ล้านล้านบาท โดย 1 ใน 3 เป็นสินเชื่อส่วนบุคคล สำหรับในช่วงที่เหลือ ปัจจัยกดดันการบริโภคประกอบด้วยการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สถานการณ์ภัยแล้ง และปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งในช่วงต่อไปจะมีข้อจำกัดของการขยายตัวของสินเชื่อรายย่อย จากแนวโน้มการนำมาตรการควบคุมภาระหนี้สินต่อรายได้ (DSR) มาใช้ ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนจะได้รับผลบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการปรับเพิ่มเงินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กระตุ้นการบริโภคในประเทศ รวมวงเงินกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท และการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งอีกกว่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งในส่วนของสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น หากเทียบเคียงกับเอลนีโญปี 2558 และไม่มีมาตรการบรรเทาผลกระทบ จะส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงประมาณ 11%

คาด ธปท. ลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในไตรมาส 4 ทำให้อยู่ในระดับต่ำสุดในประวัติการณ์ และอาจลดได้อีก 1 ครั้ง ถ้าเศรษฐกิจแย่กว่าคาด และเงินเฟ้อยังคงต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย จากการลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งล่าสุดมาอยู่ที่ระดับ 1.50% และเริ่มเห็นการส่งผ่านนโยบายการเงินไปยังระบบธนาคารพาณิชย์แล้ว แต่เศรษฐกิจที่ยังมีความเสี่ยงสูง การใช้ทั้งนโยบายการคลังและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายจะเป็นแรงช่วยกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ ประกอบกับ ธปท.มีมาตรการ Macroprudential เพื่อดูแลความเสี่ยงในเรื่องเสถียรภาพการเงิน

ค่าเงินบาทในช่วงที่เหลือของปีมีแนวโน้มแข็งค่าแตะ 30.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือแข็งค่า 6% ธปท.หั่นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% มาอยู่ที่ 1.50% ในเดือนสิงหาคม แต่ค่าเงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในกรอบ 30.83-30.95 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ด้วยเหตุผลหลักที่นักลงทุนยังมองเงินบาทเป็นสินทรัพย์เสี่ยงน้อย ขณะที่ค่าเงินสกุลอื่นๆในเอเชียในช่วงนี้อ่อนค่าลงตามเงินหยวนจากการที่ทางการจีนปล่อยให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าจนทะลุ 7 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี ดุลการค้าของไทยที่คาดว่าจะยังเป็นบวกถึงแม้ว่าส่งออกจะโตติดลบ การท่องเที่ยวที่แม้ชะลอแต่ยังขยายตัวได้ และกระแสเงินทุนที่มียังมีแนวโน้มเป็นไหลเข้าสุทธิ จะเป็นปัจจัยหนุนค่าเงินบาท

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 19 ส.ค. 2562 เวลา : 17:14:39
25-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (24 เม.ย.67) ลบ 42.77 จุด บอนด์ยีลด์พุ่งฉุดตลาด บดบังผลประกอบการ บจ.แกร่ง

2. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (24 เม.ย.67) ร่วง 3.70 เหรียญ นักลงทุนคลายกังวลความตึงเครียดในตะวันออกกลาง

3. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองในภาคเหนือ-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่งตต. 20% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคอีสาน-ภาคใต้ ฝั่ง ตอ. 10%

4. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 37.00-37.25 บาท/ดอลลาร์

5. ทองเปิดตลาด (25 เม.ย. 67) ปรับขึ้น 200 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 41,300 บาท

6. ค่าเงินบาทเปิดวันนึ้ (25 เม.ย.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 37.08 บาทต่อดอลลาร์

7. ตลาดหุ้นไทยเปิด (25 เม.ย.67) ลบ 2.13 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,358.97 จุด

8. ตลาดหุ้นปิด (24 เม.ย.67) บวก 3.64 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.10 จุด

9. ประกาศ กปน.: 27 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง

10. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (24 เม.ย.67) บวก 3.44 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,360.90 จุด

11. MTS Gold คาดว่าจะมีกรอบแนวรับที่ 2,260 เหรียญ และแนวต้านที่ 2,335 เหรียญ

12. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (23 เม.ย.67) ร่วง 4.30 เหรียญ คลายความกังวลตะวันออกกลาง-จับตาเงินเฟ้อและGDPสหรัฐ

13. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (23 เม.ย.67) พุ่งขึ้น 263.71 จุด ขานรับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนแข็งแกร่งเกินคาด

14. ทั่วไทยมีฝนฟ้าคะนอง ภาคเหนือ 30% ภาคอีสาน-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่ง ตต. 20% ภาคใต้ ฝั่ง ตอ.10% กรุงเทพปริมณฑล ฝนเล็กน้อยบางแห่ง

15. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.80-37.05 บาท/ดอลลาร์

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 25, 2024, 11:37 am