เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังออกอาการ รัฐต้องเร่งอัดมาตรการกระตุ้นเพิ่ม


หลังจากสภาพัฒน์ฯรายงานตัวเลข GDP Growth ไตรมาส 2 ปี 2562 ขยายตัว 2.3% yoy ชะลอลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 และต่ำสุดในรอบ 4 ปี 9 เดือน และต่ำกว่าที่ฝ่ายวิจัย บล.เอเซียพลัส หรือ ASP คาดไว้ที่ 2.7% สาเหตุหลักมาจากเกือบทุกตัวที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชะลอลง


 
 
 
และที่หนักสุดก็คือภาคส่งออกซึ่งคิดเป็น 68% ของGDPที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าที่รุนแรงจะเห็นได้จากตัวเลขส่งออกไตรมาส 2 ปีนี้ ในรูปของสกุลดอลลาร์สหรัฐ หดตัวเฉลี่ย 3.8% yoy และในรูปเงินบาทหดตัวสูงถึง 6.1% จากเงินบาทต่อดอลลาร์ที่แข็งค่าเฉลี่ยราว 1.2% yoy

อีกทั้งจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวเพียง 1.1% ลดลงจาก 3.4% ไตรมาส 1 ปี 2562 จากการเบิกจ่ายที่ลดลง เนื่องจากเป็นไตรมาสที่การจัดตั้งรัฐบาลล่าช้า ยกเว้นการลงทุนภาครัฐที่พลิกมาขยายตัว 1.4% หลังหดตัว 0.1% ผลจากการเร่งเบิกจ่าย เพื่อการก่อสร้าง เช่น รถไฟสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี, รถไฟทางคู่ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น

โดยรวมแล้วทำให้ GDP Growth ไทยช่วงครึ่งปีแรก ขยายตัวเฉลี่ย 2.6% ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยฯประเมินว่าGDP Growth ปี 2562 มีความท้าทายอย่างมากหากจะให้ขยายตัวเกิน 3% โดยฝ่ายวิจัยฯยังคงคาดการณ์ GDP ปีนี้ขยายตัว 2.7% ตามเดิมและคาดไตรมาส 3 และ 4 ปี 2562 GDP ต้องขยายตัวเฉลี่ยอย่างตํ่า 2.7-2.8%

สำหรับปัจจัยที่ท้าทายในช่วงครึ่งปีหลัง ยังคงให้น้ำหนักกับภาคส่งออกที่ยังมีแนวโน้มชะลอตัวจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ชะลอ โดยเฉพาะจีนเนื่องจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีนที่ยืดเยื้อ และมีโอกาสที่จีนจะถูกสหรัฐฯขึ้นภาษีนำเข้ารอบที่ 4 วงเงิน 1.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 1 ก.ย. 2562 และเงินบาทที่แข็งค่า

ขณะที่ไตรมาส 4 ปี 2562 จะได้รับผลกระทบจาก งบประมาณภาครัฐล่าช้า โดยเฉพาะงบลงทุนที่ยังไม่มีการก่อหนี้ผูกพัน ซึ่งสศค. ประเมินเม็ดเงินที่จะหายไปจากระบบเศรษฐกิจราว 7-8 หมื่นล้านบาท หรือราว 0.56% ของ GDP ปี 2561

ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯเชื่อว่าความท้าทายที่เกิดขึ้น ทำให้รัฐบาลและธปท.ต้องเร่งเดินหน้าออกมาตรการทั้งการเงินและการคลังเพิ่มเติมมากกว่าปัจจุบัน เพื่อพยุงเศรษฐกิจไม่ให้ชะลอลง ดังนี้...

 
 
 
มาตรการกระตุ้นของภาครัฐ โดยครม.เศรษฐกิจอนุมัติมาตรการวงเงิน 3.16 แสนล้านบาท ซึ่งเสนอให้ครม.อนุมัติวันนี้ มุ่งไปที่ 3 กลุ่มคือ การบริโภคครัวเรือน ท่องเที่ยว และการลงทุนเอกชน

อย่างไรก็ตามเม็ดเงินจากมาตรการดังกล่าวที่จะอัดฉีดเข้าระบบเศรษฐกิจได้ทันที จากวงเงินทั้งหมด 3.1 แสนล้านบาท เชื่อว่าจะมีเพียงราว 3-4 หมื่นล้านบาท หรือ 0.25% ของ GDP ไทย ปี 2561 คือที่ราว 16.3 ล้านล้านบาท เช่น มาตรการเพิ่มวงเงินในบัตรสวัสดิการเป็น 1,000 บาท จาก 500 บาท, อัดฉีดเงิน 1,000 บาท ท่องเที่ยวที่มิใช่ภูมิลำเนา เป็นต้น

ซึ่งฝ่ายวิจัยฯมองว่าไม่น่าเพียงพอที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง โดยคาดว่ารัฐบาลจะต้องเร่งออกมาตรการอื่นเพิ่ม เช่น ช้อปช่วยชาติ, การลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลง 10% (กำลังพิจารณา) เป็นต้น

เชื่อว่ามีโอกาสที่ กนง.อาจปรับลดอัตราดอกเบีย้นโยบายลงเป็นครั้งที่ 2ของปีนี้ราว 25 bps หลังจากต้นเดือนส.ค. 2562 ลดครั้งแรกในรอบ 4 ปี 5 เดือน จาก 1.75% เป็น 1.5% ทำให้แบงก์พาณิชย์ใหญ่และธนาคารของรัฐ ทยอยปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ MOR และ MRR

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 20 ส.ค. 2562 เวลา : 16:20:59
26-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (25 เม.ย.67) บวก 3.17 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,364.27 จุด

2. ประกาศ กปน.: 29 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนบ้านบางไผ่-บ้านหนองเพรางาย

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (25 เม.ย.67) บวก 1.72 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,362.82 จุด

4. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำยังคงทรงตัวในกรอบเช่นเดิมระหว่าง 2,290-2,330 เหรียญ

5. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (24 เม.ย.67) ลบ 42.77 จุด บอนด์ยีลด์พุ่งฉุดตลาด บดบังผลประกอบการ บจ.แกร่ง

6. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (24 เม.ย.67) ร่วง 3.70 เหรียญ นักลงทุนคลายกังวลความตึงเครียดในตะวันออกกลาง

7. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองในภาคเหนือ-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่งตต. 20% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคอีสาน-ภาคใต้ ฝั่ง ตอ. 10%

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 37.00-37.25 บาท/ดอลลาร์

9. ทองเปิดตลาด (25 เม.ย. 67) ปรับขึ้น 200 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 41,300 บาท

10. ค่าเงินบาทเปิดวันนึ้ (25 เม.ย.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 37.08 บาทต่อดอลลาร์

11. ตลาดหุ้นไทยเปิด (25 เม.ย.67) ลบ 2.13 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,358.97 จุด

12. ตลาดหุ้นปิด (24 เม.ย.67) บวก 3.64 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.10 จุด

13. ประกาศ กปน.: 27 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (24 เม.ย.67) บวก 3.44 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,360.90 จุด

15. MTS Gold คาดว่าจะมีกรอบแนวรับที่ 2,260 เหรียญ และแนวต้านที่ 2,335 เหรียญ

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 2:22 am