เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ธ.ซีไอเอ็มบีไทยจับตาธปท.ยืนบนทางแยก"ลดหรือคงดอกเบี้ย"คาดลดดอกเบี้ยหนุนเศรษฐกิจโต


สำนักวิจัยธนาคาร ซีไอเอ็มบีไทยจับตาธปท.กำลังยืนบนทางแยกจะลดหรือคงดอกเบี้ยคาดลดดอกเบี้ยหนุนเศรษฐกิจโต


 
 
ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทยเปิดเผยว่าธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะผู้กำหนดนโยบายกำลังเผชิญความท้าทายอย่างยิ่งในการดำเนินนโยบายทางการเงิน เหมือนกำลังยืนอยู่บนทางแยกที่ต้องเลือกว่าจะไปทางใดทางหนึ่งคือการลดดอกเบี้ยสนับสนุนเศรษฐกิจให้โต เงินเฟ้อเร่งขึ้น และหวังลึกๆว่าจะช่วยให้เงินบาทอ่อนค่าได้บ้างและอีกทางหนึ่งคือคงดอกเบี้ยไว้เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน เพื่อไม่ให้ดอกเบี้ยต่ำนานหรือลดลงอีก เพราะคนจะยิ่งไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงและอาจเกิดภาวะฟองสบู่ที่ควบคุมยากในอนาคต

สำนักวิจัยฯคาดการณ์ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินน่าจะประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งถัดไปวันที่ 6 พฤศจิกายน 2562จากปัจจุบันดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 1.5% ลดเหลือ1.25% เนื่องจากเห็นแนวโน้มตัวเลขและเหตุการณ์ในอนาคตส่งสัญญาณที่อาจนำไปสู่การตัดสินใจลดดอกเบี้ย

อนึ่งนโยบายการเงินพิจารณาสามปัจจัยสำคัญนั่นคือ การเติบโตทางเศรษฐกิจ ราคาสินค้าและเสถียรภาพทางการเงิน ตอนนี้เศรษฐกิจไทยกำลังชะลอตามภาวะเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้การส่งออกหดตัวต่อเนื่อง กระทบการลงทุนและการบริโภคในประเทศ วันนี้มีสองในสามปัจจัยที่ส่งสัญญาณว่ากนง.อาจปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมรอบหน้า คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจและราคาสินค้า เป็นที่แน่ชัดว่าเศรษฐกิจไทยชะลอตัวต่ำกว่าศักยภาพ ธปท.เองได้ออกมาปรับประมาณการลงต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อต่ำ เดือนสิงหาคมเงินเฟ้อหลุดกรอบล่างที่ร้อยละ1 และมีแนวโน้มต่ำต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจากราคาน้ำมัน ส่วนหนึ่งเกิดจากความเสี่ยงที่มาจากอุปสงค์อ่อนแอ

นอกจากตัวเลขเศรษฐกิจชะลอที่เกิดขึ้นแล้ว นโยบายการเงินจะพิจารณาแนวโน้มตัวเลขและเหตุการณ์ในอนาคตด้วย อย่างที่เห็นในการประชุมเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ไม่ได้มีสัญญาณการลดดอกเบี้ยหรือเสียงแตกจากคณะกรรมการ กนง. ในรอบก่อนหน้า แต่สุดท้ายกนง.ปรับลดดอกเบี้ยลง ซึ่งน่าจะมาจากแนวโน้มตัวเลขและเหตุการณ์ในอนาคต ประกอบด้วย ปัจจัยความเสี่ยงจากการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐจากจีน แม้ยังไม่เกิดขึ้นในเดือนนั้นแต่มีความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจในอนาคต เปรียบเหมือนดูกระจกมองหลังเวลาขับรถไปข้างหน้า ดูให้รู้ว่ามีสัญญาณอะไรหรือใช้เปลี่ยนเส้นทางและดูข้างหน้าเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาความเร็วว่าจะแตะเบรกหรือขึ้นดอกเบี้ยหากเศรษฐกิจวิ่งแรงเกินไป หรือจะเหยียบคันเร่งหรือลดดอกเบี้ยให้เศรษฐกิจเร่งขึ้น

ขณะที่การประชุมในรอบปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา กนง.คงดอกเบี้ยอาจเพราะยังห่วงเสถียรภาพในตลาดการเงิน ที่นักลงทุนยังเข้าลงทุนโดยไม่ได้ประเมินความเสี่ยงดีพอและการเข้าลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงๆขณะที่หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น หนี้เสียมีมากโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก

“ผมเห็นใจผู้กำหนดนโยบายที่กำลังยืนอยู่บนทางแยกว่าจะเลือกเดินทางไหนดี เพราะเมื่อมองไปข้างหน้าล้วนมีความเสี่ยงให้เศรษฐกิจโตช้าลง ไม่เพียงสงครามการค้าที่ยังคงลากยาวและอาจรุนแรงขึ้น ขณะที่อุปสงค์ในประเทศมีท่าทีชะลอลง โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่มาช้าและไทยมีความเสี่ยงที่จะตกขบวนรถไฟของการย้ายฐานการผลิตจากจีนมาอาเซียน เพราะบริษัทข้ามชาติเหล่านั้นอาจเลือกเวียดนามแทน” ดร.อมรเทพกล่าว

นอกจากนี้เมื่อสงครามการค้าที่ลากยาวส่งผลกระทบการส่งออกให้หดตัว ผู้ผลิตลดกำลังการผลิต ชั่วโมงการทำงานถูกตัด และรอบนี้ไม่เพียงภาคบริการและอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอ เพราะภาคเกษตรเองก็ไม่แข็งแรง จากภัยธรรมชาติทั้งฝนแล้งและน้ำท่วมในหลายจังหวัดได้มีผลต่อปริมาณการผลิตและรายได้ภาคเกษตร แม้เงินช่วยเหลือจากภาครัฐจะมีแต่ก็ทำได้เพียงประคองกำลังซื้อเขาไว้ เราอาจรอผลมาตรการกระตุ้นการบริโภคแต่อาจมีไม่มากเพราะงบประมาณภาครัฐเองก็มีจำกัด อีกทั้งงบประมาณปี 2563 ที่ปกติจะเริ่มวันนี้ก็มีความจำเป็นต้องรอให้ผ่านสภาฯในช่วงต้นปีหน้า

ขณะที่ปัจจัยสำคัญคือบาทแข็งค่าแรงยังคงกดดันและกระทบผู้ส่งออก แต่การที่บาทแข็งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่เราเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูง เป็นที่สนใจของนักลงทุนที่มาพักเงินในช่วงความผันผวนมีมาก ซึ่งการลดดอกเบี้ยลงน่าจะลดแรงจูงใจนักลงทุนต่างชาติได้บ้าง

ด้านเสถียรภาพที่ผ่านมาทางธปท.ได้มีมาตรการดูแลคุณภาพสินเชื่อและต่างๆมากมาย โดยเฉพาะเกณฑ์สินเชื่อบ้าน และน่าจะลดพฤติกรรมเก็งกำไรได้มาก แต่ต้องเข้าใจว่าแม้ลดดอกเบี้ยไป สินเชื่อก็อาจไม่ได้ขยายตัวแรง เพราะธนาคารพาณิชย์ยังคงกังวลต่อคุณภาพสินเชื่อและมีข้อกำกับมากมาย แต่ก็น่าจะคลายความกังวล ลดต้นทุนทางการเงินและสร้างความเชื่อมั่นได้บ้าง

หลังจากกนง.ลดดอกเบี้ยลงมาอยู่ที่ 1.25%แล้ว อย่าเชื่อว่าดอกเบี้ยต่ำสุดได้เพียง 1.25% ภาพจำว่าดอกเบี้ยต่ำสุดคือ 1.25% มาจากในช่วงวิกฤติการเงินโลก กนง. ลดดอกเบี้ยจากระดับร้อยละ 3.75 ปลายปี 2551 ลงสู่ระดับร้อยละ 1.25 ในเดือนเมษายนปีถัดมา หลังจากนั้นในช่วงไตรมาสที่สองปี 2552 เศรษฐกิจไทยหดตัวถึงร้อยละ 3.1 แต่ถึงขั้นนั้น กนง. ก็ไม่ได้ลดดอกเบี้ยลงอีก ยังคงที่ 1.25% ส่วนหนึ่งอาจเพราะภาวะเศรษฐกิจที่มีการฟื้นตัวได้เร็วก็อาจสนับสนุนได้ว่าดอกเบี้ยต่ำเพียงพอในการประคองเศรษฐกิจในขณะนั้น อย่างไรก็ดีเราไม่เชื่อว่าดอกเบี้ยไทยจะลงไปต่ำกว่า1.25% ไม่ได้ แม้วันนี้ไม่ใช่ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ แต่อยู่ในจุดที่อาจไม่จำเป็นต้องให้ดอกเบี้ยอยู่ในระดับเช่นในอดีตคือ 1.25%

“ผมมองว่าในภาวะที่ตลาดการเงินโลกมีปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบมาก โดยเฉพาะหลังธนาคารกลางสำคัญได้ใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณและขยายงบดุลของธนาคารกลางมาก่อนหน้า เราจึงไม่อาจมองภาพนโยบายการเงินวันนี้เทียบอดีตได้ แต่ผมยังหวังว่าเรายังไม่ต้องลดดอกเบี้ยลงอีกและอาจใช้มาตรการอื่น โดยเฉพาะมาตรการทางการคลังแทนแต่ภาวะความเสี่ยงดอกเบี้ยขาลงเช่นนี้ ผู้ฝากเงินน่าจะล็อกเงินฝากระยะยาว ผู้กู้ใช้ดอกเบี้ยลอยตัว ขณะที่ระวังการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงไว้บ้างตามภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่มีผลต่อกำไรบริษัทแต่เมื่อสภาพคล่องมีสูงขึ้นก็อาจทำให้สินทรัพย์เสี่ยงมีความน่าสนใจได้อีกครั้ง” ดร.อมรเทพ กล่าว
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 01 ต.ค. 2562 เวลา : 16:36:02
11-07-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ประกาศ กปน.: 17 ก.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนศรีนครินทร์ตัดถนนหนามแดง-บางพลี

2. ประกาศ กปน.: 19 ก.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนประเสริฐมนูกิจ

3. ตลาดหุ้นปิด (9 ก.ค.68) ลบ 5.25 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,110.40 จุด

4. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (9 ก.ค.68) ลบ 4.05 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,111.60 จุด

5. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 3,290 เหรียญ และ 3,340 เหรียญ

6. ทองเปิดตลาดวันนี้ (9 ก.ค.68) ลดลง 200 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 51,800 บาท

7. ตลาดหุ้นไทยเปิดวันนี้ (9 ก.ค.68) บวก 0.60 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,116.25 จุด

8. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (8 ก.ค.68) ร่วง 25.90 เหรียญ เหตุบอนด์ยีลด์พุ่ง-ดอลลาร์แข็งค่า

9. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (8 ก.ค.68) ร่วง 165.60 จุด ทรัมป์ไม่ขยายเส้นตายรีดภาษีการค้า 1 ส.ค.

10. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (9 ก.ค.68) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 32.57 บาทต่อดอลลาร์

11. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 32.50-32.75บาท/ดอลลาร์

12. พยากรณ์อากาศวันนี้ (9 ก.ค.68) ฝนตกหนักในภาคตะวันออก 70% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคเหนือ-ภาคอีสาน-ภาคกลาง 60% ภาคใต้ 40-60%

13. ประกาศ กปน.: 12 ก.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง

14. ตลาดหุ้นปิด (8 ก.ค.68) ลบ 7.35 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,115.65 จุด

15. MTS Gold คาดว่าจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 3,300 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 3,350 เหรียญ ยังคงแนะนำให้ทำกำไรในกรอบแคบ

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ July 11, 2025, 9:04 am