เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
SCB EIC หั่นGDP ปี 62 เหลือโต 2.8% จากเดิม3% ส่วนปี 63 โต 2.8%


ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์(SCB EIC)ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP)ของไทยในปี 62 ลงเหลือ 2.8%จากเดิม 3% ผลจากการส่งออกหดตัวแรง ขณะที่การใช้จ่ายเอกชนชะลอตัวและการลงทุนภาครัฐล่าช้า ส่วนปีหน้าประเมิน GDP เติบโตใกล้เคียงกับปีนี้ที่ 2.8% ส่วนทิศทางดอกเบี้ยคาดยังคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาที่ 1.25% ในรอบการประชุมเดือน พ.ย.นี้ จากนั้นจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ตลอดทั้งปี 63 ขณะที่คาดว่าค่าเงินบาทจะทรงตัวในทิศทางแข็งค่าที่ 30-31 บาท/ดอลาร์สหรัฐในปี 63 ใกล้เคียงปีนี้ เนื่องจากดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยยังเกินดุลสูงถึง 6% ของ GDP

         
 
 
 
ดร.ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ผู้บริหารสูงสุด SCB EIC กล่าวว่าอีไอซีปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2562 เหลือ 2.8% จากประมาณการเดิมที่ 3.0% โดยมีสาเหตุหลักจากสงครามการค้าที่ยังคงยืดเยื้อ รวมถึงผลกระทบสะสมของการตั้งกำแพงภาษีระหว่างจีนและสหรัฐฯในช่วงที่ผ่านมา เริ่มส่งผลเป็นวงกว้างมากขึ้นในหลายประเทศ โดยผลกระทบในระยะหลังไม่ได้กระจุกตัวเพียงแค่การผลิตภาคอุตสาหกรรม การค้าระหว่างประเทศและการลงทุน แต่เริ่มกระจายตัวทำให้ภาคบริการชะลอลงอีกด้วย นอกจากนั้นความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (technical recession) ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยเฉพาะประเทศที่เศรษฐกิจพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศค่อนข้างมาก เช่น เยอรมนี ฮ่องกงและ สิงคโปร์  ซึ่งจากการที่เศรษฐกิจชะลอตัวและความเสี่ยงด้านต่ำสูงขึ้น ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกเริ่มกลับมาใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อประคับประคองการชะลอตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงหลายประเทศที่มีความสามารถในการทำนโยบายการคลัง (fiscal policy space)ก็เริ่มมีการออกมาตรการการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเช่นกัน 

ซึ่งจากปัจจัยข้างต้นอีไอซีประเมินว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องและเมื่อรวมกับการแข็งค่าของค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศคู่ค้าและคู่แข่งก็จะทำให้ภาคการส่งออกและการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวในรูปของเงินบาทได้รับผลกระทบ ดังนั้นอีไอซีจึงมีการปรับลดประมาณการอัตราขยายตัวของมูลค่าส่งออกเป็นหดตัวที่ -2.5% ขณะที่ภาคท่องเที่ยวแม้จะคงคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวที่ 40.1 ล้านคน แต่มีการปรับลดประมาณการค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวของนักท่องเที่ยวตามการแข็งค่าของเงินบาท ด้านอุปสงค์ในประเทศ สัญญาณการชะลอตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะยอดขายที่อยู่อาศัยในภาคอสังหาริมทรัพย์และยอดขายรถยนต์ที่หดตัว ตามภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนตัวลงสะท้อนจากการจ้างงานที่หดตัวโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม รายได้ภาคการท่องเที่ยวและภาคเกษตรที่ซบเซาและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดต่ำลง รวมทั้งความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินจากสัญญาณคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงและมาตรการกำกับดูแลการให้สินเชื่อที่เข้มงวดขึ้น 
 
 
 
 
สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ประกาศในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา อีไอซีประเมินว่าจะมีผลช่วยพยุงการใช้จ่ายสินค้าไม่คงทนในช่วงที่เหลือของปี 2562 เป็นสำคัญโดยคาดว่าจะกระตุ้นGDPได้ประมาณ 0.03% อย่างไรก็ดีความล่าช้าของการผ่าน พรบ.งบประมาณปี 2563จะกระทบต่อเม็ดเงินลงทุนภาครัฐในส่วนของโครงการใหม่ สำหรับปี 2563 อีไอซีคาดเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ 2.8% ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่จะชะลอตัวต่อเนื่องและภาระหนี้ครัวเรือนที่จะกดดันกำลังซื้อในประเทศ ความเสี่ยงด้านต่ำจากผลกระทบของสงครามการค้าที่ยืดเยื้อและความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในหลายประเทศ ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบาง ดังนั้นอีไอซีประเมินว่าการฟื้นตัวของการส่งออกไทยจะเป็นไปอย่างช้า ๆ (0.2% ในปี 2563) ในส่วนของภาคอุปสงค์ในประเทศ อีไอซีคาดการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงจากปี 2562 เล็กน้อย ตามอุปสงค์ของการส่งออกที่ยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน ประกอบกับการก่อสร้างภาคเอกชนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ LTV

นอกจากนี้การบริโภคภาคเอกชนมีทิศทางชะลอลงเช่นกันจากหลายปัจจัยกดดัน ได้แก่ ภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงและความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ด้วยเหตุนี้ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการบริโภคของภาครัฐรวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจะมีบทบาทมากขึ้นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ด้านนโยบายการเงิน อีไอซีคงมุมมอง กนง. มีโอกาสลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในไตรมาสที่ 4/2562 สู่ระดับ 1.25% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ และจะคงอัตราดอกเบี้ยตลอดปี 2563 แม้ในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กนง. จะได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงแล้ว 1 ครั้งและล่าสุดในการประชุมเดือนกันยายนได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจของทั้งปี 2562และปี 2563 แต่ในระยะถัดไป ความเสี่ยงด้านต่ำจากทั้งในและนอกประเทศที่มีสูงขึ้นจะทำให้ กนง. มีโอกาสปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2563 ที่คาดว่าจะโตถึง 3.3% ลงได้อีก
 
ประกอบกับแนวโน้มเงินเฟ้อที่จะยังอยู่ต่ำกว่ากรอบเป้าหมายทั้งในปีนี้และปีหน้า น่าจะทำให้ กนง. พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 1 ครั้งในไตรมาสที่ 4/2562 และจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 1.25% ตลอดทั้งปี 2563 เพื่อประคับประคองกำลังซื้อในประเทศผ่านช่องทางการลดต้นทุนทางการเงิน ซึ่งแม้อาจจะไม่กระตุ้นให้เกิดการกู้ยืมใหม่ได้มากนักภายใต้ความไม่แน่นอนที่ยังอยู่ในระดับสูง แต่จะมีส่วนลดภาระการชำระหนี้ให้กับครัวเรือนและธุรกิจ SME ที่มีหนี้อยู่แล้วเป็นสำคัญ ในส่วนของปัญหาเสถียรภาพระบบการเงินจากภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อเนื่องยาวนาน กนง.น่าจะใช้มาตรการ macro และ micro prudential เป็นเครื่องมือหลักในการจัดการความเสี่ยง

สำหรับทิศทางของค่าเงินบาท อีไอซีประเมินว่าค่าเงินบาทจะยังได้รับแรงกดดันด้านแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินในภูมิภาคอย่างต่อเนื่องจากดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยที่เกินดุลสูง แนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางในภูมิภาคที่อาจทำได้มากกว่าของไทยซึ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำอยู่แล้ว ตลอดจนเงินทุนเคลื่อนย้ายที่เข้ามาเป็นช่วงๆจากการที่เงินบาทถูกมองว่าเป็นสกุลเงินที่ปลอดภัยของภูมิภาค ซึ่งจะทำให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 30-31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงปี 2563 ปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปมาจากทั้งภายในและภายนอก โดยสงครามการค้ายังคงเป็นความเสี่ยงสำคัญที่อาจมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นได้อีกและอาจทำให้การส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยได้รับผลกระทบมากกว่าที่คาด ซึ่งส่งผลกระทบทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 2020 อาจชะลอลงมากกว่าคาด 

นอกจากนี้ปัจจัยภายนอกอื่นๆที่ต้องจับตาคือความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ เช่น Brexit การประท้วงในฮ่องกง และความขัดแย้งระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ที่อาจทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอเพิ่มเติม และอาจเกิดความผันผวนในตลาดเงินโลกได้ ขณะที่ความเสี่ยงภายในประเทศมาจากความเปราะบางทางการเงินที่มีมากขึ้นทั้งในส่วนของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ SME สะท้อนจากระดับหนี้เสีย (NPL) ทั้งในส่วนของสินเชื่ออุปโภคบริโภคและสินเชื่อธุรกิจ SME ที่โน้มสูงขึ้นจากผลกระทบสะสมของภาระหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น รายได้ที่ชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่ทำให้ยอดขายของธุรกิจและรายได้ของครัวเรือนมีแนวโน้มกระจุกตัวมากขึ้น  นอกจากนี้ความล่าช้าในการจัดทำงบประมาณ รวมถึงประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายของภาครัฐ ก็ยังเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงภายในสำคัญที่ส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 08 ต.ค. 2562 เวลา : 14:35:48
15-07-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ประกาศ กปน.: 16 ก.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนเจริญกรุงตัดถนนสาทรใต้

2. ตลาดหุ้นปิด (14 ก.ค.68) บวก 22.18 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,143.31 จุด

3. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะเคลื่อนไหวระหว่างแนวรับที่ระดับ 3,345 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 3,385 เหรียญ

4. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (14 ก.ค.68) บวก 10.78 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,131.91 จุด

5. พยากรณ์อากาศวันนี้ (14 ก.ค.68) กรุงเทพปริมณฑล-ภาคเหนือ-ภาคอีสาน-ภาคตะวันออก ฝนฟ้าคะนอง 60% ภาคกลาง 40% ภาคใต้ 40-60%

6. กรุงศรีคาดเงินบาทสัปดาห์นี้ซื้อขายในกรอบ 32.10-32.80 ติดตามสงครามการค้าและเงินเฟ้อสหรัฐฯ

7. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 32.30-32.55 บาท/ดอลลาร์

8. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (14 ก.ค.68) แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ที่ระดับ 32.38 บาทต่อดอลลาร์

9. ทองเปิดตลาดวันนี้ (14 ก.ค. 68) ปรับขึ้น 50 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 52,300 บาท

10. ตลาดหุ้นไทยเปิดวันนี้ (14 ก.ค.68) บวก 5.21 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,126.34 จุด

11. ตลาดหุ้นไทยปิด (11 ก.ค.68) บวก 10.73 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,121.13 จุด

12. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (10 ก.ค.68) บวก 192.34 จุด รับข้อมูลแรงงานสดใส

13. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (10 ก.ค.68) บวก 4.70 เหรียญ กังวลภาษีทรัมป์แห่ซื้อทองสินทรัพย์ปลอดภัย

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (11 ก.ค.68) บวก 17.31 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,127.71 จุด

15. พยากรณ์อากาศวันนี้ (11 ก.ค.68) ภาคเหนือ ฝนตกหนัก 80% ภาคอีสาน-ภาคใต้ ฝั่ง ตต. 70% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก 60% ภาคใต้ ฝั่ง ตอ. 40%

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ July 15, 2025, 4:27 am