หุ้นทอง
อย่าหลงแรงยั่วยุผ่อน 0% สัญญาณเงียบดึงคุณติดกับดักก่อหนี้


หลายๆครั้ง ที่คุณคงเคยหรืออย่างน้อยคุณอาจจะเกิดอาการลังเลใจกับโปรโมชั่นการผ่อนสินค้าดอกเบี้ย 0% เรียกว่าพอเห็นแล้วตาลุกวาว“ดีจัง สินค้าชิ้นนี้สามารถผ่อน 0% ได้ด้วย กำลังคิดอยากได้สินค้านั้นอยู่พอดี” แถมคุณบอกตัวเองด้วยว่าของแบบนี้ ต้องมีไว้ ยิ่งตอนนี้ให้คุณผ่อน0% ด้วย คิดเป็นต่อเดือนแล้วไม่มากเท่าไร น่าจะพอจ่ายไหว เอาไว้ก่อนก็แล้วกัน

 
 
 
 
มิสเตอร์ตลาดหลักทรัพย์ฯและคุณอลงกรณ์ สวัสดิภาพ บอกว่ากับดักทางการตลาดแบบนี้ สามารถทำให้คุณและหลายๆคนไขว้เขวมานักต่อนักแล้วแต่คำถามตามมาคือ ผ่อน 0% ไม่ดีตรงไหน ก็จ่ายต่อเดือนน้อยลง
 
ดังนั้นมิสเตอร์ตลาดหลักทรัพย์ฯและคุณอลงกรณ์ ขอเน้นย้ำว่าการที่คุณจะใช้บริการซื้อสินค้าเงินผ่อน โดยเฉพาะการผ่อน 0% จริงๆแล้วมีทั้งประโยชน์และข้อควรระมัดระวัง เริ่มจาก ดอกเบี้ย 0% เป็นสัญญาตลอดหรือแค่ชั่วคราว เช่น ต้องการผ่อนสินค้าระยะเวลา 12 เดือน แต่ดอกเบี้ย 0% แค่ 3 เดือน หรือแค่ 6 เดือน ซึ่งมักจะเจอโปรโมชั่นแบบนี้กับสินค้าที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง หากเจอเงื่อนไขแบบนี้คุณต้องชั่งใจกันดีๆว่าเป็นสินค้าที่ต้องการจริงหรือไม่ เพราะต้องจ่ายดอกเบี้ยในช่วงหลังๆ จนกว่าจะผ่อนสินค้าหมดไป
 
ดังนั้นก่อนตัดสินใจผ่อนหรือซื้อสินค้าผ่อน 0% คุณต้องพิจารณาก่อนว่า สินค้าหรือบริการนั้นเป็นสิ่งที่ “จำเป็น” หรือไม่ เพราะหากเป็นสินค้าหรือบริการที่จำเป็น เช่น ผ่อนชำระเบี้ยประกัน หรือสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพก็มีความเหมาะสม ในทางกลับกันหากเป็นสิ่งของฟุ่มเฟือย ซื้อเพื่อตอบสนองความอยากส่วนตัวก็จะเป็นการเพิ่มภาระหนี้
 
ที่สำคัญ คุณไม่ควรไร้วินัยหากคุณต้องการใช้บริการผ่อน 0% การวางแผนเรื่องการใช้เงินเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะเรื่องรายรับ ร่ายจ่าย เพราะการผ่อนสินค้า 0% หากพิจารณากันแล้วก็คือ การนำเงินในอนาคตมาใช้ก่อน ลองย้อนกลับมาดูรายได้และลองเปรียบเทียบกับรายจ่าย นั่นคือ ไม่ควรมีหนี้สินเกินกว่า 40 - 45% ของรายได้ในแต่ละเดือน
 
สมมติมีเงินเดือน 30,000 บาท หนี้สินต่อเดือนไม่ควรเกิน 12,000 - 13,500 บาท หากมีหนี้สินอื่นอยู่แล้ว ก่อนที่คุณจะก่อหนี้ก้อนใหม่ คุณก็ควรคำนึงว่าจะทำให้ภาระหนี้รวมเกินไปหรือไม่ 
เพราะเมื่อมีหนี้สูง ถึงแม้ว่าจะเป็นการผ่อนชำระที่ไม่เสียดอกเบี้ย แต่จะกระทบรายจ่ายประจำในแต่ละเดือน อาจจะทำให้คุณติดปัญหาสภาพคล่องได้
 
ดังนั้นถ้าไม่อยากก่อหนี้จนเกินตัวผ่านการผ่อน 0% ก่อนอื่นคุณควรหักห้ามใจ คุณต้องประเมินรายได้ รายจ่ายของตัวเอง เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าเบี้ยประกัน ค่าอาหาร ค่าน้ำมันรถ ค่าเดินทางและค่าโทรศัพท์ เมื่อนำรายได้มาหักรายจ่ายก็จะรู้ว่ามีเงินเหลือเท่าไหร่ 

ที่สำคัญคุณต้องหมั่นฝึกการ “จดค่าใช้จ่าย” ทุกอย่างที่ใช้ เท่านี้ก็เป็นการประเมินสถานะทางการเงินเบื้องต้นได้แล้ว 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 13 ม.ค. 2563 เวลา : 15:53:58
24-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (24 เม.ย.67) บวก 3.64 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.10 จุด

2. ประกาศ กปน.: 27 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (24 เม.ย.67) บวก 3.44 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,360.90 จุด

4. MTS Gold คาดว่าจะมีกรอบแนวรับที่ 2,260 เหรียญ และแนวต้านที่ 2,335 เหรียญ

5. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (23 เม.ย.67) ร่วง 4.30 เหรียญ คลายความกังวลตะวันออกกลาง-จับตาเงินเฟ้อและGDPสหรัฐ

6. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (23 เม.ย.67) พุ่งขึ้น 263.71 จุด ขานรับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนแข็งแกร่งเกินคาด

7. ทั่วไทยมีฝนฟ้าคะนอง ภาคเหนือ 30% ภาคอีสาน-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่ง ตต. 20% ภาคใต้ ฝั่ง ตอ.10% กรุงเทพปริมณฑล ฝนเล็กน้อยบางแห่ง

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.80-37.05 บาท/ดอลลาร์

9. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (24 เม.ย.67) แข็งค่าขึ้น ที่ระดับ 36.93 บาทต่อดอลลาร์

10. ทองเปิดตลาด (24 เม.ย. 67) ปรับขึ้น 100 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 40,950 บาท

11. ตลาดหุ้นไทยเปิด (24 เม.ย.67) บวก 7.26 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,364.72 จุด

12. ประกาศ กปน.: 25 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก)

13. ประกาศ กปน.: 25 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนประชาร่วมใจ

14. ตลาดหุ้นปิด (23 เม.ย.67) บวก 7.94 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,357.46 จุด

15. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (23 เม.ย.67) บวก 11.57 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.09 จุด

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 24, 2024, 6:28 pm