เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
สศค.เผย ก.พ. 63 ท่องเที่ยวชะลอตัวทุกภูมิภาคแต่ยังมีสัญญาณบวกจากบริโภค-ลงทุนเอกชน


เศรษฐกิจภูมิภาคเดือนกุมภาพันธ์ 2563ทุกภูมิภาคได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวในระดับภูมิภาคชะลอตัวลงอย่างไรก็ดีเศรษฐกิจภาคตะวันออกและภาคใต้ยังมีสัญญาณบวกจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน


นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังรักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลังในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาคเปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ว่า“เศรษฐกิจภูมิภาคเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ทุกภูมิภาคได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวในระดับภูมิภาคชะลอตัวลง อย่างไรก็ดีเศรษฐกิจภาคตะวันออกและภาคใต้ยังมีสัญญาณบวกจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน”โดยมีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้

ภาคตะวันออก ได้รับผลกระทบในภาคการท่องเที่ยวแต่ยังขยายตัวได้จากภาคการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร ส่วนหนึ่งได้รับผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา อาทิ การกระตุ้นการลงทุนผ่านมาตรการภาษีและสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานจากภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวลงสะท้อนจาก จำนวนและรายได้ผู้เยี่ยมเยือนที่ลดลงที่ร้อยละ -41.2 และ -47.2ต่อปี ตามลำดับ
 
โดยเป็นการลดลงทั้งนักท่องเที่ยวจากชาวต่างชาติและคนไทย อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมภาคตะวันออกในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ยังคงอยู่เหนือระดับ 100 เป็นเดือนที่ 28 ติดต่อกันที่ระดับ 109.1 สำหรับด้านอุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวได้จากภาคการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดีจาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ที่ขยายตัวร้อยละ 5.4 ต่อปี สะท้อนถึงการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในภูมิภาคที่ขยายตัวได้ดี ส่วนหนึ่งเนื่องจากรายได้เกษตรกรขยายตัวสูงถึงร้อยละ 26.1 ต่อปี
 
นอกจากนี้การลงทุนภาคเอกชนวัดจากเงินลงทุนในโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ มีเงินลงทุนอยู่ที่ 2,442.8 ล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 39.2 ต่อปีจากการลงทุนในจังหวัดชลบุรี จำนวน 1,343 ล้านบาทจากโรงงานประกอบชิ้นงานที่ทำด้วยโลหะ เป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังมีเงินลงทุนในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการจำนวน 2,707.1ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.6 ต่อปี จากการลงทุนในโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จากพลาสติกด้วยเงินลงทุนจำนวน1,389 ล้านบาท ในจังหวัดระยอง โดยมีมาตรการภาครัฐสนับสนุน อาทิ การกระตุ้นการลงทุนผ่านมาตรการภาษีและสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดีสะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้นที่ร้อยละ 0.7 ต่อปีและอัตราว่างงานในเดือนมกราคม 2563 อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.8

ภาคใต้ ได้รับผลกระทบในภาคการท่องเที่ยวแต่ยังขยายตัวได้ดีภาคการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนในเดือนกุมภาพันธ์2563 พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานจากภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวลงในเดือนกุมภาพันธ์ 2563  พบว่าจำนวนและรายได้ผู้เยี่ยมเยือนที่ลดลงที่ร้อยละ -39.8 และ -44.9 ต่อปีตามลำดับ โดยเป็นการลดลงทั้งนักท่องเที่ยวจากชาวต่างชาติและคนไทยสำหรับด้านอุปสงค์ภายในประเทศขยายตัว จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 ต่อปีและจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อปีสอดคล้องกับรายได้เกษตรที่ขยายตัวร้อยละ 8.8 ต่อปี นอกจากนี้การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวโดดเด่นจากเงินลงทุนในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการจำนวน 889.1 ล้านบาทขยายตัวร้อยละ 26.8 ต่อปีจากการลงทุนในโรงงานผลิตถุงมือและลูกโป่งจากยางพาราจำนวน 423.4 ล้านบาทในจังหวัดพัทลุง เป็นสำคัญ รวมถึงจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ยังสามารถขยายตัวร้อยละ 5.4 ต่อปี ส่วนด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดีสะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้นที่ 0.3 ต่อปีและอัตราว่างงานในเดือนมกราคม 2563 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.4

ภาคตะวันออกเฉียงเหนื ได้รับผลกระทบในภาคการท่องเที่ยวแต่ยังขยายตัวได้จาก การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 พบว่าเครื่องชี้ด้านอุปทานโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวลงสะท้อนจากจำนวนของผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ลดลงร้อยละ-9.4 และ -9.8 ต่อปี ตามลำดับโดยเป็นการลดลงทั้งนักท่องเที่ยวจากชาวต่างชาติและคนไทย อย่างไรก็ดีด้านอุปสงค์ภายในประเทศมีสัญญาณการขยายตัวจากการจับจ่ายใช้สอยสินค้าทั่วไปสะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 ต่อปีต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 ต่อปี ขณะที่การบริโภคในหมวดสินค้าคงทนชะลอตัวสะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่ยังคงลดลงร้อยละ -10.8 และ -9.5 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ–17.6 และ -3.1 ต่อปี ตามลำดับ
 
สำหรับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวจากเงินลงทุนในโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 อยู่ที่5,032.2 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 710.3 ต่อปีจากเดือนก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ -21.7 ต่อปี จากการลงทุนในโรงสีข้าวในจังหวัดบุรีรัมย์เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดีจำนวนรถปิคอัพและรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ยังคงลดลงที่ร้อยละ -15.9 และ -7.3ต่อปี ตามลำดับ ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ -17.2 และ -16.1ต่อปี อย่างไรก็ดี ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดีสะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้นที่ร้อยละ 1.6 ต่อปี และอัตราว่างงานในเดือนมกราคม 2563 อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.9

กทม.และปริมณฑลได้รับผลกระทบในภาคการท่องเที่ยวแต่ยังสามารถขยายตัวได้จากการบริโภคภาคเอกชนสะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกร ที่ขยายตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวลงต่อเนื่อง จากเดือนก่อนหน้าทั้งจากจำนวนและรายได้ผู้เยี่ยมเยือน โดยลดลงที่ร้อยละ -50.1 และ -51.3ต่อปี ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ -1.2 และ -3.2 ต่อปีตามลำดับ โดยเป็นการลดลงทั้งจากชาวต่างชาติและคนไทย
ในขณะที่ด้านอุปสงค์ภายในประเทศสามารถขยายตัวได้จากการบริโภคภาคเอกชนสะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกร ที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 และ 14.7 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดีการบริโภคในหมวดสินค้าคงทนลดลงจากจำนวนรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่ชะลอต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ-10.0 และ -1.5 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนสะท้อนจากเงินลงทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการและได้รับอนุญาตประกอบกิจการลดลงร้อยละ -54.3 และ -24.0 ต่อปี ตามลำดับสอดคล้องกับจำนวนรถปิคอัพและรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ลดลงร้อยละ -14.6 และ-6.3 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี
สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้นที่ร้อยละ 0.6 ต่อปีและอัตราว่างงานในเดือนมกราคม 2563 อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.9

ภาคตะวันตก ได้รับผลกระทบในภาคการท่องเที่ยวแต่ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนภาคเอกชนจากเงินลงทุนในโรงงานที่เริ่มและได้รับอนุญาตประกอบกิจการที่ขยายตัวได้ดีในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าทั้งจำนวนและรายได้ผู้เยี่ยมเยือน โดยลดลงร้อยละ -24.5 และ -29.4 ต่อปีตามลำดับ อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยสนับสนุนจากเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนที่สะท้อนการขยายตัวได้ดีจากเงินลงทุนในโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการและเงินลงทุนได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการซึ่งกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ643.4 และ 25.6 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่ลดลง -5.2 ต่อปี -48.3 ต่อปีตามลำดับ
 
สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์จากการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนกลับมาขยายตัวจากจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ที่ขยายตัวร้อยละ 5.4 ต่อปีอย่างไรก็ดี การจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าของประชาชนสะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ลดลงต่อเนื่องที่ร้อยละ -10.8ต่อปี ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดีสะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้น ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563อยู่ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี และอัตราว่างงานในเดือนมกราคม 2563อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.7

ภาคกลาง ได้รับผลกระทบในภาคการท่องเที่ยวแต่ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากด้านอุปสงค์ ทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนสะท้อนจาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ รายได้เกษตรกรและจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าทั้งจำนวนและรายได้ผู้เยี่ยมเยือน โดยลดลงที่ร้อยละ -33.4 และ -34.4ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยสนับสนุนจากด้านอุปสงค์ทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน โดยเฉพาะจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ขยายตัวร้อยละ 15.1 ต่อปีสอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อปี ใน
 
ขณะที่การบริโภคในหมวดสินค้าคงทนลดลงสะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ลดลงลงที่ร้อยละ-23.8 และ -11.0 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ การลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ24.3 ต่อปี ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 12.5 ต่อปีสำหรับด้านเสถียรภาพภายใน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้นที่อยู่ที่ร้อยละ0.4 ต่อปี และอัตราว่างงานในเดือนมกราคม 2563 อยู่ที่ร้อยละ 2.0

ภาคเหนือ ได้รับผลกระทบในภาคการท่องเที่ยวแต่ยังสามารถขยายตัวได้จากการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณราคาคงที่ ที่ขยายตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 2563  พบว่า ด้านอุปทานโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวลงต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมาสะท้อนจากจำนวนของผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ลดลงร้อยละ
-18.3 และ -25.8 ต่อปี ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ -2.3 และ-4.4 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่
 
ขยายตัวได้ที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี อย่างไรก็ดีจำนวนรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ลดลงที่ร้อยละ -10.6 และ-6.1 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่ลดลงร้อยละ -10.2 ต่อปีในด้านเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนลดลงทั้งจากการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรและก่อสร้างสะท้อนจากเงินลงทุนในโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการและที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563  ลดลงร้อยละ-66.4 และ -71.1 ต่อปี ตามลำดับ
 
นอกจากนี้จำนวนรถปิคอัพและรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ-17.1 และ -16.3 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดีสะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้นที่ร้อยละ 1.2 ต่อปี
และอัตราว่างงานในเดือนมกราคม 2563 อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.0

 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 30 มี.ค. 2563 เวลา : 16:12:34
19-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (19 เม.ย.67) ลบ 28.94 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,332.08 จุด

2. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (19 เม.ย.67) ลบ 25.09 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,335.93 จุด

3. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีแนวรับอยู่ที่ระดับ 2,385 เหรียญ และแนวต้านอยู่ที่ระดับ 2,425 เหรียญ

4. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองในทุกภาครวมทั้งกรุงเทพปริมณฑล 10% เว้นภาคใต้ ฝั่ง ตอ.20%

5. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (18 เม.ย.67) บวก 9.60 เหรียญ รับแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย

6. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (18 เม.ย.67) บวกแค่ 22.07 จุด เจ้าหน้าที่เฟดตบเท้าหนุนไม่ควรรีบลดดอกเบี้ย

7. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.75-37.05 บาท/ดอลลาร์

8. ตลาดหุ้นไทยเปิด (19 เม.ย.67) ลบ 20.39 จุดดัชนีอยู่ที่ 1,340.63 จุด

9. ทองเปิดตลาด (19 เม.ย. 67) พุ่งขึ้น 550 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 42,500 บาท

10. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (19 เม.ย.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 36.85 บาทต่อดอลลาร์

11. ประกาศ กปน.: ด่วนมาก!!! คืนวันนี้ 18 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนราษฎร์บูรณะ

12. ตลาดหุ้นปิด (18 เม.ย.67) ลบ 5.92 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.02 จุด

13. ตลาดหุ้นไทยปิดภาคเช้า (18 เม.ย.67) บวก 1.83 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,368.77 จุด

14. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองในทุกภาครวมทั้งกรุงเทพปริมณฑล 10% เว้นภาคใต้ ฝั่ง ตอ.ฝน 20%

15. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (17 เม.ย.67) ร่วง 19.40 เหรียญ กังวลเฟดชะลอลดดอกเบี้ย

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 5:53 pm