เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
EIC ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2563 เป็นหดตัว -7.3% จากเดิม -5.6% จากผลกระทบ COVID-19


EIC ประเมินเศรษฐกิจโลกปี 2563 อยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยและปรับประมาณการการหดตัวลงเป็น -4.0%YOY ต่ำสุดในรอบ 90 ปี โดยการฟื้นตัวในครึ่งปีหลังจะมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป (U-shaped recovery) ข้อมูลในช่วงต้นไตรมาสที่ 2 ชี้ว่า เศรษฐกิจหลักหลายประเทศมีการหดตัวมากกว่าคาด สะท้อนผลกระทบจากการปิดเมืองที่เข้มงวด ที่กระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในวงกว้างและรุนแรง ขณะที่ในช่วงครึ่งหลังของปี คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะมีแนวโน้มฟื้นตัว จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค และการใช้มาตรการทางการเงินและการคลังของรัฐบาลทั่วโลกเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวจะมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศยังอ่อนแอ

 
 
โดยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนจะยังถูกกระทบจากอัตราการว่างงานที่สูง และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่อยู่ในระดับต่ำ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนจะถูกกดดันจากยอดขายที่ซบเซา งบดุลที่เปราะบางมากขึ้น และความไม่แน่นอนที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่สูงขึ้นในหลายประเทศในระยะต่อไป

EIC ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2563 หดตัวมากกว่าที่คาดจาก -5.6% เป็น –7.3% จากผลกระทบของ COVID-19 โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยวและการลงทุนภาคเอกชน EIC ได้ปรับลดคาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2563 เหลือเพียง 9.8 ล้านคน (-75.3%YOY) จากเดิมที่คาดไว้ที่ 13.1 ล้านคน ตามนโยบายปิดการเดินทางเข้าออกประเทศของไทยที่ยาวนานขึ้น (ล่าสุดขยายเวลาถึงสิ้นเดือนมิถุนายน) แนวทางการเปิดการเดินทางระหว่างประเทศของประเทศต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มค่อยเป็นค่อยไป และเศรษฐกิจโลกที่หดตัวมากกว่าคาดซึ่งจะกระทบต่อรายได้ของนักท่องเที่ยว
 
 
ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้ม หดตัวมากขึ้น ตามแนวโน้มการบริโภคและการส่งออกที่ซบเซา และความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่ปรับลดลงมาก สำหรับการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มหดตัวสูงที่ -10.4% ใกล้เคียงกับที่คาดไว้จากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยและมาตรการปิดเมืองของหลายประเทศทั่วโลกที่ก่อให้เกิดปัญหา supply chain disruption (ทั้งนี้มูลค่าส่งออกในภาพรวมอาจหดตัวน้อยลงเทียบกับประมาณการ ครั้งก่อนที่ -12.9% จากการส่งออกทองคำที่ขยายตัวสูงขึ้นมาก อย่างไรก็ดี การส่งออกทองคำไม่มีผลสุทธิต่อ GDP เนื่องจาก จะถูกหักในส่วนสินค้าคงคลังด้วย) ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนหดตัวรุนแรงโดยเฉพาะในช่วงที่มีมาตรการปิดเมือง สะท้อนจากดัชนีการบริโภค (PCI) ในเดือนเมษายนที่หดตัวไปกว่า -15.1%YOY อย่างไรก็ดี ภายหลังการผ่อนคลายมาตรการปิดเมือง เครื่องชี้เร็วสะท้อนว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการเดินทางในประเทศเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว แต่ก็ยังอยู่ต่ำกว่าระดับก่อนวิกฤติพอสมควร

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่การฟื้นตัวของภาคธุรกิจต่าง ๆ จะมีความเร็วที่แตกต่างกัน ในภาพรวม EIC ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวในลักษณะ U shape โดย GDP จะกลับไปสู่ระดับของปี 2562 ซึ่งเป็นระดับเดิมก่อนเกิด COVID-19 ได้ในปี 2565  เป็นผลจากแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวและความเปราะบางทางการเงินที่สูงขึ้นของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ SME ตั้งแต่ก่อนเกิด COVID-19 รวมทั้งผลกระทบที่รุนแรงของ COVID-19 ต่อหลายภาคธุรกิจที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย 
 
 
photo : bookmundi
 
โดยการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวโดยเฉพาะในส่วนที่พึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติจะเป็นไปอย่างช้า ๆ จากความกังวลของนักท่องเที่ยวตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ และข้อจำกัดด้านมาตรการควบคุมโรค ซึ่งจะทำให้ธุรกิจ ที่เกี่ยวเนื่อง เช่น โรงแรม ร้านอาหาร นันทนาการ และการขนส่ง ได้รับผลกระทบมากและฟื้นตัวช้า ขณะที่ธุรกิจรถยนต์และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (ที่อยู่อาศัย) ซึ่งเผชิญกับการหดตัวของอุปสงค์จากต่างประเทศอยู่แล้ว จะถูกซ้ำเติมจากการลดลงของยอดขายในประเทศด้วยตามการจ้างงานและรายได้ของภาคครัวเรือนที่ลดลง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่อยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และการระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ส่งผลให้ฟื้นตัวช้าเช่นกัน ในทางตรงกันข้าม การใช้จ่ายในหมวดสินค้าและบริการที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร เครื่องดื่ม บริการทางการแพทย์ การสื่อสาร ซึ่งจะได้รับแรงสนับสนุนเสริมจากมาตรการโอนเงินช่วยเหลือและมาตรการพักหนี้ของภาครัฐจะฟื้นตัวได้เร็วกว่า
 
 
ด้านนโยบายการเงิน คาดว่า ธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.5% ตลอดทั้งปี และพร้อมใช้เครื่องมือต่าง ๆ รวมถึงมาตรการ Unconventional เพิ่มเติมหากมีความจำเป็น  ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มติดลบ และความเสี่ยงด้านการผิดนัดชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่สูงขึ้น ธปท. จะให้ความสำคัญต่อการลดต้นทุนทางการเงินและการเสริมสภาพคล่องให้กับภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ เพื่อประคับประคองฐานะทางการเงิน สนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้ 
 
และลดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงิน หากแนวโน้มเศรษฐกิจปรับแย่ลงกว่าคาดมาก ธปท. อาจลดดอกเบี้ยนโยบายได้เพิ่มเติม แต่ด้วย policy room ด้านดอกเบี้ยนโยบายที่มีน้อยลง จะทำให้ ธปท. ต้องพึ่งพาเครื่องมืออื่น ๆ รวมถึงมาตรการ Unconventional มากขึ้น เช่น การซื้อสินทรัพย์ทางการเงินเพื่อช่วยดูแลดอกเบี้ยในตลาดให้อยู่ในระดับต่ำ การต่ออายุหรือปรับเงื่อนไขเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของมาตรการความช่วยเหลือที่ได้ออกมาก่อนหน้า การลดค่าธรรมเนียม FIDF เพิ่มเติม เป็นต้น  
 
 
ในส่วนของค่าเงินบาท EIC คาดอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปี 2563 จะอยู่ในช่วง 31.5-32.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นทิศทางอ่อนค่า เนื่องจากไทยจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงมาก จากดุลบริการที่หายไปตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่หดตัวในระดับสูง ประกอบกับแนวโน้มที่เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ตามภาคการท่องเที่ยวและอุปสงค์ในประเทศ จะเป็นปัจจัยกดดันค่าเงินบาทในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ดี เงินบาทจะไม่อ่อนค่ามากนัก เนื่องจากเงินดอลลาร์สหรัฐจะไม่โน้มแข็งมากเหมือนในช่วงต้นไตรมาสที่ 2 ที่เกิดภาวะตื่นตระหนกในตลาดการเงินโลก เนื่องจากในปัจจุบันหลายประเทศสามารถควบคุมการแพร่ระบาด COVID ได้ดีและเริ่มทยอยเปิดเมืองทำให้ความกังวลของนักลงทุนต่อความเสี่ยงในตลาดการเงินลดลง นอกจากนั้น เงินทุนเคลื่อนย้ายที่ไหลออกจากตลาดการเงินไทยค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา ทำให้การไหลออกของเงินทุนในปริมาณมากในระยะต่อไปมีโอกาสน้อยลง

สำหรับความเสี่ยงในระยะข้างหน้าที่สำคัญ คือ โอกาสในการกลับมาระบาดอย่างรุนแรงของ COVID-19 ซึ่งอาจทำให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศทั่วโลกต้องหยุดชะงักอีกครั้ง นอกจากนี้ สงครามการค้าโลก ที่อาจรุนแรงขึ้นและกระทบต่อปริมาณการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะจากความขัดแย้งด้านการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน และยุโรป ขณะที่ความเสี่ยงด้านเครดิตที่อาจเพิ่มขึ้นทั้งในระดับประเทศและระดับธุรกิจที่มีภาระหนี้ต่อรายได้สูงขึ้นมาก อาจกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน นำไปสู่ความผันผวนของตลาดการเงินโลกได้ และสุดท้ายคือความเสี่ยงในประเทศด้านความเปราะบางทางการเงินของทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจของไทยที่อาจทำให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อเสถียรภาพภาคการเงิน รวมถึงความสามารถในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยโดยรวมในระยะต่อไป
 

โดย :  ดร.ยรรยง ไทยเจริญ
รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด Economic Intelligence Center
Economic Intelligence Center 
ธนาคารไทยพาณิชย์ (จำกัด) มหาชน
EIC Online: www.scbeic.com
Line : @scbeic
 

บันทึกโดย : วันที่ : 05 มิ.ย. 2563 เวลา : 11:54:59
19-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (19 เม.ย.67) ลบ 25.09 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,335.93 จุด

2. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีแนวรับอยู่ที่ระดับ 2,385 เหรียญ และแนวต้านอยู่ที่ระดับ 2,425 เหรียญ

3. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองในทุกภาครวมทั้งกรุงเทพปริมณฑล 10% เว้นภาคใต้ ฝั่ง ตอ.20%

4. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (18 เม.ย.67) บวก 9.60 เหรียญ รับแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย

5. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (18 เม.ย.67) บวกแค่ 22.07 จุด เจ้าหน้าที่เฟดตบเท้าหนุนไม่ควรรีบลดดอกเบี้ย

6. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.75-37.05 บาท/ดอลลาร์

7. ตลาดหุ้นไทยเปิด (19 เม.ย.67) ลบ 20.39 จุดดัชนีอยู่ที่ 1,340.63 จุด

8. ทองเปิดตลาด (19 เม.ย. 67) พุ่งขึ้น 550 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 42,500 บาท

9. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (19 เม.ย.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 36.85 บาทต่อดอลลาร์

10. ประกาศ กปน.: ด่วนมาก!!! คืนวันนี้ 18 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนราษฎร์บูรณะ

11. ตลาดหุ้นปิด (18 เม.ย.67) ลบ 5.92 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.02 จุด

12. ตลาดหุ้นไทยปิดภาคเช้า (18 เม.ย.67) บวก 1.83 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,368.77 จุด

13. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองในทุกภาครวมทั้งกรุงเทพปริมณฑล 10% เว้นภาคใต้ ฝั่ง ตอ.ฝน 20%

14. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (17 เม.ย.67) ร่วง 19.40 เหรียญ กังวลเฟดชะลอลดดอกเบี้ย

15. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (17 เม.ย.67) ลบ 45.66 จุด กังวลทิศทางดอกเบี้ยเฟด-ผิดหวังผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 2:13 pm