เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ศูนย์วิจัยกสิกร วิเคราะห์ ดัชนี KR-ECI เดือนส.ค.ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง ดัชนียังอยู่ใกล้ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์จากมาตรการควบคุมการระบาด


• ในเดือนส.ค.64 ครัวเรือนยังคงมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนต่อเนื่อง โดยดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) อยู่ที่ 33.0 ซึ่งยังคงเป็นระดับที่ต่ำกว่าในช่วงล็อกดาวน์ทั้งประเทศในปีก่อน ครัวเรือนส่วนมากมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่ไม่รวมภาระหนี้ ขณะที่ความกังวลด้านรายได้และการจ้างงานยังคงมีอยู่ อย่างไรก็ตามมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการและลูกจ้างใน 9 กิจการที่ได้รับผลกระทบและจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันที่เริ่มทรงตัวในช่วงปลายเดือนช่วยสนับสนุนให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยอยู่ที่ 35.5 จาก 33.8 ในเดือนก.ค. แต่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 

• ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้จัดทำผลสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ พบว่าครัวเรือนส่วนใหญ่มองมาตรการลดค่าน้ำค่าไฟเป็นโครงการที่เข้าถึงและช่วยเหลือในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้เป็นโครงการที่ครัวเรือนส่วนใหญ่ไม่รู้จักและมองว่าไม่สามารถบรรเทากระทบที่เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามมาตรการเหล่านี้ของภาครัฐออกมาในช่วงที่สถานการณ์ระบาดยังไม่รุนแรงและยังไม่มีการยกระดับการคุมเข้มมาตรการระบาด
 
• ในช่วงต้นเดือนก.ย. ภาครัฐได้ผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มการระบาดใน 29 จังหวัดสีแดงเข้ม อาจส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนเริ่มกลับมาได้บ้าง อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ติดเชื้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง อัตราการฉีดวัคซีนที่ยังอยู่ในระดับต่ำและกระจุกตัวอยู่ในบางพื้นที่ทำให้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 จะยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในระยะข้างหน้า ดังนั้นมาตรการเยียวยาอย่างเข้าถึงได้และตรงจุด รวมถึงการจัดหาและการเร่งฉีดวัคซีนยังคงมีจำเป็นต่อเนื่อง  
 
ระดับของดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงที่มีการล็อกดาวน์ทั่วประเทศในปีก่อนต่อเนื่อง 
 
เดือนส.ค. 2564 สถานการณ์การระบาดยังมีความน่ากังวล จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันและจำนวนผู้เสียชีวิตยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง มีการยกระดับมาตรการคุมเข้มการระบาดเพิ่มเติมโดยให้มีการล็อกดาวน์เพิ่มเติมเป็น 29 จังหวัดพื้นที่เสี่ยงตั้งแต่ช่วงต้นเดือนส.ค. 64 ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมเศรษฐกิจต่าง ๆ ภายในประเทศต่อเนื่องจากเดือนก่อน มาตรการที่เข้มงวดขึ้นและสถานการณ์ที่ยืดเยื้อกดดันดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในเดือนส.ค.64 ให้อยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องที่ 33.0 โดยครัวเรือนมีความกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของครัวเรือนที่ไม่รวมภาระหนี้ เนื่องจากครัวเรือนบางส่วนมีการเร่งซื้อสินค้ามากขึ้นในช่วงที่มีการล็อกดาวน์ รวมถึงมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในอนาคตจึงใช้จ่ายลดลงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นไปทิศทางเดียวกับเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน (PCI Index) ในเดือนก.ค. 64 ที่ชะลอตัวลง -8.1% YoY นอกจากนี้ครัวเรือนยังมีความกังวลเกี่ยวกับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีราคาสูงขึ้นสะท้อนจากระดับอัตราเงินเฟ้อในส่วนของไข่ และผลิตภัณฑ์นม (+3.82% YoY) รวมถึงเครื่องประกอบอาหารที่เพิ่มขึ้น (+3.99% YoY)
 
ขณะที่มุมมองเกี่ยวกับรายได้และการมีงานทำได้รับปัจจัยหนุนบางส่วนจากมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการและลูกจ้างผ่านระบบประกันสังคมของภาครัฐที่เริ่มมีการจ่ายเงินตั้งแต่ 4 ส.ค. แต่เมื่อพิจารณาองค์ประกอบในดัชนี สถานการณ์เกี่ยวกับการจ้างงานและรายได้ยังมีความน่ากังวล โดยผลสำรวจระบุว่าหน่วยงานหรือองค์กรที่ปรับลดค่าจ้างมีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนมิ.ย. 64 ตามสถานการณ์โควิด-19 ที่มีความน่ากังวลและมาตรการคุมเข้มการระบาดที่เข้มงวดขึ้นมาต่อเนื่อง บ่งชี้ว่าภาวะการจ้างงานยังมีแนวโน้มเปราะบาง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลต่อกำลังซื้อของครัวเรือนต่อเนื่อง ด้านดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 35.5 ปรับดีขึ้นเล็กน้อยซึ่งคาดว่าเกิดจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันที่เริ่มทรงตัวในช่วงปลายเดือนส.ค.ประกอบกับการคาดหวังว่าจะมีการคลายล็อกดาวน์ในช่วงเดือนก.ย. อย่างไรก็ตาม ดัชนียังคงอยู่ในระดับต่ำจากช่วงต้นปี บ่งชี้ว่าภาพรวมครัวเรือนยังคงมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะการครองชีพและการครองชีพของตนเองในอนาคต 
 
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นมาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงหลังของปีว่าเข้ามาช่วยเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง ผลสำรวจระบุว่า มาตรการลดค่าไฟฟ้า/น้ำประปา(ส.ค.-ก.ย.64) เป็นมาตรการที่เข้ามาช่วยเยียวยาผลกระทบได้บ้าง (63.8%) ซึ่งคาดว่ามีสาเหตุมาจากมาตรการดังกล่าวสามารถเข้าถึงครัวเรือนทุกกลุ่มโดยไม่ต้องมีเงื่อนไขหรือการลงทะเบียน รวมถึงเป็นภาระค่าใช้จ่ายประจำรายเดือนของทุกครัวเรือนที่ปัจจุบันบางส่วนเผชิญกับภาวะรายได้ที่ลดลง ขณะที่มาตรการที่ไม่ช่วยเลยและไม่เข้าร่วมคือมาตรการยิ่งใช้ยิ่งได้ (82.8%) เนื่องจากมาตรการดังกล่าวออกมาในช่วงที่สถานการณ์ระบาดยังไม่รุนแรงและยังไม่มีมาตรการคุมเข้มการระบาด  
 
แม้ในช่วงต้นเดือนก.ย. จะมีการคลายล็อกมาตรการคุมเข้มการระบาดบางส่วนแล้ว แต่ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพในระยะข้างหน้าของครัวเรือนยังมีความไม่แน่นอนสูง  ทั้งในส่วนของตลาดแรงงานที่ยังมีแนวโน้มเปราะบางจากภาวะการจ้างงานในภาคบริการ เช่น ภาคการท่องเที่ยวยังไม่สามารถกลับมาได้เต็มที่ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยของครัวเรือน นอกจากนี้สถานการณ์การระบาดที่ยังมีความเสี่ยง จำนวนผู้ติดเชื้อที่ยังอยู่ในระดับสูง อัตราการฉีดวัคซีนที่ยังอยู่ในระดับต่ำอาจทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังไม่สามารถกลับมาได้เต็มที่สะท้อนจากดัชนี google mobility index ( รายงานวันที่ 4 ก.ย. 64) ที่เป็นข้อมูลการเดินทางที่สามารถสะท้อนถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้บางส่วนบ่งชี้ว่า ในส่วนของร้านค้าปลีกและนันทนาการนั้น การเดินทางยังไม่ได้กลับมาเป็นบวก (-19% จากช่วงปกติ) อีกทั้งจะเห็นได้ว่าสถานการณ์ในต่างประเทศที่แม้มีผู้ได้รับการฉีดวัคซีนอยู่ในระดับสูงแล้ว แต่ยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้นความไม่แน่นอนจากโรคระบาดจะยังเป็นปัจจัยกดดันต่อภาคเศรษฐกิจต่อเนื่อง 
ปัจจุบันมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจจากภาครัฐที่ตรงจุด เข้าถึงได้ง่าย และครอบคลุมมีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามาบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นและช่วยประคับประคองการดำรงชีพของครัวเรือนควบคู่ไปกับการเร่งควบคุมสถานการณ์ เช่น การตรวจเชิงรุก และการจัดหา จัดสรร สร้างความเชื่อมั่นและแจกจ่ายวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ 
 
โดยสรุปแล้ว ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในระดับปัจจุบัน (ส.ค. 64) และ 3 เดือนข้างหน้ายังบ่งชี้ถึงความกังวลต่อการครองชีพของภาคครัวเรือน ภาครัฐควรมีมาตรการเยียวยาที่ตรงจุดและเข้าถึงง่ายพร้อมกับเร่งเข้าควบคุมสถานการณ์รวมถึงในเรื่องของวัคซีนเพื่อให้สถานการณ์การระบาดบรรเทาลง และเร่งสร้างความเชื่อมั่นต่อภาคเศรษฐกิจต่อเนื่อง 
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 10 ก.ย. 2564 เวลา : 17:22:14
20-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. พรุ่งนี้ (20 เม.ย.) ราคาน้ำมันดีเซล ปรับขึ้น 50 สต./ลิตร ตามมติ กบน. มีผลเที่ยงคืนนี้

2. ตลาดหุ้นปิด (19 เม.ย.67) ลบ 28.94 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,332.08 จุด

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (19 เม.ย.67) ลบ 25.09 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,335.93 จุด

4. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีแนวรับอยู่ที่ระดับ 2,385 เหรียญ และแนวต้านอยู่ที่ระดับ 2,425 เหรียญ

5. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองในทุกภาครวมทั้งกรุงเทพปริมณฑล 10% เว้นภาคใต้ ฝั่ง ตอ.20%

6. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (18 เม.ย.67) บวก 9.60 เหรียญ รับแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย

7. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (18 เม.ย.67) บวกแค่ 22.07 จุด เจ้าหน้าที่เฟดตบเท้าหนุนไม่ควรรีบลดดอกเบี้ย

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.75-37.05 บาท/ดอลลาร์

9. ตลาดหุ้นไทยเปิด (19 เม.ย.67) ลบ 20.39 จุดดัชนีอยู่ที่ 1,340.63 จุด

10. ทองเปิดตลาด (19 เม.ย. 67) พุ่งขึ้น 550 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 42,500 บาท

11. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (19 เม.ย.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 36.85 บาทต่อดอลลาร์

12. ประกาศ กปน.: ด่วนมาก!!! คืนวันนี้ 18 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนราษฎร์บูรณะ

13. ตลาดหุ้นปิด (18 เม.ย.67) ลบ 5.92 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.02 จุด

14. ตลาดหุ้นไทยปิดภาคเช้า (18 เม.ย.67) บวก 1.83 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,368.77 จุด

15. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองในทุกภาครวมทั้งกรุงเทพปริมณฑล 10% เว้นภาคใต้ ฝั่ง ตอ.ฝน 20%

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 12:57 pm