เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ลงทุนอย่างไรเมื่อคนอื่นคิดว่าจะเกิด Recession


ตลาดผันผวนหนักตาม Fed และจีน
ตลาดทุนทั่วโลกผันผวนหนักในช่วงปลายเดือนเมษายนและมีโอกาสลากยาวต่อในเดือนพฤษภาคมที่มักมีความเชื่อว่านักลงทุนจะขายหุ้นทำกำไรในเดือนนี้ ตามวลี Sell in May


ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย บอกว่า แต่ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดมีความกังวลจากสองปัจจัยสำคัญ นั่นคือ Fed และจีน หากนักลงทุนเข้าใจพัฒนาการต่อไปของสองปัจจัยนี้ได้ ก็น่าจะสามารถวางแผนการลงทุนต่อได้
 
ปัจจัยแรก ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในรอบ 40 ปีในสหรัฐฯ โดยการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) เมื่อวันที่ 3 – 4 พฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นไปตามคาด Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% พร้อมเตรียมปรับลดขนาดงบดุลหรือดูดกระแสเงินกลับในเดือนมิถุนายน และอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแรงอีกครั้งในเดือนเดียวกันเพื่อหวังลดความร้อนแรงของอัตราเงินเฟ้อให้ได้ในช่วงไตรมาส 2 นี้
 
การเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ประกอบกับปัญหาเงินเฟ้อได้ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว 10 ปีของสหรัฐฯ พุ่งขึ้นต่อเนื่อง และทำให้นักลงทุนกังวลต่อต้นทุนทางการเงินและสภาพคล่องที่ลดลง อีกทั้งตลาดพันธบัตรมีภาวะ Inverted Yield Curve ที่อัตราผลตอบแทนระยะสั้นสูงกว่าอัตราผลตอบแทนระยะยาวในช่วงก่อนหน้าที่เป็นสัญญาณการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือ Recession

ซึ่งดร.อมรเทพ มองว่าโอกาสเกิดมีไม่มาก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันเสี่ยงโตช้าลงแต่ไม่ใช่ภาวะถดถอย ส่วนการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed อาจทำให้การบริโภคและการลงทุนชะลอไปบ้าง โดยเฉพาะตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ซื้ออาจชะลอการตัดสินใจตามต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และอาจมีผลให้ผู้กู้รายเดิมมีการผิดนัดชำระหนี้ จนลามสู่ปัญหาภาคการเงิน

เช่นในอดีตช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเร่งขึ้นเร็ว แต่รอบนี้การจ้างงานของสหรัฐฯ ยังดี เศรษฐกิจที่คาดว่าจะขยายตัวได้ราว 3% ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตและสูงกว่าศักยภาพของเศรษฐกิจ แต่อาจชะลอตัวในปีหน้า ซึ่งหาก Fed เห็นสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในอนาคตประกอบกับสามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้ Fed ก็อาจส่งสัญญาณที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไปในช่วงไตรมาส 3 ซึ่งนักลงทุนน่าจะคลายความกังวลได้
 
ปัจจัยที่สอง คือ จีนเร่งล็อกดาวน์ในหลายเมือง ทั้งเซินเจิ้น เซี่ยงไฮ้ และปักกิ่ง ซึ่งล้วนเป็นศูนย์กลางภาคการผลิต การเงิน และการบริโภคของจีน และเสี่ยงทำให้เศรษฐกิจจีนโตช้าลงในปีนี้

แต่ดร.อมรเทพ เชื่อว่าจีนน่าจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในประเทศได้แม้อาจต้องใช้การล็อกดาวน์อีกหลายเมืองหรือมีระยะเวลาที่นานขึ้น แต่เชื่อว่าจีนจะออกมาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจทั้งมาตรการทางการเงินและการคลังเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ พร้อมผ่อนคลายกฎระเบียบและความเข้มงวดในภาคบริการและด้านไอทีที่ส่งผลให้ตลาดหุ้นจีนผันผวนในช่วงก่อนหน้า และน่าจะทำให้ตลาดหุ้นจีนฟื้นได้ในช่วงไตรมาส 3 นี้
 
แบ่งหลายไม้ กระจายหลายสินทรัพย์
ในช่วงเดือนพฤษภาคมนักลงทุนอาจกังวลปัญหาตลาดทุนที่ผันผวนเช่นนี้ อาจใช้กลยุทธ์ Wait and See หรือรอความชัดเจนของตลาดก่อนเข้าไปลงทุน และพักเงินในตราสารหนี้ระยะสั้น แม้จะได้ผลตอบแทนต่ำแต่รักษาเงินต้นได้ดี เมื่อตลาดทุนปรับตัวถึงจุดหนึ่งที่นักลงทุนคลายความกังวลที่ Fed เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ย นักลงทุนจะกลับมามองหาหุ้นหรือกองทุนรวมที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีความผันผวนต่ำ ไม่เน้นการเติบโตแบบหวือหวา หรือในกลุ่ม Tech ขนาดเล็กที่ยังไม่มีผลกำไรและเสี่ยงต่อดอกเบี้ยขาขึ้น

ซึ่งนักลงทุนยังสามารถลงทุนในหุ้นหรือกองทุนรวมในฝั่งสหรัฐฯ ได้เมื่อมีความชัดเจนนี้ และอาจไม่ต้องรอจนถึง Fed ขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน ก็สามารถทำได้ แต่น่าจะแบ่งการลงทุนในหลาย ๆ ครั้ง ครั้งละไม่มาก และกระจายไปในสินทรัพย์ที่หลากหลาย เช่น กองทุนรวมหุ้น ตราสารหนี้ระยะสั้น อสังหาริมทรัพย์ หรือกองรีท และทองคำ

อีกทั้งมีการกระจายการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นไปยังหลากหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น จีน และเอเชียแปซิฟิกอื่น ๆ โดยอาจเน้นในตลาดพัฒนาแล้วมากกว่าตลาดกำลังพัฒนาที่อาจได้รับผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงินและเงินไหลออก หรือจะลงทุนในธีมพลังงานทางเลือก ธีมสิ่งแวดล้อมหรือ ESG หรือ ด้านสุขภาพหรือเฮลท์แคร์ ก็สามารถทำได้ในช่วงนี้เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตลงทุน
 
สรุป ตลาด Panic ไม่ใช่ Recession
ดร.อมรเทพ มองว่าในเดือนพฤษภาคมนี้ ตลาดทุนยังอาจผันผวนได้ต่อเนื่อง แต่ยังไม่ใช่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย เพียงแต่เป็น Market Correction หรือการปรับฐานครั้งใหญ่ตามความตกใจ หรือ Panic ของนักลงทุน

ซึ่งน่าจะเห็นโอกาสการฟื้นตัวของตลาดได้ในไม่ช้าและน่าจะเป็นโอกาสสะสมกองทุนรวมที่มีปัจจัยพื้นฐานดี รวมทั้งเป็นโอกาสของนักลงทุนที่ยังไม่ได้ลงทุนในกองทุนรวม และควรทำ Asset Allocation หรือการกระจายการลงทุนไปยังหลากหลายสินทรัพย์ตามความเสี่ยงที่นักลงทุนยอมรับได้ ซึ่งมีหลากหลายตามที่กล่าวไปแล้วในเบื้องต้น และน่าจะสามารถรับมือในภาวะผันผวนได้มากกว่าการลงทุนในกองทุนใดกองทุนหนึ่งเพียงอย่างเดียว หรือสินทรัพย์ประเภทเดียว

รวมทั้งมองโอกาสการฟื้นตัวของจีนและตลาดเกิดใหม่ในช่วงไตรมาส 3 ตามการผ่อนคลายการเดินทาง และมาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจของจีน อย่างไรก็ดี ภาวะเงินเฟ้อที่แม้จะควบคุมได้แต่ก็ยังอยู่ในระดับสูงอาจมีผลให้เศรษฐกิจโลกเติบโตช้าลงกว่าที่คาดไว้ในช่วงต้นปี แต่ก็ยังไม่นำไปสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจในปีหน้าหากธนาคารกลางสามารถสื่อสารในการควบคุมเงินเฟ้อและสามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยไม่ส่งผลให้เศรษฐกิจชะงักงัน

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 11 พ.ค. 2565 เวลา : 10:18:19
19-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. พรุ่งนี้ (20 เม.ย.) ราคาน้ำมันดีเซล ปรับขึ้น 50 สต./ลิตร ตามมติ กบน. มีผลเที่ยงคืนนี้

2. ตลาดหุ้นปิด (19 เม.ย.67) ลบ 28.94 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,332.08 จุด

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (19 เม.ย.67) ลบ 25.09 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,335.93 จุด

4. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีแนวรับอยู่ที่ระดับ 2,385 เหรียญ และแนวต้านอยู่ที่ระดับ 2,425 เหรียญ

5. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองในทุกภาครวมทั้งกรุงเทพปริมณฑล 10% เว้นภาคใต้ ฝั่ง ตอ.20%

6. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (18 เม.ย.67) บวก 9.60 เหรียญ รับแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย

7. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (18 เม.ย.67) บวกแค่ 22.07 จุด เจ้าหน้าที่เฟดตบเท้าหนุนไม่ควรรีบลดดอกเบี้ย

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.75-37.05 บาท/ดอลลาร์

9. ตลาดหุ้นไทยเปิด (19 เม.ย.67) ลบ 20.39 จุดดัชนีอยู่ที่ 1,340.63 จุด

10. ทองเปิดตลาด (19 เม.ย. 67) พุ่งขึ้น 550 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 42,500 บาท

11. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (19 เม.ย.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 36.85 บาทต่อดอลลาร์

12. ประกาศ กปน.: ด่วนมาก!!! คืนวันนี้ 18 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนราษฎร์บูรณะ

13. ตลาดหุ้นปิด (18 เม.ย.67) ลบ 5.92 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.02 จุด

14. ตลาดหุ้นไทยปิดภาคเช้า (18 เม.ย.67) บวก 1.83 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,368.77 จุด

15. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองในทุกภาครวมทั้งกรุงเทพปริมณฑล 10% เว้นภาคใต้ ฝั่ง ตอ.ฝน 20%

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 11:25 pm