เอสเอ็มอี
ทำความเข้าใจศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็ก ในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ผ่านการชี้วัดทักษะด้านดิจิทัล และระดับการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล


ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลเหมือนเหรียญสองด้าน ในทางหนึ่งสามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำที่ผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยไม่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมากในการเริ่มต้นธุรกิจและนำมาสู่ความทั่วถึงของการเป็นผู้ประกอบการ (inclusive entrepreneurship) แต่ในอีกทางหนึ่งก็ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำเพิ่มเติมจากการมีระดับทักษะด้านดิจิทัลที่แตกต่างกัน (digital divide) ของผู้ประกอบธุรกิจบางราย จนทำให้ไม่สามารถรักษาความสามารถการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลได้และนำมาสู่ช่องว่างของความมั่งคั่ง (wealth gap) ในที่สุด

 
 
โครงการวิจัยนี้มุ่งเป้าที่จะสร้างดัชนีชี้วัดทักษะความรู้ด้านดิจิทัลของผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็ก (SME digital literacy) และดัชนีชี้วัดระดับการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล (SME digital transformation index) เพื่อทดสอบสมมุติฐานสำคัญว่าระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัลจะมีความเชื่อมโยงกับระดับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลหรือไม่ และการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลในระดับองค์กร (digitalization) จะสามารถนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน การเติบโต และการทำกำไรได้มากน้อยเพียงใด
 
โครงการวิจัยนี้พบหลักฐานสำคัญว่าผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กในไทยส่วนใหญ่มีระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัลต่ำโดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจภาคการผลิต และการส่งเสริมทักษะความรู้ด้านดิจิทัลเป็นนโยบายที่สำคัญที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อระดับการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลของธุรกิจจนนำมาสู่ศักยภาพการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น 
 
ดังนั้นภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมทักษะความรู้ด้านดิจิทัลที่ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบสำคัญ  เริ่มต้นจากทักษะความรู้พื้นฐานในการประกอบอาชีพ (cognitive skills และ soft skills) ไปจนถึงทักษะทางเทคนิค (digital skills) และทักษะการบูรณาการ (digital business strategy และ cybersecurity and data protection)
รูป 1 กรอบแนวคิดการชี้วัด SME digital literacy ที่เสนอโดยผู้วิจัย
 
การมีระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัลจะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถยกระดับการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล ซึ่งผู้วิจัยได้เสนอดัชนีชี้วัดระดับการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล 3 ระดับได้แก่ 
 
1) ระดับการประยุกต์ใช้ดิจิทัล (digitization) เช่น การใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ดิจิทัลในการประกอบธุรกิจ
 
2) ระดับการผนวกรวมดิจิทัลในการประกอบธุรกิจ (digitalization) เช่น การเพิ่มช่องทางขายด้านดิจิทัล และใช้ซอฟท์แวร์เฉพาะด้านเพื่อการประกอบธุรกิจ
 
3) ระดับการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลแบบองค์รวม (digital transformation) เช่น การวิเคราะห์ฐานข้อมูลดิจิทัล และการออกแบบกลยุทธ์ธุรกิจดิจิทัล
 
ซึ่งการเปลี่ยนผ่านทั้ง 3 ระดับนี้จะนำไปสู่การเป็นผู้ประกอบการที่พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
 
รูป 2 กรอบแนวคิดการชี้วัด SME digital transformation index ที่เสนอโดยผู้วิจัย
 

จากการสำรวจผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กจำนวน 2,014 กลุ่มตัวอย่าง ครอบคลุมทุกพื้นที่ในไทย และครอบคลุม 4 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ 1) การขายปลีกและ/หรือขายส่ง 2) การผลิต 3) บริการอาหารและเครื่องดื่ม และ 4) ผู้ประกอบอาชีพอิสระรายใหม่ (gig workers) พบประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
 
• ผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กในไทยมีระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัลที่ค่อนข้างต่ำ สะท้อนจากสัดส่วนร้อยละ 40 ของกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มมือใหม่ (digital infant) ที่มีระดับทักษะความรู้แบบลองผิดลองถูก และยังไม่สามารถใช้ทักษะดังกล่าวได้ในระดับพื้นฐาน
 
• กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจที่มีทักษะพื้นฐานด้านดิจิทัลสูง และสามารถบริหารความเสี่ยงด้านไซเบอร์ได้เป็นอย่างดี (digital expert) กระจุกตัวอยู่ที่บางกลุ่มเท่านั้น โดยจะมีลักษณะเด่นเป็นกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก (คนทำงาน 11-100 คน) หรือเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระใหม่ และเจ้าของกิจการจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไปเท่านั้น
 
• ระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัลมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับระดับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยระดับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่สูง สามารถสร้างความมั่นใจว่าผู้ประกอบธุรกิจจะสามารถสร้างรายได้จากการประกอบธุรกิจที่สูงตามไปด้วย มีการเติบโตที่สูงกว่าคู่แข่ง มีอัตราการทำกำไรที่สูงกว่าคู่แข่ง และมีเป้าหมายการเติบโตที่สูงมากกว่า 2 เท่าในอีก 5 ปีข้างหน้า
 
• ผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กในไทยที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสูงอยู่แล้ว ยังมีความพยายามที่จะหาแนวทางประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มเติมในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 เพื่อให้ธุรกิจได้รับประโยชน์จากวิกฤติดังกล่าวให้มากที่สุด 
 
 
ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัล (digital divide) จนนำมาสู่ช่องว่างของความมั่งคั่ง (wealth gap) ที่สูงมากขึ้นในอนาคต ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมทักษะความรู้ด้านดิจิทัล และการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลของผู้ประกอบการดังนี้
 
1) การส่งเสริมทักษะไม่ควรทำแบบเหมารวม แต่ควรมีโครงการเฉพาะสำหรับแต่ละกลุ่มผู้ประกอบการ เนื่องจากผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กในไทยมีความหลากหลายของระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัล เช่น กลุ่ม digital expert ควรมุ่งเน้นให้สามารถบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างกลยุทธ์ธุรกิจ และความปลอดภัยทางไซเบอร์ ขณะที่กลุ่ม digital infant ควรส่งเสริมเฉพาะความรู้พื้นฐานด้านการประกอบธุรกิจและการใช้อินเทอร์เน็ตและซอฟท์แวร์พื้นฐานในการติดต่อสื่อสารก่อน
 
2) การส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลควรทำอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ โดยควรเริ่มต้นจากการมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีความครอบคลุม มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลที่เหมาะสมในระดับราคาที่ย่อมเยา ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบธุรกิจในกลุ่มล้าหลังด้านดิจิทัล (digital laggards) สามารถเริ่มเข้าสู่ธุรกิจดิจิทัลได้ หลังจากนั้นควรมุ่งเป้าไปที่การส่งเสริมการใช้ซอฟท์แวร์พื้นฐานในการประกอบธุรกิจเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจกลายเป็นกลุ่มผู้ตามด้านดิจิทัล (digital followers) แล้วจึงส่งเสริมซอฟท์แวร์เฉพาะทางในการประกอบธุรกิจจนเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่เรียกว่ากลุ่มประยุกต์ใช้ดิจิทัล (digital adopters) และสุดท้ายคือการส่งเสริมให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลและสร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อการวิเคราะห์ต่อยอดทางธุรกิจ จนทำให้เป็นผู้นำด้านดิจิทัล (digital front-runners) ในที่สุด
 
3) การประยุกต์ใช้ดิจิทัลต้องมุ่งเป้าที่การเพิ่มยอดขายเป็นลำดับแรก เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจยอมรับและมีความมั่นใจในการประยุกต์ใช้ดิจิทัล แล้วจึงค่อยส่งเสริมการประยุกต์ใช้ดิจิทัลเพื่อลดต้นทุน เพิ่มอัตราการทำกำไร และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เงินทุน

บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 12 พ.ค. 2565 เวลา : 19:28:49
20-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. พรุ่งนี้ (20 เม.ย.) ราคาน้ำมันดีเซล ปรับขึ้น 50 สต./ลิตร ตามมติ กบน. มีผลเที่ยงคืนนี้

2. ตลาดหุ้นปิด (19 เม.ย.67) ลบ 28.94 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,332.08 จุด

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (19 เม.ย.67) ลบ 25.09 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,335.93 จุด

4. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีแนวรับอยู่ที่ระดับ 2,385 เหรียญ และแนวต้านอยู่ที่ระดับ 2,425 เหรียญ

5. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองในทุกภาครวมทั้งกรุงเทพปริมณฑล 10% เว้นภาคใต้ ฝั่ง ตอ.20%

6. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (18 เม.ย.67) บวก 9.60 เหรียญ รับแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย

7. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (18 เม.ย.67) บวกแค่ 22.07 จุด เจ้าหน้าที่เฟดตบเท้าหนุนไม่ควรรีบลดดอกเบี้ย

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.75-37.05 บาท/ดอลลาร์

9. ตลาดหุ้นไทยเปิด (19 เม.ย.67) ลบ 20.39 จุดดัชนีอยู่ที่ 1,340.63 จุด

10. ทองเปิดตลาด (19 เม.ย. 67) พุ่งขึ้น 550 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 42,500 บาท

11. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (19 เม.ย.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 36.85 บาทต่อดอลลาร์

12. ประกาศ กปน.: ด่วนมาก!!! คืนวันนี้ 18 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนราษฎร์บูรณะ

13. ตลาดหุ้นปิด (18 เม.ย.67) ลบ 5.92 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.02 จุด

14. ตลาดหุ้นไทยปิดภาคเช้า (18 เม.ย.67) บวก 1.83 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,368.77 จุด

15. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองในทุกภาครวมทั้งกรุงเทพปริมณฑล 10% เว้นภาคใต้ ฝั่ง ตอ.ฝน 20%

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 8:52 pm