เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ไทยออยล์วิเคราะห์ ราคาน้ำมันดิบทรงตัว หลังตลาดจับตาการข้อสรุปมาตรการคว่ำบาตรการนำเข้าพลังงานรัสเซีย ของสหภาพยุโรป


ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 108-118 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 110-120 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
 
 
 
แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (16-20 พ.ค. 65) 
 
ราคาน้ำมันดิบทรงตัว หลังตลาดจับตาความเคลื่อนไหวของมาตรการคว่ำบาตรการนำเข้าพลังงานรัสเซีย ของสหภาพยุโรป ที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ ทั้งนี้เพราะยังมีประเทศสมาชิกที่ยังไม่เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว เนื่องจากกังวลผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น และการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้ยังคงถูกกดดันจากการบังคับใช้มาตรการล็อคดาวน์อย่างต่อเนื่องในจีน หลังจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 
 
ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:
 
สหภาพยุโรปยังคงไม่สามารถหาข้อสรุปเรื่องการบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันรัสเซียได้ เนื่องจากจำเป็นต้องได้รับมติเอกฉันท์จากสมาชิกทั้งหมด 27 ประเทศ และยังมีประเทศสมาชิกที่ไม่ยอมรับการคว่ำบาตรนี้ เช่น ฮังการี เพราะต้องพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ฮังการีเสนอว่าหากมีการสนับสนุนด้านเงินทุน เพื่อช่วยให้ฮังการีลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย ฮังการีอาจจะพิจารณาข้อเสนอการคว่ำบาตรดังกล่าว 
 
หลังการประชุม G7 ในวันที่ 8 พ.ค. ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นประกาศที่จะลดการนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย เมื่อถึงเวลาและสถานการณ์ที่เหมาะสม เพื่อให้ไม่ส่งผลกระทบต่ออุปทานพลังงานภายในประเทศและราคาพลังงาน ล่าสุดโรงกลั่นน้ำมัน ENEOS และ Idemitsu Kosan เลื่อนการลงนามสัญญาซื้อน้ำมันจากรัสเซีย โดยญี่ปุ่นนำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซียราว 4% และจากตะวันออกกลางราว 92% 
 
นักวิเคราะห์คาดราคาน้ำมันเบรนท์มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 2/65 หลังตลาดยังอยู่ในภาวะตึงตัวจากอุปทานน้ำมันดิบรัสเซียมีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตร ประกอบการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ หลังหลายประเทศคลายมาตรการล็อคดาวน์ โดย Bank of America คาดว่าราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวเพิ่มราว 10 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากไตรมาส 1/65 แตะระดับ 110 เหรียญสหรัฐฯ ในไตรมาส 2/65 และ JP Morgan ที่คาดว่าราคาจะแตะระดับ 114 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในไตรมาส 2/65
 
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติรัสเซียกลับมีแผนจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือน พ.ค. หลังมีผู้ซื้อหลายรายสนใจ เนื่องจากมีราคาต่ำกว่าน้ำมันชนิดอื่น โดยปริมาณการผลิตรัสเซียในช่วง 1-3 พ.ค. ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 2% เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย. แตะระดับ 1.402 ล้านตันต่อวัน หรือราว 10.28 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกจากนั้นรัสเซียกำลังพิจารณาขยายท่าส่งออก และกำลังการขนส่งผ่านท่อไปยังตะวันออกไกล เพื่อรองรับความต้องการที่อาจเพิ่มขึ้นหลังคลายล๊อคดาวน์ 
 
สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดในจีนยังคงน่ากังวล หลังบังคับใช้มาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดยิ่งขึ้นโดยเฉพาะที่เซี่ยงไฮ้ ภายใต้นโยบาย Zero Covid ส่งผลให้ธุรกิจปิดทำการและไร้นักท่องเที่ยว ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันในจีน ซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันมากที่สุดในโลก มีแนวโน้มอ่อนตัวลง กดดันราคาน้ำมันดิบ 
 
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) คาดการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปีนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปีก่อนหน้า แตะระดับเฉลี่ยที่ 11.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน และคาดว่าการผลิตจะกลับสู่ระดับก่อนสถานการณ์โควิด-19 ที่ 12.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ได้ในไตรมาส 4/65 หลังราคายืนตัวในระดับสูงต่อเนื่อง จูงใจในผู้ผลิตเพิ่มปริมาณการผลิตและการลงทุน 
 
รายงานสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ หรือ EIA เดือน พ.ค. ปรับลดความต้องการใช้น้ำมันโลกปี 65 ลง 0.19 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับรายงานเดือน เม.ย. มาอยู่ที่ 99.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยความต้องการใช้ถูกกดดันอย่างมากในไตรมาส 1 และ 2 เนื่องจากการบังคับใช้มาตรการล็อคดาวน์อย่างต่อเนื่องของจีน 
 
เศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จีดีพีกลุ่มยูโรโซนไตรมาส 1/65 ตลาดคาดว่าจะปรับลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/64 การตัดสินใจด้านอัตราดอกเบี้ยธนาคารจีน ปริมาณการค้าปลีกจีนเดือน เม.ย. โดยมีแนวโน้มลดลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า 

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (9 – 13 พ.ค. 65)  
 
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้น 7.40 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 110.49 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เช่นเดียวกันกับราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ปรับเพิ่มขึ้น 5.61 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 111.55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์ เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 106.55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลัง EIA รายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 6 พ.ค.65 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 8.5 ล้านบาร์เรล สวนทางกับนักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะปรับลดลง และสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ยังคงระบาดหนักในหลายเมืองใหญ่ของจีน ส่งผลให้จีนยังขยายการล็อกดาวน์และใช้มาตรการเข้มงวดเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด 
 

LastUpdate 16/05/2565 10:52:46 โดย : Admin
25-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (25 เม.ย.67) บวก 3.17 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,364.27 จุด

2. ประกาศ กปน.: 29 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนบ้านบางไผ่-บ้านหนองเพรางาย

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (25 เม.ย.67) บวก 1.72 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,362.82 จุด

4. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำยังคงทรงตัวในกรอบเช่นเดิมระหว่าง 2,290-2,330 เหรียญ

5. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (24 เม.ย.67) ลบ 42.77 จุด บอนด์ยีลด์พุ่งฉุดตลาด บดบังผลประกอบการ บจ.แกร่ง

6. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (24 เม.ย.67) ร่วง 3.70 เหรียญ นักลงทุนคลายกังวลความตึงเครียดในตะวันออกกลาง

7. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองในภาคเหนือ-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่งตต. 20% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคอีสาน-ภาคใต้ ฝั่ง ตอ. 10%

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 37.00-37.25 บาท/ดอลลาร์

9. ทองเปิดตลาด (25 เม.ย. 67) ปรับขึ้น 200 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 41,300 บาท

10. ค่าเงินบาทเปิดวันนึ้ (25 เม.ย.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 37.08 บาทต่อดอลลาร์

11. ตลาดหุ้นไทยเปิด (25 เม.ย.67) ลบ 2.13 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,358.97 จุด

12. ตลาดหุ้นปิด (24 เม.ย.67) บวก 3.64 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.10 จุด

13. ประกาศ กปน.: 27 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (24 เม.ย.67) บวก 3.44 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,360.90 จุด

15. MTS Gold คาดว่าจะมีกรอบแนวรับที่ 2,260 เหรียญ และแนวต้านที่ 2,335 เหรียญ

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 25, 2024, 9:12 pm