เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
Scoop :


 

 

สภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นสูง จากผลกระทบของสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ลุกลามไปยังทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ที่ล่าสุดได้ดันตัวเลขเงินเฟ้อขึ้นสูงที่สุดในรอบ 13 ปี ทำให้ในตอนนี้เราได้เห็นราคาของ Commodity หรือสินค้าโภคภัณฑ์ รวมไปถึงสินค้าอุปโภคบริโภที่ต่างมีการปรับราคาที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หรือจะเป็นราคาในส่วนของพลังงานอย่างก๊าซหุงต้มหรือน้ำมันที่มีการปรับสูงขึ้นเช่นกัน ดังที่เราได้เห็นว่าล่าสุด กว่า 27 บริษัทที่เป็นรถร่วม บขส. พร้อมใจกันลดเที่ยววิ่งรถโดยสารสาธารณะ อีกทั้งจะยังมีการปรับขึ้นค่าโดยสารรถประจำทางอีก 5 สตางค์ต่อกิโลเมตร เนื่องจากผลกระทบของราคาน้ำมัน


ยิ่งไปกว่านั้น การตรึงราคาน้ำมันดีเซล น้ำมันที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมและกับภาคขนส่ง ก็ไม่สามารถยื้อได้อยู่จนราคาทะลุไปที่ 35 บาทต่อลิตร และไม่รู้ว่าเพดานราคาจะขยับขึ้นไปอีกเท่าไหร่ในอนาคต จากแนวโน้มที่ตัวเลขเงินเฟ้อที่จะมีแต่ขยับขึ้นสูงเรื่อยๆ ประกอบกับการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เล็งขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งในเดือนสิงหาคมและเดือนพฤศจิกายน 2565 เพื่อหวังสกัดเงินเฟ้อ ที่อาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยอาจเกิดการชะงักตัวลง จากปัญหาการชำระหนี้ที่มีเค้าลางว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งถ้าหากว่าเรายังใช้ชีวิตแบบเดิม มีพฤติกรรมการใช้จ่ายแบบแต่ก่อน เพราะยังคุ้นชินกับสภาพเศรษฐกิจที่ยังดีอยู่ ก็อาจเดินไปเข้าสู่ปัญหาทางด้านการเงินอย่างไม่รู้ตัวได้ ในบทความนี้ "AC News" จึงอยากขอแนะนำ 5 วิธีการรับมือกับเงินเฟ้อและการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยที่ใกล้เข้ามา เพื่อรักษาความมั่งคั่งให้กับตัวเอง ดังนี้

1.รักษากระแสเงินสดของตัวเอง

ในตอนนี้ ควรจัดหาเงินสด หรือทรัพย์สินที่สามารถเอาออกมาใช้ได้ในเวลาที่ต้องการ ในจำนวนที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอย่างน้อย 6 เดือน สะสมเอาไว้ เช่น หากคำนวนแล้วว่าปกติมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่เดือนละ 30,000 บาท ก็ควรจะมีเงินเก็บสะสมไว้ไม่ต่ำกว่า 180,000 บาท เพื่อเป็นการประกันกระแสเงินสดของตัวเองหากมีเรื่องฉุกเฉินหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันที่จำเป็นต้องใช้เงิน เราก็จะมีเงินสำรองตรงส่วนนี้เอาออกมาใช้ก่อนโดยไม่ต้องหยิบยืมใคร หรือไปกู้ธนาคารที่มีการเก็บอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระการใช้หนี้ให้กับเรา ยิ่งถ้าเรารับภาระหนี้ไม่ไหว ไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้ได้ทัน ก็จะก่อให้เกิด NPL เป็นหนี้เสียที่ทำให้เครดิตของเราไม่ดี เสี่ยงต่อการขอสินเชื่อไม่ผ่านในอนาคต

2.วางแผนการใช้เงินอย่างรอบคอบ

ในช่วงภาวะเงินเฟ้อที่ Cost of Living สูงขึ้นไปหมด ตั้งแต่อาหารการกิน ค่าเดินทาง ไปจนถึงอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นสำหรับการกู้ เราควรวางแผนการใช้เงินให้รอบคอบและรัดกุม เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายให้มีสัดส่วนที่น้อยกว่ารายได้ที่ได้รับ โดยการจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย เพื่อ Monitor พฤติกรรมการใช้เงินของตัวเองแบบ Real Time ซึ่งจะช่วยให้เราเห็นภาพใหญ่ของทิศทางการใช้เงินอย่างชัดเจน และสามารถคำนวณและควบคุมการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้ สมมติเราตระหนักจากการจดบันทึกว่า มีการเข้าร้านสะดวกซื้ออยู่บ่อยครั้ง และมักซื้อของมากเกินความจำเป็น ก็อาจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปเลือกซื้อของเก็บ Stock ไว้ที่บ้านที่เดียวจากทาง Supermarket แทน เพื่อลดการเข้าร้านสะดวกซื้อ ที่เราอาจหยิบของล่อตาล่อใจเพิ่มจากสิ่งที่ต้องการ อันทำให้มีรายจ่ายที่พอกพูนเพิ่มขึ้น เป็นต้น

3.ระวังเรื่องของการเป็น Membership

การสมัครบริการรายเดือนที่มีการจ่ายแบบตัดผ่านบัตรเดบิต/บัตรเครดิตโดยอัตโนมัติ เช่น การสมัครบริการทีวีสตรีมมิ่ง การสมัครเพื่อเข้าถึงเครื่องมือในการปรับแต่งภาพ งาน Artwork หรือการสมัครเพื่อฟังเพลง และ Podcast ต่างๆ ควรจดบันทึกรอบการตัดบัตรเอาไว้ให้ชัดเจน เพื่อที่เราจะสามารถทำการยกเลิกก่อนวันเรียกเก็บเงินได้หากไม่ต้องการใช้แล้ว หรือไม่ก็เปลี่ยนวิธีการชำระเงินที่ไม่ใช้ในรูปแบบอัตโนมัติ เพื่อกันไม่ให้เงินออกจากกระเป๋าของเราแบบไม่รู้ตัว

4.บริหาร Risk Management ในการลงทุน

หากใครที่มีการลงทุน ควรมีการตรวจสุขภาพพอร์ตสินทรัพย์ของตัวเอง และจัดพอร์ตใหม่อีกรอบเพื่อบริหารความเสี่ยงที่กำลังจะเกิดขึ้น เพราะเมื่อเศรษฐกิจเกิดการชะงักตัวจากนโยบายทางการเงินที่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะส่งผลให้เงินที่หมุนเวียนอยู่ในระบบนั้นลดน้อยลง

และแน่นอนว่าเงินจากในตลาดการลงทุนก็ย่อมมีความเสี่ยงที่จะมีการไหลออกไปเช่นกัน เนื่องจากผู้คนต่างต้องการถือเงินเอาไว้เพื่อรักษากระแสเงินสด ในตอนนี้เราจึงควรลดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทที่มีความผันผวนสูง และนำเงินไปพักไว้ในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ หากราคาของสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูงนั้นมีราคาที่ไหลลงมาประมาณหนึ่งแล้ว ค่อยโยกเงินออกมาช้อนซื้อ (ซื้อในราคาที่ถูกลง) ก็จะทำให้เราสามารถสร้างผลตอบแทนที่มากขึ้นได้ในอนาคต

5.หารายได้เสริม

เพิ่มสัดส่วนของรายได้ให้มากกว่ารายจ่ายที่อาจจะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต จากข้าวของที่แพงขึ้น และภาระการชำระหนี้ที่มาก กว่าเดิม ด้วยการหาช่องทางการทำเงินเพิ่มเติมจากอาชีพที่ทำประจำอยู่ โดยประเมินจาก Materials หรือความถนัดที่เรามี เช่นเรามีอุปกรณ์การถ่ายภาพ ก็อาจถ่ายภาพส่งขายไปยังเว็บ Shutterstock ที่เขามีการรับซื้อ หรือหากมีสกิลในด้านการเขียนก็อาจพิจารณาเขียนบทความบนแพลตฟอร์มที่สร้างเงินจากการทำคอนเทนต์ได้ เช่น Blockdit หรือ Readawrite เป็นต้น

และ 5 วิธีที่กล่าวไปข้างต้นก็เป็นแนวทางที่ทาง AC News อยากแนะนำสำหรับการตั้งรับสถานการณ์เงินเฟ้อ และนโยบายการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังประกาศออกมา เพื่อรักษาเงินในกระเป๋า และสุขภาพทางการเงินให้คงอยู่อย่างมั่นคง แม้เศรษฐกิจจะเข้าสู่ช่วงขาลงก็ตาม

LastUpdate 05/07/2565 14:20:27 โดย : Admin
25-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (25 เม.ย.67) บวก 3.17 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,364.27 จุด

2. ประกาศ กปน.: 29 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนบ้านบางไผ่-บ้านหนองเพรางาย

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (25 เม.ย.67) บวก 1.72 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,362.82 จุด

4. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำยังคงทรงตัวในกรอบเช่นเดิมระหว่าง 2,290-2,330 เหรียญ

5. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (24 เม.ย.67) ลบ 42.77 จุด บอนด์ยีลด์พุ่งฉุดตลาด บดบังผลประกอบการ บจ.แกร่ง

6. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (24 เม.ย.67) ร่วง 3.70 เหรียญ นักลงทุนคลายกังวลความตึงเครียดในตะวันออกกลาง

7. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองในภาคเหนือ-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่งตต. 20% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคอีสาน-ภาคใต้ ฝั่ง ตอ. 10%

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 37.00-37.25 บาท/ดอลลาร์

9. ทองเปิดตลาด (25 เม.ย. 67) ปรับขึ้น 200 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 41,300 บาท

10. ค่าเงินบาทเปิดวันนึ้ (25 เม.ย.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 37.08 บาทต่อดอลลาร์

11. ตลาดหุ้นไทยเปิด (25 เม.ย.67) ลบ 2.13 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,358.97 จุด

12. ตลาดหุ้นปิด (24 เม.ย.67) บวก 3.64 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.10 จุด

13. ประกาศ กปน.: 27 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (24 เม.ย.67) บวก 3.44 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,360.90 จุด

15. MTS Gold คาดว่าจะมีกรอบแนวรับที่ 2,260 เหรียญ และแนวต้านที่ 2,335 เหรียญ

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 25, 2024, 6:33 pm