หุ้นทอง
เปิดพอร์ตการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทย ปี 2565


จากการศึกษาข้อมูลการถือครองหุ้นในตลาดหุ้นไทย ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2565 ของบริษัทจดทะเบียนจำนวน 783 บริษัท ซึ่งมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมกว่า 19.0 ล้านล้านบาท หรือ 99.4% ของมูลค่าหลักทรัพย์รวมทั้งตลาด พบว่า

 

· ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2565 นักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการถือครองหุ้นในตลาดหุ้นไทยรวมกว่า 5.11 ล้านล้านบาท สูงสุดในรอบ 4 ปี เพิ่มขึ้น 0.29% จากปีก่อน ที่สำคัญจากการซื้อสุทธิกว่า 153,151 ล้านบาท ในช่วงเดือนกันยายน 2564 - เดือนกรกฎาคม 2565 และการถือครองหุ้นของบริษัทที่เข้าจดทะเบียนซื้อขายใหม่ (new listing companies) โดยมีมูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศ คิดเป็น 26.84% ของมูลค่าหลักทรัพย์รวมทั้งตลาด

 

· อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มธุรกิจการเงิน และกลุ่มทรัพยากร มูลค่าถือครองหุ้นรวม 3.12 ล้านล้านบาท คิดเป็น 61.0% ของมูลค่าการถือครองหุ้นรวมของนักลงทุนต่างประเทศ

 

· หมวดธุรกิจที่นักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค (ENERG) 953,319 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดธนาคาร (BANK) 783,470 ล้านบาท และหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (ETRON) 617,210 ล้านบาท โดย 3 หมวดธุรกิจนี้มีมูลค่าการถือครองหุ้นรวม 2.35 ล้านล้านบาท หรือ 46.1% ของมูลค่าการถือครองหุ้นรวมของนักลงทุนต่างประเทศ

 

· 72.3% ของมูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศเป็นการถือครองหุ้นที่อยู่ในองค์ประกอบของ MSCI Thailand Index เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 68.0%

 

· นักลงทุนต่างประเทศที่มีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุด 10 สัญชาติแรก พบว่า 8 ใน 10 สัญชาติ เป็นสัญชาติเดียวกันกับปีก่อน แต่มีสลับอันดับ โดย นักลงทุนจากสหราชอาณาจักรมีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุด ตามมาด้วยนักลงทุนจากสิงคโปร์ และสวิสเซอร์แลนด์ที่ขยับขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 3 ขณะที่ฮ่องกงลดลงไปอยู่อันดับ 4 และสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มอริเชียส เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และบริติช เวอร์จิน ไอส์แลนด์ ตามลำดับ


ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2565 นักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการถือครองหุ้นในตลาดหุ้นไทยรวมกว่า 5.11 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.29% จากสิ้นเดือนสิงหาคม 2564 โดยมูลค่าการถือครองหุ้นคิดเป็น 26.83% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด

จากการศึกษาข้อมูลการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศ1 ในตลาดหุ้นไทยจาก 1) ข้อมูลการปิดสมุดทะเบียนเพื่อรวบรวมรายชื่อผู้ถือหุ้น 2) ข้อมูล Corporate Actions 3) ข้อมูลการระดมทุนผ่านตลาดรองของบริษัทจดทะเบียน 783 บริษัท2 โดยใช้ข้อมูลล่าสุดถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2565 ซึ่งมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมกว่า 19.04 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 99.40% ของมูลค่าหลักทรัพย์รวมทั้งตลาด

ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2565 นักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการถือครองหุ้นในตลาดหุ้นไทยรวมกว่า 5.11 ล้านล้านบาท สูงสุดในรอบ 4 ปี (ภาพที่ 1) หรือสูงเป็นอันดับ 2 ในรอบ 10 ปี โดยมูลค่าถือครองหุ้นฯ เพิ่มขึ้น 0.29% จากสิ้นเดือนสิงหาคม 2564 สวนทางกับดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) ที่ลดลง 3.80% (ตารางที่ 1)

 
 
ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลให้มูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศปรับเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจาก 1) การซื้อสุทธิ (foreign net buying position) กว่า 153,151 ล้านบาท ของนักลงทุนต่างประเทศ ในช่วงเดือนกันยายน 2564 - กรกฎาคม 2565 (ภาพที่ 2) และ 2) การถือครองหุ้นของบริษัทที่เข้าจดทะเบียนซื้อขายใหม่ (new listing companies) ในช่วงเดือนกันยายน 2564 - กรกฎาคม 2565 ซึ่ง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2565 นักลงทุนต่างประเทศถือครองหุ้นของบริษัทที่เข้าจดทะเบียนซื้อขายใหม่ 24 บริษัท มีมูลค่าการถือครองหุ้นรวม 2,709 ล้านบาท (ตารางที่ 2)
 

 
 
ตารางที่ 2 ข้อมูลการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศ ในส่วนของบริษัทจดทะเบียนที่เข้าจดทะเบียนซื้อขายใหม่ (new listing companies) ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2565

 
นักลงทุนต่างประเทศถือครองหุ้นสูงสุดในกลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มธุรกิจการเงิน และกลุ่มทรัพยากร มีมูลค่าถือครองหุ้นรวม 3.12 ล้านล้านบาท คิดเป็น 61.0% ของมูลค่าการถือครองหุ้นรวมของนักลงทุนต่างประเทศ

เมื่อพิจารณามูลค่าถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศจำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรมในตลาดหุ้นไทย 9 อุตสาหกรรม (นับตลาดเอ็ม เอ ไอ เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรม) พบว่า มูลค่าถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2565 เพิ่มขึ้นในกลุ่มกลุ่มธุรกิจการเงิน กลุ่มทรัพยากร กลุ่มบริการ และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ มีมูลค่าการถือครองหุ้นลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการถือครองหุ้นฯ สูงสุด 3 อันดับแรก ยังคงเป็นอุตสาหกรรมเดิมและอันดับเดียวกันกับปีก่อน ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มธุรกิจการเงิน และกลุ่มทรัพยากร ตามลำดับ (ตารางที่ 3) โดยมีมูลค่าการถือครองหุ้นรวม 3.12 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 61.0% ของมูลค่าการถือครองหุ้นรวมของนักลงทุนต่างประเทศ

ตารางที่ 3 มูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทยและการเปลี่ยนแปลงของดัชนีกลุ่มอุตสาหกรรม
 

 
กลุ่มเทคโนโลยี ยังคงเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างประเทศถือครองหุ้นด้วยมูลค่าสูงสุดที่ระดับ 1,155,658 ล้านบาท ต่อเนื่องจากปีก่อน ที่มีมูลค่าการถือครองหุ้นรวม 1,310,105 ล้านบาท ลดลง 11.79% จากปีก่อน ส่วนหนึ่งจากราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มเทคโนโลยีปรับลดลง

อันดับ 2 คือ กลุ่มธุรกิจการเงิน มีมูลค่าการถือครองหุ้นรวม 1,006,750 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.26% จากปีก่อน และพบว่า กลุ่มอุตสาหกรรมนี้ได้รับความสนใจมากขึ้นจากนักลงทุนต่างประเทศ สังเกตได้จากการเติบโตของมูลค่าการถือครองหุ้น สวนทางกับการเปลี่ยนแปลงดัชนีกลุ่มอุตสาหกรรมปรับลดลง 3.38% และอันดับ 3 คือ กลุ่มทรัพยากร มีมูลค่าการถือครองหุ้นรวม 953,421 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.61 จากปีก่อน ขณะที่ดัชนีกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับลดลง 0.28%
 
ขณะที่กลุ่มบริการ อยู่ที่อันดับ 4 มีมูลค่าการถือครองหุ้นรวม 891,844 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.06% จากปีก่อน สวนทางกับดัชนีกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ปรับลดลงเล็กน้อยจากปีก่อน
 
นักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุดในหมวดพลังงานและสาธารณูปโภค รองลงมา คือ หมวดธนาคาร และหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
 
เมื่อพิจารณามูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศจำแนกตามหมวดธุรกิจของตลาดหุ้นไทย จำนวน 28 หมวด (รวมตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ เป็นหนึ่งหมวดธุรกิจ) พบว่า

นักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุดในหมวดพลังงานและสาธารณูปโภค (ENERG) 953,319 ล้านบาท คิดเป็น 18.66% ของมูลค่าการถือครองหุ้นรวมของนักลงทุนต่างประเทศ รองลงมา คือ ธนาคาร (BANK) 783,470 ล้านบาท คิดเป็น 15.33% ของมูลค่าการถือครองหุ้นรวมของนักลงทุนต่างประเทศ และหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (ETRON) 617,210 ล้านบาท คิดเป็น 12.08% ของมูลค่าการถือครองหุ้นรวมของนักลงทุนต่างประเทศ โดย 3 หมวดธุรกิจนี้มีมูลค่าการถือครองหุ้นรวม 2,353,999 ล้านบาท หรือ 46.07% ของมูลค่าการถือครองหุ้นรวม (ตารางที่ 4)
 
มูลค่าการถือครองหุ้นกว่า 72.3% ของมูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศทั้งหมด เป็นการถือครองหุ้นที่อยู่ในองค์ประกอบของ MSCI Thailand Index เพิ่มขึ้นจาก 68.0% จากปีก่อน

จากรายชื่อหลักทรัพย์ที่นักลงทุนต่างประเทศถือครองหุ้น ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2565 เปรียบเทียบกับรายชื่อองค์ประกอบของ MSCI Thailand Index จำนวน 43 บริษัท3 พบว่า นักลงทุนต่างประเทศถือครองทุกหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบดัชนีดังกล่าว โดยมีมูลค่าการถือครองหุ้นรวม 3.69 ล้านล้านบาท คิดเป็น 72.3% ของมูลค่าการถือครองหุ้นรวมของนักลงทุนต่างประเทศ (ภาพที่ 3) ซึ่งมีมูลค่าการถือครองหุ้นเพิ่มขึ้น 6.6% จาก ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2564 ที่มีมูลค่าการถือครองหุ้นที่เป็นองค์ประกอบดัชนีรวม 3.47 ล้านล้านบาท

 
ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2565 นักลงทุนจาก 123 สัญชาติถือครองหุ้นในตลาดหุ้นไทย โดยนักลงทุนจากสหราชอาณาจักร สิงคโปร์ และสวิสเซอร์แลนด์ มีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุด 3 สัญชาติแรก ซึ่งสวิสเซอร์แลนด์ขยับขึ้นมาจากอันดับ 4 จากปีที่แล้ว
 
จากข้อมูลการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2565 พบว่า มีนักลงทุนต่างประเทศจำนวน 123 สัญชาติถือครองหุ้นในตลาดหุ้นไทย ลดลงสุทธิ 1 สัญชาติ จากปีก่อน

นักลงทุนต่างประเทศที่มีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุด 10 สัญชาติแรก มีมูลค่าถือครองหุ้นรวม 4.84 ล้านล้านบาท คิดเป็น 94.8% ของมูลค่าการถือครองหุ้นทั้งหมดของนักลงทุนต่างประเทศ (ตารางที่ 5)

 
· นักลงทุนจากสหราชอาณาจักร ยังคงมีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุดในตลาดหุ้นไทย โดยมูลค่าการถือครองหุ้นส่วนใหญ่กระจายถือครองหุ้นของบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ที่เป็นองค์ประกอบดัชนีอ้างอิงต่างประเทศ (อาทิ MSCI Thailand Index เป็นต้น)
 
· อันดับที่ 2 ยังคงเป็นนักลงทุนจากสิงคโปร์ ที่มูลค่าการถือครองหุ้นส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี
 
· ขณะที่อันดับ 3 ในปีนี้ คือ นักลงทุนจากสวิสเซอร์แลนด์ ที่มูลค่าการถือครองหุ้นส่วนใหญ่กระจายถือครองหุ้นของบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ที่เป็นองค์ประกอบดัชนีอ้างอิงต่างประเทศ โดยเฉพาะในธุรกิจพลังงาน แซงหน้าอันดับ 4 นักลงทุนจากฮ่องกง ที่ลดลงจากอันดับ 3 ในปีก่อน โดยมูลค่าการถือครองหุ้นส่วนใหญ่ของนักลงทุนจากฮ่องกง เป็นการของบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ที่เป็นองค์ประกอบดัชนีอ้างอิงต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี
 
· อันดับที่ 5 - 7 ยังคงเป็นสัญชาติและอันดับเดิม ได้แก่ นักลงทุนจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และมอริเชียส ตามลำดับ ขณะที่อันดับที่ 8 คือ นักลงทุนจากเนเธอร์แลนด์ที่ขยับมาอันดับ 12 ตามมาด้วยอันดับ 9 นักลงทุนจากฝรั่งเศส ที่ขยับขึ้นมาอันดับ 11 ในปีก่อน และอันดับ 10 ยังคงเป็นนักลงทุนจากบริติช เวอร์จิน ไอส์แลนด์
 

บันทึกโดย : วันที่ : 28 ก.ย. 2565 เวลา : 16:35:19
16-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (11 เม.ย.67) ลบเล็กน้อย 2.43 จุด

2. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (11 เม.ย.67) พุ่งขึ้น 24.30 เหรียญ หลังดัชนี PPI ต่ำกว่าคาดหนุนเฟดลดดอกเบี้ยเร็วสุด ก.ค.67

3. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 2,365 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,410 เหรียญ

4. ทั่วไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด มีฝนฟ้าคะนอง 10%

5. ทองเปิดตลาด (12 เม.ย.67) พุ่งพรวด 700 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 41,650 บาท

6. ตลาดหุ้นปิด (11 เม.ย.67) ลบ 11.79 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,396.38 จุด

7. ประกาศ กปน.: 18 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง

8. ตลาดหุ้นไทยปิดภาคเช้า (11 เม.ย.67) ลบ 4.71 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,403.46 จุด

9. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 2,330 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,365 เหรียญ

10. ทองเปิดตลาด (11 เม.ย.) ปรับขึ้น 150 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 41,100 บาท

11. ตลาดหุ้นไทยเปิด (11 เม.ย.67) ลบ 2.52 จุดดัชนีอยู่ที่ 1,405.65 จุด

12. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.60-36.80 บาท/ดอลลาร์

13. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (10 เม.ย.67) ร่วง 422.16 จุด เหตุดัชนี CPI สูงเกินคาด วิตกเฟดตรึงดอกเบี้ยสูงต่อ

14. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (11 เม.ย.67) อ่อนค่าลงหนัก ที่ระดับ 36.76 บาทต่อดอลลาร์

15. ภาคเหนือยังคงมีพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง 30% ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกบางแห่ง / ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่ง ตอ. 20% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคกลาง 10%

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 16, 2024, 3:05 pm