ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
เมย์แบงก์ฯคาด ธปท.-สศช.ปรับลดเป้า จีดีพี ปีนี้ ลงอีก เหตุส่งออกไทยเดี้ยง


บล.เมย์แบงก์ ออกบทวิเคราะห์ "เศรษฐกิจไทย-มองอนาคตการส่งออก"

@ยอดส่งออกเดือน ก.ค. หดตัวในอัตราเร่ง
กระทรวงพาณิชย์รายงานยอดส่งออกเดือน ก.ค. หดตัว 4.5% yoy มูลค่ารวม US$1.95       หมื่นล้าน หดตัวลงต่อเนื่องจากเดือน มิ.ย. ที่ -4.2% yoy และต่ำกว่าคาดการณ์ของตลาดที่      -3.8% yoy หากเทียบกับเดือนก่อน ยอดส่งออกหดตัว 1.1% mom จากผลกระทบวิกฤตหนี้ยุโรปกดดันการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย อาทิ อาเซียน จีน ฮ่องกง และสหรัฐฯ เมื่อพิจารณาเป็นรายหมวดสินค้า พบว่า

? การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหมวดหลัก (สัดส่วน 75.1%) หดตัว 3.4% mom จากเดือน มิ.ย. ที่ -0.6% mom สินค้าส่งออกที่ลดลง ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ -24.7% mom จากเดือน มิ.ย. ที่ +95.8% mom และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ -17.6% mom จากเดือน มิ.ย. ที่ -2.6% mom สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ก.ค. ที่หดตัว -0.2% mom จากเดือน มิ.ย. ที่ -8.9% mom สะท้อนภาคการผลิตของไทยได้รับผลกระทบของวิกฤตหนี้ยุโรปต่อเนื่อง ส่วนสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มยานยนต์ +7.5% mom จากเดือน มิ.ย. ที่ -5.1% mom สอดคล้องกับยอดการผลิตรถยนต์เดือน ก.ค.ที่ขยายตัวทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

? การส่งออกสินค้าเกษตร (สัดส่วน 11.0%) กลับมาขยายตัว +23.8% mom จากเดือน มิ.ย.ที่ -20.2% mom สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว +31.6% mom จากเดือน มิ.ย. ที่ -39.6% mom ทั้งนี้เป็นเพียงผลของฐานที่ต่ำในเดือนก่อน หากดูที่ปริมาณการส่งออกข้าวตั้งแต่ต้นปี 2555 พบว่า มีแนวโน้มลดลงจากปริมาณความต้องการในตลาดโลกที่ชะลอตัว

หากพิจารณาในแง่ตลาดส่งออกหลัก จะพบว่า

? การส่งออกไปยังเอเชีย (สัดส่วน 65.0%) หดตัวในอัตราที่ชะลอลง -1.5% mom จากเดือน มิ.ย. ที่ -6.0% mom โดยการส่งออกไปยังไต้หวัน, อาเซียน, จีน, และฮ่องกง  หดตัว 17.6 % mom, 2.0% mom, 1.6% mom,  และ 0.2% mom ตามลำดับ จากผลกระทบวิกฤตหนี้ยุโรปยังคงกดดันความต้องการซื้อผู้บริโภคในเอเชียต่อเนื่อง

? การส่งออกไปยังยุโรป (สัดส่วน 12.0%) หดตัวในอัตราเร่ง -2.2% mom จากเดือน มิ.ย. ที่ -1.2% mom สะท้อนอุปสงค์ภายในที่ซบเซาต่อเนื่อง จากความยืดเยื้อในการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะยุโรป

? การส่งออกไปยังสหรัฐฯ (สัดส่วน 10.0%) หดตัวในอัตราที่ชะลอลง -4.0% mom จากเดือน มิ.ย. ที่ -5.5% mom หลังเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

@ยอดนำเข้าเดือน ก.ค. ขยายตัวมากกว่าที่ตลาดคาด

ยอดนำเข้าเดือน ก.ค. ขยายตัวถึง 13.7% yoy มูลค่ารวม US$2.13 หมื่นล้าน เพิ่มขึ้นจากเดือน มิ.ย. ที่ +2.6% yoy และสูงกว่าตลาดคาดที่ +10.7% yoy จากผลของฐานที่ต่ำในปีก่อนเป็นสำคัญ เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ยอดนำเข้ายังคงขยายตัว 4.8% mom ส่วนประกอบที่สำคัญมีดังนี้

? หมวดสินค้าทุน (สัดส่วน 30.5%) กลับมาขยายตัว +13.1% mom จากเดือน มิ.ย. ที่ -4.7% mom สะท้อนอุปสงค์ต่อสินค้าทุนยังคงมีอยู่ ถึงแม้การติดตั้งเครื่องจักรใหม่เพื่อทดแทนเครื่องจักรที่เสียหายจากน้ำท่วมได้เสร็จสิ้นไปมากแล้วก็ตาม

? หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค (สัดส่วน 9.1%) ฟื้นตัว +2.3% mom จากเดือน มิ.ย. ที่    -6.8% mom เป็นผลจากอุปสงค์ผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น หลังรัฐบาลเร่งออกมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ

? หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง (สัดส่วน 5.3%) กลับมาขยายตัว +12.5% mom จากเดือน มิ.ย. ที่  -0.4% mom เป็นผลจากการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อผลิตให้เพียงพอกับปริมาณความต้องการซื้อรถยนต์ภายในประเทศ หลังรัฐบาลขยายระยะเวลาส่งมอบรถยนต์ตามโครงการรถคันแรกไปจนถึงปี 2556

จากยอดนำเข้าที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเมื่อเทียบกับยอดส่งออก ส่งผลให้ไทยรายงานสถานะขาดดุลการค้าเป็นเดือนที่  5 ติดต่อกันในอัตราเร่ง -US$ 1.75 พันล้าน จากเดือน มิ.ย. ที่ -US$ 546 ล้าน โดยระยะ 7 เดือนแรกของปี 2555 ไทยขาดดุลการค้าทั้งสิ้น -US$1.21 หมื่นล้าน

@ธปท.และ สศค. อาจลดเป้า GDP ปีนี้ลงได้อีก

ตัวเลขการส่งออกที่หดตัวในอัตราเร่งจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะผลกระทบวิกฤติหนี้ยุโรป ทำให้เศรษฐกิจไทยเผชิญความเสี่ยงที่อาจเติบโตได้ต่ำกว่าเป้า เนื่องจากเศรษฐกิจไทยพึ่งพาภาคการส่งออกคิดเป็นสัดส่วน 70% ของ GDP ฝ่ายวิจัยประเมินว่า เป้าหมาย GDP ปี 2555 ของ ธปท.และ สศค.ที่ระดับ 5.7% และ 5.5-6.0% มีความเสี่ยงที่จะถูกปรับลดลงได้อีก เนื่องจากการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะยุโรปมีแนวโน้มยืดเยื้อยาวนาน กลายเป็นประเด็นกดดันการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยผ่านช่องทางการส่งออกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะที่ฝ่ายวิจัยมีมุมมองแบบอนุรักษ์นิยมต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยมาตั้งแต่ต้น และยังคงเป้าหมาย GDP ปีนี้ที่ระดับ 5.2%

@ตัวเลขการค้าที่แย่กว่าคาดอาจเป็นปัจจัยให้ กนง.ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายปลายปีนี้

หากประเมินจากยอดส่งออกที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะหดตัวต่อในเดือน         ส.ค.– ก.ย. จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่เสี่ยงต่อการเติบโตในระดับต่ำจากผลกระทบความยืดเยื้อในการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะยุโรป ย่อมส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะที่ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะจีนที่ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งภายใน 1 เดือน เมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา ทำให้ฝ่ายวิจัยคาดว่า กนง.อาจพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25 bps เหลือ 2.75% ในการประชุมปลายปีนี้ เพื่อประคองสภาพเศรษฐกิจโดยรวม

 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 31 ส.ค. 2555 เวลา : 11:49:40

20-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 2:56 pm