ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บมจ.ไทยออยล์ วิเคราะห์ราคาน้ำมัน : น้ำมันดิบขยับขึ้นต่อ นักลงทุนรอ QE3 และคำตัดสินของศาลเยอรมนี


เวสต์เท็กซัสส่งมอบ ต.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.63 เหรียญฯ ปิดที่ 97.17 เหรียญฯ ขณะที่เบรนท์ส่งมอบ ต.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.59 เหรียญฯ ปิดที่ 115.40 เหรียญฯ

-นักลงทุนยังคงจับตาผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะแถลงในวันที่ 13 ก.ย.55 โดยตลาดยังคาดหวังว่าทางธนาคารกลางสหรัฐฯ จะออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลรอบที่ 3 หรือ QE3 เนื่องจากตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ ยังขยายตัวต่ำกว่าที่คาด

-ค่าเงินยูโรปรับขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน เมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากนักลงทุนเชื่อว่าทางศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีจะอนุมัติเงินกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) ซึ่งจะมีผลต่อการแผนการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลของธนาคารกลางยุโรปในเร็วๆ นี้

-สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตการใช้น้ำมันปี 2555 ขึ้น 80,000 บาร์เรลต่อวันเป็น 0.84 ล้านบาร์เรลต่อวัน และปี 2556 ขึ้น 130,000 บาร์เรลต่อวันเป็น 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน

-นักวิเคราะห์คาดการณ์ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ที่จะประกาศโดย EIA คืนนี้ จะปรับลดลง 2.6 ล้านบาร์เรล เนื่องจากผลกระทบของเฮอริเคนไอแซคในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อน อย่างไรก็ตามตั วเลขของทางสถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ ออกมาเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 0.2 ล้านบาร์เรล

- สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือมูดี้ส์ เตือนว่าอาจจะปรับลดอันดับของสหรัฐฯ หากการตั้งงบประมาณประจำปี 2556 ยังไม่สามารถทำให้อัตราหนี้ต่อจีดีพี ลดลงได้

- โอเปคคงตัวเลขคาดการณ์การใช้น้ำมันปี 2556 ที่เดิม และรายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปคเดือน ส.ค.55 เพิ่มขึ้น 260,000 บาร์เรลต่อวัน แม้ว่าจะมีการคว่ำบาตรน้ำมันดิบจากอิหร่าน ทั้งนี้เนื่องจากประเทศอื่นในกลุ่มฯ มีการผลิตเพิ่มขึ้น

- ราคาน้ำมันไม่สามารถปรับขึ้นได้มากนัก เนื่องจากตลาดมองว่ายังมีความเป็นไปได้ที่ทางสหรัฐฯ จะนำน้ำมันดิบสำรองทางยุทธศาสตร์มาใช้ หรือลดการสำรองจากระดับ 700 ล้านบาร์เรลลงไป เนื่องจากปัจจุบันทางสหรัฐฯ มีกำลังการผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงไม่จำเป็นต้องสำรองน้ำมันในระดับสูงมากอีกต่อไป

ราคาน้ำมันเบนซิน ทรงตัว โดยยังได้รับแรงสนับสนุนจากแรงซื้อของอินโดนีเซีย หลังจากที่มีการทำสัญญานำเข้าเพิ่มขึ้นที่ 9 ล้านบาร์เรลต่อเดือนในไตรมาส 4 จาก 8.4-8.7 ล้านบาร์เรลต่อเดือนในไตรมาส 3

ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานน้ำมันดีเซลในภูมิภาคเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากโรงกลั่นมีปัญหาเริ่มกลับมาดำเนินการ

ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง

กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้ เบรนท์ 110 - 118 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 90 - 98 เหรียญ

ติดตามการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ว่าจะมีการออกมาตรการ QE3 หรือไม่ พร้อมจับตาการอนุมัติการจัดตั้งกองทุน ESM ของศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนีในวันพุธนี้ รวมถึงการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีการคลังของกลุ่มยูโรโซนในวันที่ 14-15 ก.ย.นี้ และการพิจารณาการปล่อยน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ

- ตัวเลขเศรษฐกิจที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่

วันพุธ: ยอดค้าส่ง ดัชนีราคาสินค้านำเข้า-ส่งออกสหรัฐฯ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหภาพยุโรป ดัชนีราคาผู้บริโภคเยอรมนี

วันพฤหัสบดี: ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ

วันศุกร์: ดัชนีราคาผู้บริโภค ยอดค้าปลีก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ อัตราเงินเฟ้อสหภาพยุโรป

- รายงานสถานการณ์น้ำมันประจำเดือน ก.ย. โดยสำนักงานพลังงานสากลในวันที่ 12 ก.ย. นี้ ว่าจะปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การใช้น้ำมันในปี 2555 และ 2556 หรือไม่

- ความเป็นไปได้ของแผนการปล่อยน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์โดยสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตรเพื่อบรรเทาราคาน้ำมันแพง หลังรัฐบาลสหรัฐฯ เข้าหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

- ติดตามการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวันที่ 12 - 13 ก.ย. นี้ ซึ่งมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะออกมาตรการ QE3 หลังตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ เดือน ส.ค. ออกมาเป็นที่น่าผิดหวัง

- ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนีจะตัดสินใจอนุมัติกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) ในวันที่ 12 ก.ย. นี้ ซึ่งจะมีผลต่อการนำเงินกองทุนดังกล่าวไปใช้ในแผนเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลของธนาคารกลางยุโรป

- การประชุมอย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีการคลังของกลุ่มยูโรโซนในวันที่ 14-15 ก.ย. นี้ ในการหารือในเรื่องการให้เงินช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่สเปน หลังจากที่ได้รับเงินเพื่อช่วยภาคธนาคารไปแล้ว 1 แสนล้านยูโร

- กรีซจะสามารถผ่านมาตรการลดรายจ่ายในประเทศ 11,500 ล้านยูโร ได้สำเร็จหรือไม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขหลักในการได้รับเงินช่วยเหลือก้อนใหม่จาก EC/ECB/IMF รวมทั้งผลการตรวจสอบกรีซอย่างเป็นทางการในช่วงสิ้นเดือนนี้

- การสู้รบที่ยืดเยื้อในซีเรียและปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่านที่ยังดำเนินอยู่ โดยอิสราเอลเรียกร้องให้มีการกำหนดเส้นตายในการจัดการปัญหานี้ รวมทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมนีเรียกร้องให้สหภาพยุโรปเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่

 

 

 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 12 ก.ย. 2555 เวลา : 12:10:23

25-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 25, 2024, 4:38 pm