ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ออสสิริส ฟิวเจอร์ส มองภาพรวมการลงทุนทองคำ ปี 2556


บริษัท ออสสิริส ฟิวเจอร์ส มองภาพรวมการลงทุนทองคำ ปี 2556 ตอนที่ 1 แนวโน้มทองคำปี 2556

ภาพของเศรษฐกิจโลกที่จะกระทบต่อราคาทองคำในปี 2556 พอจะสรุปได้โดยแยกกลุ่มของประเทศ ดังต่อไปนี้

เอเชียโดยรวมน่าจะส่งผลบวกต่อราคาทองคำ ยกเว้นการประกาศมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ

จากภาพทางเศรษฐกิจและการเงินที่ย่ำแย่และทรุดต้วลงของญี่ปุ่น โดยได้สะท้อนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของญี่ปุ่นโดยรวมที่ได้ประกาศในช่วงที่ผ่านมาได้ส่งผลต่อการคาดหวังในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเชิงผ่อนคลายของเอเชีย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะนำมาซึ่งปริมาณเม็ดเงินอัดฉีดเข้าสู่ระบบได้ส่งผลบวกต่อการคาดหวังราคาทองคำได้อย่างดี ได้แก่ ตัวเลขดุลการค้าที่ขาดดุล 8.7 แสนล้านจากขาดดุล 6.2 แสนล้าน ตัวเลขดัชนีอุตสาหกรรมการผลิต และไม่รวมอุตสาหกรรมการผลิตที่ประกาศ -12% จาก -3 และ 4 จาก 8 ตามลำดับ ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมรายเดือนที่ 1.6% จาก 1.8% ตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ 39.4 จาก 39.7 ตัวเลขดัชนีภาคการผลิตที่ -10.3 จาก 2.5 เป็นต้น

โดยที่ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของญี่ปุ่นโดยรวมได้ส่งผลต่อการคาดการณ์ถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเชิงผ่อนคลายมากขึ้น โดยล่าสุด การประกาศรายงานประชุมของธนาคารกลางแห่งญี่ปุ่นที่ได้คงอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดที่ไม่เกิน 0.10% และได้ขยายวงเงินอัดฉีด หรือผ่อนคลายเชิงปริมาณจาก 66 ล้านล้านเยนเป็น 76 ล้านล้านเยนได้ส่งผลกดดันราคาทองคำ และน่าจะมีแนวโน้มเช่นนี้ต่อไปในปี 2556

ด้านจีนที่เศรษฐกิจโดยรวมได้เริ่มกลับมาดีขึ้นอีกครั้ง โดยสังเกตจากตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญโดยรวมที่ได้ประกาศออกมาสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนมากขึ้น เช่น ตัวเลขดัชนีผู้จัดการจัดซื้อภาคการผลิตที่ 50.9 จาก 50.5  ยอดค้าปลีกรายปีที่ 14.9% จาก 14.5% ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมรายปีที่ 10.1% จาก 9.6% ตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตและบริโภครายปีที่ -2.2% จาก -2.8% และ 2.0% จาก 1.7% ตามลำดับ เป็นต้น

นอกจากนี้ สำหรับปัจจัยทางการเมืองนั้น เราคาดถึงการเปลี่ยนแปลงผู้นำในประเทศที่สำคัญในเอเชีย เช่น เกาหลีใต้ จีนยุคใหม่ที่น่าจะส่งเสริมและสนับสนุนให้บรรยากาศการลงทุนโดยรวมดีขึ้น น่าจะส่งผลบวกต่อสกุลเงินในเอเชียและทองคำในปี 2556 ยกเว้นการประกาศมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้ค่าเงินของประเทศตนเองอ่อนค่าซึ่งน่าจะส่งผลลบต่อราคาทองคำ

ยุโรปยังน่าเป็นห่วงและกดดันราคาทองคำ

ประเทศในกลุ่มยุโรปโดยรวม มีแนวโน้มที่จะสร้างความกดดันต่อราคาทองคำอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยเรื่องของแนวทางการจัดการหนี้สินภาคยุโรปในระดับมหภาค จากภาพของการประชุม Eurogroup หรือ Ecofin ที่ผ่านมาในรอบปี 2555 โดยรวมได้สะท้อนภาพของการพยายามหาทางออกที่ดีที่สุด ซึ่งได้ปรากฏออกมาในแผนงานในการช่วยเหลือกรีซ สเปน และอีกหลายประเทศที่ดูเหมือนจะค่อยๆปรากฏความเปราะบางออกมา ประกอบกับแรงกดดันจากการต่อต้านนโยบายการเงินแบบรัดกุมของประเทศกลุ่มยูโร ได้สร้างความผันผวนเชิงลบต่อบรรยากาศการลงทุนโดยรวม และราคาทองคำในที่สุด

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของกลุ่มยุโรปที่ได้เป็นปัจจัยลบต่อราคาทองคำในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ ตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภคในอังกฤษที่ประกาศ 19 จาก 33 ตัวเลขดัชนีราคาผู้ค้าปลีกรายปีในอังกฤษที่ประกาศ 3.0% จาก 3.2% ตัวเลขดุลการค้าในยุโรปโดยรวมที่ประกาศ 7.9 พันล้านจาก 1.1 หมื่นล้าน ตัวเลขดัชนีผู้จัดการจัดซื้อภาคการผลิตในเยอรมันที่ 46.3 จาก 46.8 ตัวเลขดัชนีการจัดการจัดซื้อภาคการผลิตที่ 54.2 จาก 52.8 ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ 1.1% จาก -0.7% ตัวเลขการเปลี่ยนแปลงการจ้างงานในยุโรปรายไตรมาสที่ประกาศ -0.2% จาก 0% ตัวเลขดัชนีผู้ค้าส่งในเยอรมันรายเดือนที่ประกาศ -0.7% จาก -0.6% ตัวเลขดัชนีชี้นำรายเดือนในอังกฤษที่ประกาศ -0.4% จาก 0.1% ตัวเลขดุลงบประมาณภาครัฐในฝรั่งเศสที่ประกาศ -9.46 หมื่นล้านจาก -8.5 พันล้าน ตัวเลขการผลิตรายเดือนในอังกฤษที่ประกาศ -1.3% จาก 0% ได้แก่ ตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตในสวิตฯรายเดือนที่ประกาศ -0.3% จาก 0.1% ตัวเลขดุลการค้าในอังกฤษที่ประกาศ -9.5 พันล้าน จาก -8.4 พันล้าน เป็นต้น

โดยรวมแล้วปัญหาหนี้สาธารณะ สถานการณ์การเมืองในกลุ่มยุโรปโดยรวมยังคงมีอยู่ และดูเหมือนจะค่อยๆคลายปัญหาออกมาเรื่อยๆจนถึงปลายปี 2555 และปี 2556 ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสร้างความกดดันต่อค่าเงินยูโร และราคาทองคำได้

ท่านที่สนใจข้อมูล ต้องการเปิดบัญชี หรือเข้าร่วมสัมมนาเพิ่มเติมความรู้ความเข้าใจในสินค้าอนุพันธ์ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02 633 5299 หรือ www.ausirisgroup.com


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 26 ธ.ค. 2555 เวลา : 18:05:49

25-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 25, 2024, 6:41 pm