ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน : บมจ.ไทยออยล์


"ราคาน้ำมันดิบปรับลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำมันเบนซินที่เพิ่มสูงขึ้น"
เบรนท์ส่งมอบ ก.พ. ปรับลดลง 0.18 ปิดที่ 111.76 เหรียญฯ และน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน ก.พ. ปรับลดลง 0.05 ปิดที่ 93.10 เหรียญ
 

- ราคาน้ำมันดิบปรับลดลง ภายหลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านหลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงานว่าตัวเลขปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังปรับเพิ่มสูงขึ้นมากถึง 7.4 ล้านบาร์เรล ในขณะที่ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังปรับขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรล โดยที่สต็อกที่จุดส่งมอบน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส คุชชิ่งโอคลาโฮมาแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 50.08 ล้านบาร์เรล
- ทั้งนี้ EIA รายงานว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันของสหรัฐอเมริกามีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากนั้นยังมีการคาดการณ์อีกว่าปริมาณการผลิตดังกล่าวจะปรับตัวสูงขึ้นอีก 900,000 บาร์เรลต่อวันในปี 2013 และ 600,000 บาร์เรลต่อวัน ในปี 2014 ซึ่งนับว่าเป็นปริมาณการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า 25 เปอร์เซนต์ ภายใน 2 ปี
- ในขณะที่ EIA คาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากประเทศนอกกลุ่มโอเปก รวมทั้งสหรัฐฯ จะปรับเพิ่มขึ้นถึง 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำให้โอเปกอาจจะต้องปรับลดกำลังการผลิตลงประมาณ 0.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อไม่ให้น้ำมันดิบล้นตลาด อย่างไรก็ตาม EIA คาดกลุ่มโอเปกจะยังคงผลิตน้ำมันดิบในระดับ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน
+ นอกจากนี้ EIA คงคาดการณ์ปริมาณอุปสงค์ของน้ำมันดิบในปี 2013 จะปรับตัวเพิ่มขึ้น 900,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 90.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากปริมาณความต้องการน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นจากประเทศจีน และอินเดีย

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากความต้องการนำเข้าจากมาเลเซียที่ลดลง ในขณะที่ตลาดจับตารอการกลับเข้ามาซื้อของเวียดนามสำหรับเดือน ก.พ.56
ราคาน้ำมันดีเซล  ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากความต้องการเพื่อเตรียมรับเทศกาลตรุษจีน และการสำรองเพื่อรองรับความต้องการในช่วงการปิดซ่อมบำรุงของหลายโรงกลั่น
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้ เบรนท์ 108 -115 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 88 - 95 เหรียญฯ
จับตาการประชุมธนาคารกลางยุโรป การผลิตภาคอุตสาหกรรมฝรั่งเศส รวมทั้งยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่
วันพฤหัส: การประชุมธนาคารกลางยุโรป การผลิตภาคอุตสาหกรรมฝรั่งเศส รวมทั้งยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ
วันศุกร์: ดุลการค้าสหรัฐฯ และดัชนีราคาผู้บริโภคจีน
แม้ว่ารัฐสภาสหรัฐฯจะสามารถผ่านร่างแนวทางเลี่ยงปัญหาหน้าผาการคลังได้ใน ช่วงปีใหม่ อย่างไรก็ดีหลายฝ่ายรวมทั้ง IMF ออกมาเตือนว่าแนวทางดังกล่าวยังไม่แก้ปัญหาหนี้ในภาพรวมแต่เป็นเพียงการยืด เส้นตายเท่านั้น สภาสหรัฐฯยังจำเป็นต้องถกกันต่อในช่วง 2 เดือนข้างหน้าในประเด็นการตัดลดงบรายจ่ายและเพิ่มเพดานหนี้ซึ่งในประเด็นดัง กล่าวพรรครีพับลิกันมีจุดยืนที่ต้องการให้รัฐบาลปรับลดรายจ่ายในหลายภาคส่วน ลง
- ติดตามการประชุมธนาคารกลางยุโรปวันที่ 10 ม.ค. 2556 ว่าธนาคารกลางยุโรปจะมีมุมมองอย่างไรต่อสภาพเศรษฐกิจและสถานการณ์หนี้สินใน ยุโรป รวมถึงติดตามว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมหรือไม่
- ติดตามผลการเจรจาครั้งใหม่ระหว่าง IAEA และอิหร่านเรื่องโครงการนิวเคลียร์ ในวันที่ 16 ม.ค. 56 อย่างไรก็ตาม การที่สหรัฐฯ เตรียมออกมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านเพิ่มเติมภายในเดือน ก.พ. ปี 56 อาจส่งผลให้การเจรจาดังกล่าวล้มเหลว
- จับตาการเปิดใช้ส่วนต่อขยายของท่อส่งน้ำมัน Seaway Pipeline ในช่วงต้นเดือน ม.ค. ที่จะทำให้กำลังการขนส่งรวมเพิ่มเป็น 400,000 บาร์เรลต่อวัน จาก 150,000 บาร์เรลต่อวัน ในปัจจุบัน และจะทำให้การขนส่งน้ำมันออกจากจุดส่งมอบน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสบริเวณคุ ชชิ่ง โอกลาโฮมาไปยังโรงกลั่นในบริเวณรัฐเท็กซัสเพิ่มมากขึ้น


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 10 ม.ค. 2556 เวลา : 10:07:35

20-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 2:52 am