ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน : บมจ.ไทยออยล์


" น้ำมันปรับตัวขึ้น หลังแบงค์ชาติญี่ปุ่นกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม "
เบรนท์ส่งมอบ ก.พ. ปรับเพิ่มขึ้น0.71 ปิดที่ 112.42 เหรียญฯ และน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน ก.พ.ปรับเพิ่มขึ้น 0.68 ปิดที่ 96.24 เหรียญฯ
+ ธนาคารกลางญี่ปุ่นออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยจะเข้าซื้อหลักทรัพย์แบบไม่มีกำหนดเวลาในปี 2557 จำนวน 13 ล้านล้านเยน (114.77 พันล้านเหรียญฯ) ต่อเดือน จนกว่าเงินเฟ้อจะถึงเป้าหมายที่ระดับ 2% เนื่องจากปัจจุบันญี่ปุ่นต้องเผชิญกับภาวะเงินฝืดมาอย่างยาวนาน โดยในปีนี้ธนาคารกลางญี่ปุ่นคาดว่าจะเข้าซื้อหลักทรัพย์มูลค่ารวม 101 ล้านล้านเยนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

+ ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนของเยอรมนี (ZEW German Sentiment) ในเดือน ม.ค. ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 6.9 ในเดือน ธ.ค.สู่ระดับ 31.5 ซึ่งถือเป็นสูงสุดในรอบ 2.5 ปี ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านักลงทุนกลับมามีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ เยอรมนีและคลายความกังวลต่อวิกฤตหนี้ยุโรป
- ผู้ว่าการรัฐเนวาดาได้อนุมัติเส้นทางสร้างท่อส่งน้ำมัน Keystone กำลังการส่ง 830,000 บาร์เรลต่อวัน มูลค่า 5.3 พันล้านเหรีญฯ ซึ่งจะขนส่งน้ำมันดิบแคนาดาไปสู่โรงกลั่นในรัฐเท็กซัส เพื่อช่วยลดภาวะอุปทานส่วนเกินในฝั่งมิดเวสของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐฯ ได้เลื่อนการพิจารณาอนุมัติโครงการดังกล่าวไปหลังเดือน มี.ค. เพื่อศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมอีกครั้งหนึ่ง
+ นักวิเคราะห์ออกมาคาดการณ์ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่าจะปรับขึ้น 2.1 ล้านบาร์เรล เนื่องจากมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยการระบาย สต๊อกในช่วงปลายปีเพื่อประโยชน์ทางด้านภาษี ขณะที่ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังและน้ำมันดีเซลถูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรลและ 4 แสนบาร์เรล ตามลำดับ
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากตลาดตะวันออกกลางและแอฟริกาใต้ ขณะที่ตลาดภูมิภาคยังชะลดตัวจากความต้องการในอินโดนีเซียที่ลดลง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอากาศหนาวในยุโรปทำให้ความต้องการซื้อปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการซื้อในภูมิภาคลดลง โดยเฉพาะจากอินโดนีเซีย เนื่องจากฝนตกและน้ำท่วมในประเทศ
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้ เบรนท์ 108 -115 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 90 - 97 เหรียญฯ
ในสัปดาห์นี้ติดตามความคืบหน้าของแผนการปรับเพิ่มเพดานหนี้สหรัฐฯและการ ประชุม World Economic Forum ส่วนในวันนี้ติดตามดัชนีภาคการผลิตจีนและความเชื่อมั่นผู้บริโภคยูโรโซน
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้/ ผลประกอบการไตรมาส 4/55 ของบริษัท จดทะเบียนในสหรัฐฯ ได้แก่
วันพุธ: ดัชนีภาคการผลิตจีน(HSBC) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยูโรโซน/ แอปเปิ้ล/ แมคโดนัลด์
วันพฤหัส: ดัชนีภาคการผลิต-ดัชนีภาคบริการ และดุลบัญชีเดินสะพัดยูโรโซน ยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน และดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ / 3เอ็ม/ เอที แอนด์ ที/ ไมโครซอฟ/ ซีร็อค
วันศุกร์: ยอดขายบ้านใหม่สหรัฐฯ ดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจเยอรมนี (IFO)
การประชุม World Economic Forum (WEF) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 -27 ม.ค. นี้ ติดตามว่าผู้นำจากประเทศต่างๆ จะมีมุมมองอย่างไรต่อภาพรวมเศรษฐกิจในปี 56 หลังเมื่อสัปดาห์ที่แล้วธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ ลงมาอยู่ที่ 2.4% จาก ที่คาดไว้เดิมที่ 3.0% เมื่อเดือน มิ.ย. 55
- จับตาการอนุมัติแผนเพิ่มเพดานหนี้ชั่วคราวระยะเวลา 3 เดือน ของสหรัฐฯ ที่จะช่วยให้สหรัฐฯ ไม่ต้องผิดนัดชำระหนี้และไม่ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลง รวมถึงเพื่อเพิ่มเวลาให้สภาฯ ได้พิจารณาการปรับลดงบประมาณในระยะยาวได้
- ติดตามผลการเลือกตั้งทั่วไปในอิสราเอลว่าพรรคลิคุดของนายเนทันยาฮูจะได้รับ คะแนนเสียงเท่าไรและจะกลับมาเป็นรัฐบาลอีกสมัยได้หรือไม่ ซึ่งจะส่งผลต่อนโยบายต่างประเทศของอิสราเอลต่อปาเลสไตน์และอิหร่าน โดยเฉพาะความกังวลเรื่องโครงการพัฒนานิวเคลียร์อิหร่านหลังล่าสุดการเจรจา ระหว่าง IAEAและอิหร่านยังไม่คืบหน้า อย่างไรก็ตาม จะมีการเจรจากันอีกครั้งในวันที่ 12 ก.พ. นี้
- ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ บริเวณคุชชิ่งโอกลาโฮมา คาดว่าจะปรับตัวลดลงจากระดับสูงหลังมีการเปิดใช้ส่วนต่อขยายของท่อขนส่ง น้ำมัน Seaway Pipeline ที่มีกำลังขนส่งรวม 400,000 บาร์เรลต่อวัน เมื่อวันศุกร์ที่ 11 ม.ค.


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 23 ม.ค. 2556 เวลา : 10:11:08

27-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 27, 2024, 7:56 am