ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง วิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้ไม่รุนแรงเหมือนปี 2554 ภาคธุรกิจยังไม่ได้รับผลกระทบ




 
สถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบันถือว่ายังไม่รุนแรงเท่ากับปี 2554-55 หากเทียบจากมวลน้ำที่ไหลจากภาคเหนือและระดับน้ำในเขื่อน รวมถึงน้ำในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

ทั้งนี้ สถานการณ์ล่าสุดวันที่  25 ก.ย. 2556 พบว่า มวลน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์อยู่ที่ระดับ 1,712 ลบม./วินาที เทียบกับ ปริมาณรับได้สูงสุด 3,590 ลบม./วินาที  ต่ำกว่าช่วงเดียวกันในปี 2554-55 ที่ระดับ 60% และ 20% ตามลำดับ และ  มวลน้ำที่ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 2,195 ลบม./วินาที เทียบกับปริมาณรับได้สูงสุด 2,840 ลบม./วินาที ต่ำกว่าช่วงเดียวกันในปี 2554-55 เท่ากับ 60% และ 20% ตามลำดับเช่นกัน

ทั้งนี้ หากพิจารณาจากสถานีน้ำที่จังหวัดสำคัญๆ  คือ นครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี และ อยุธยา ล้วนต่ำกว่าตลิ่ง สำหรับปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลางเป็นบริเวณที่เกิดขึ้นทุกปีอยู่แล้ว คือ ที่ ตำบลโผงแผง และ บริเวณลุ่มแม่น้ำน้อย   ดังนั้น การที่มวลน้ำส่วนใหญ่ไม่ได้ล้นตลิ่ง จึงเป็นระดับที่ควบคุมได้ ดังนั้น จากข้อมูลในปัจจุบัน ทำให้เราประเมินว่า สถานการณ์น้ำท่วมยังไม่เข้าขั้นวิกฤติ ดังเช่นที่เคยเกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรงในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆในปี 2554
 
จังหวัดที่ได้รับความเสียหายล่าสุดอยู่ที่ 27 จังหวัด โดย ปราจีนบุรี สุรินทร์ และ ศรีษะเกษ ได้รับผลกระทบมากที่สุดขั้นวิกฤติ ทั้งนี้ จังหวัดสำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา รวมถึง เขตนิคมอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนคร  สวนอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค)  นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน  และ จังหวัดปทุมธานี ได้แก่  สวนอุตสาหกรรมบางกะดี  สวนอุตสาหกรรมนวนคร  ซึ่งเป็นฐานการผลิต ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ และ ชิ้นส่วนยานยนต์ ยังคงไม่ได้รับผลกระทบ 
 
ปี 2554 น้ำท่วม 65 จังหวัด เสียหาย 1.4 ล้านล้านบาท สถานการณ์ช่วงที่เกิดน้ำท่วมในปี 2554 (25 ก.ย. 2554) ถือว่ารุนแรงกว่าปัจจุบันมาก โดยมวลน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 4,236 ลบม./วินาที เทียบกับ ปริมาณรับได้สูงสุด 3,500 ลบม./วินาที มวลน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 3,703 ลบม./วินาที เทียบกับ ปริมาณรับได้สูงสุด 2,830 ลบม./วินาที ทำให้มีมวลน้ำส่วนล้นตลิ่งไหลในลักษณะไร้ทิศทาง  ดูสถานีน้ำที่จังหวัดต่างๆ คือ นครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี และ อยุธยา ล้วนล้นตลิ่ง  มวลน้ำที่ล้นตลิ่งดังกล่าวได้ไหลในลักษณะไร้ทิศทาง และ ทำให้นิคมอุตสาหกรรมที่สำคัญ ในอยุธยา และ ปทุมธานี ล้วนถูกน้ำท่วม ทั้งนี้ สถานการณ์น้ำท่วมในปี 2554 ได้ส่งผลกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรม ที่สำคัญ ของประเทศ คือ ที่จังหวัง พระนครศรีอยุธยา มี นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนคร  สวนอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค)  นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน  จังหวัดปทุมธานี มี สวนอุตสาหกรรมบางกะดี  สวนอุตสาหกรรมนวนคร  ซึ่งเป็นฐานการผลิต ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ และ ชิ้นส่วนยานยนต์
 
แนะนำ ซื้อเก็งกำไร TASCO คงน้ำหนักการลงทุนกลุ่มยานยนต์ อสังหาฯ และอิเล็กทรอนิกส์: เราแนะนำ ซื้อเก็งกำไร TASCO เนื่องจาก ประเมินว่า ราคาหุ้นในปัจจุบันยังคงไม่สะท้อนผลประโยชน์จากการซ่อมแซมถนนหลังน้ำท่วม เนื่องจาก ราคาปัจจุบันที่ 55 บาทสูงกว่าระดับสิ้นปี 2554 เพียง 6% ในขณะที่ในช่วงไตรมาสที่ 4/54 ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นหลังเกิดสถานการณ์น้ำท่วมถึง 27% ถึงแม้ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันจะไม่รุนแรงเท่าแต่ก็เชื่อว่า TASCO ยังคงเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด เราคงน้ำหนักการลงทุนกลุ่มยานยนต์ที่ “มากกว่าตลาด” จากค่ายรถยนต์ต่างๆได้มีการย้ายฐานการผลิตเข้ามาในไทยเพื่อเป็นฐานการผลิตสำหรับการส่งออก 

สำหรับหุ้นที่เราแนะนำ ซื้อในลักษณะลงทุน ในกลุ่ม คือ AH (เป้าหมาย 26 บาท)  SAT (เป้าหมาย 26 บาท) STANLY (เป้าหมาย 280 บาท) และ TRU (เป้าหมาย 10.8 บาท) คงน้ำหนักการลงทุน เท่ากับตลาดสำหรับกลุ่มที่อยู่อาศัย เลือก Top pick ของกลุ่มคือ PS (ราคาเป้าหมาย 12 เดือนเท่ากับ 32.50 บาท/หุ้น) และ QH (ราคาเป้าหมาย 12 เดือนเท่ากับ 4.40 บาท/หุ้น) และคงน้ำหนักการลงทุน “มากกว่าตลาด” สำหรับกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เลือก KCE เป็นหุ้นเด่นที่สุดในกลุ่ม ราคาเป้าหมาย 21.00 บาท และมีแนวโน้มของการถูกปรับประมาณการขึ้น เนื่องจากคำสั่งซื้อ และความสามารถในการทำกำไรในระดับสูง สำหรับกลุ่มที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ โดยตรง คือ วัสดุก่อสร้าง กลุ่มค้าปลีกอย่างเช่น GLOBAL ราคาเป้าหมาย  23 บาท HMPRO ราคาเป้าหมาย 16.70 บาท  ในขณะที่กลุ่มค้าปลีกทั่วไปคาดว่ายอดขายจะชะลอตัวลงในช่วงที่น้ำท่วมแต่จะฟื้นตัวดีขึ้นหลังน้ำลด
 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 27 ก.ย. 2556 เวลา : 11:32:41

20-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 9:27 am