ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บมจ.ไทยออยล์ คาดน้ำมันปรับลดตามกระแสคาดการณ์เฟดลด QE


 

 

บมจ.ไทยออยล์ วิเคราะห์สถานการณ์น้ำมัน

"WTI ลงมากกว่า $2 หลังเฟดส่งสัญญาณลดขนาดมาตรการ  QE ในการประชมเดือนหน้า"
เวสต์เทกซัสส่งมอบ ธ.ค. ปรับลดลง 2.10 เหรียญฯ ปิดที่ 93.04 เหรียญฯ ส่วนเบรนท์ส่งมอบ ธ.ค. ปรับลดลง 0.59 เหรียญฯ ปิดที่ 105.81 เหรียญฯ
 
- ราคาน้ำมันถูกกดดันหลังประธานเฟดสาขาแอตแลนต้าและมินนิอาโปลิสส่งสญญาณ
ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจจะลดขนาดมาตรการ QE หรือการเข้าซื้อพันธบัตรในการประชุมเดือนหน้า จากการที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯในช่วงหลงปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น
 
- นักวิเคราะห์คาดการณ์ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ณ วันที่ 8 พ.ย. 56 จะปรับ
เพิ่มขึ้นอีก 1.0 ล้านบาร์เรล ในขณะที่ปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังคาดว่าจะปรับลดลงที่ 
1.3 ล้านบาร์เรล และน้ำมันเบนซินคงคลังคาดว่าจะปรับลดลงที่ 0.7 ล้านบาร์เรล โดย 
สถาบันปิโตรเลียมและพลังงาน (API) จะรายงานตวเลขจริงในวันนี้ (13 พ.ย.)
 
+ ราคานํน้ำมันดิบเบรนท์ได้รับแรงหนุนจากความกังวลต่อเนื่องเกี่ยวกับความไม่สงบใน
ตะวันออกกลาง ซึ่งล่าสุดกลุ่มผู้ประท้วงในลิเบีย โดยออกได้มีการปิดกั้นรั้วโรงและ
ท่าเรือน้ำมันในฝั่งทางฝั่งตะวันออกของประเทศ โดยการผลิตยังคงดําเนินการต่อที่ 
120,000 บาร์เรลต่อวัน เนื่องจากกลุ่มผู้ประท้วงเรียกร้องสวัสดิการที่ดีขึ้น
 
-รายงานสถานการณ์น้ำมันประจำเดือน พ.ย. โดยโอเปก คาดการณ์ปริมาณการผลิต
ของกลุ่มมโอเปกในปี 2557 เฉลี่ยอยู่ที่ 29.57 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งไม่ได้เปลี่ยนแปลง
จากการคาดการณ์ในฉบับเดือนที่แล้ว ซึ่งการผลิตน้ำมันดิบกลุ่มโอเปกในเดือน ต.ค. 
2555 มีการผลิตสูงถึง 29.89 ล้านบาร์เรลต่อวัน
 
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ แต่อย่างไรก็ตามความ
ต้องการจากอินโดนีเซียยังคงแข็งแกร่ง 
 
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากการซื้อที่เงียบเหงาจากผู้นำเข้ารายใหญ่อยางอินโดนีเซีย ที่ยังไม่เข้ามาซือน้ำมันดีเซลสําหรับเดือนธันวาคมเพิ่มเติม
 
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสในสัปดาห์นี้จะเคลอนไหวอยู่ที่กรอบ 93-100 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 102-108 เหรียญฯ ติดตามการประกาศตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ และ ผลิตภาคอุตสาหกรรมสหภาพยุโรปในคืนนี้
 
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่
วันพุธ: การผลิตภาคอุตสาหกรรมสหภาพยุโรป
วันพฤหสบดี: ยอดผ้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานและดุลการค้าต่างประเทศ ของสหรัฐฯ รวมถึงจีดีพีไตรมาส 3/56 ของสหภาพยุโรป
วันศุกร์: การผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ และผลสํารวจดัชนีภาคอุตสาหกรรมของรัฐนิวยอร์ค รวมถึงดัชนีราคาผ้บริโภคสหภาพยุโรป
 
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
- ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าน่าจะปรับเพิ่มขึ้นน้อยลงหรือปรับลดลงเล็กน้อย หลังโรงกลั่นหลายแห่งในสหรัฐฯ มีกําหนดเสร็จสินการปิดซ่อมบํารุงในช่วงกลางเดือนนี้
- ติดตามจีดีพีไตรมาส 3/2556 ของสหภาพยุโรป ซึ่งจะประกาศวันที่14 พ.ย.นี้โดยตลาด
คาดการณ์ว่าจีดีพีพีน่าจะยังคงขยายตัวหลังงตวเลขในไตรมาสที่ผ่านมาออกมาค่อนข้างดี
- สํานักสารสนเทศด้านงานพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ในวันที่ 13 พ.ย. และสํานักงาน
พลังงานสากล (IEA) ในวันที่ 14 พ.ย.
- จับตาปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบจากลิเบีย โดยล่าสุดท่าเรือขนส่งน้ำมันดิบ และหลุม
น้ำมันดิบสําคัญของลิเบีย คาดวาจะสามารถเริ่มกลบมาดำเนินการได้ภายในสัปดาห์นี้

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 13 พ.ย. 2556 เวลา : 11:08:50

26-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 12:19 am