ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ไทยออยล์ชี้ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงต่อเนื่อง หลังถูกกดดันจากอุปทานในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูง


ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับลดลง หลังการรายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง สหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 ส.ค. 57 โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) พบว่าปริมาณน้ำมันคงคลังที่จุดส่งมอบคุชชิ่ง โอคลาโฮมา ปรับตัวเพิ่มขึ้น83,000 บาร์เรล และมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สวนทางกับสัปดาห์ก่อนที่ปริมาณสต๊อกลดลงจนเกือบถึงระดับขั้นต่ำของการดำเนินการ 

 
- สำหรับราคาน้ำมันดิบเบรนท์ถูกกดดันไม่ให้ปรับตัวเพิ่มขึ้น สืบเนื่องจาก ปริมาณอุปทานส่วนเกินในยุโรปที่ค่อนข้างสูงท่ามกลางความต้องการใช้ในยุโรปที่อยู่ในระดับต่ำ
 
+ ปัญหาความไม่สงบในยูเครนยังคงดำเนินต่อเนื่องหลังจากล่าสุดกลุ่มนาโต้ออกมากล่าวเตือนว่า รัสเซียมีการระดมกองกำลังทหารอยู่บริเวณชายแดนทางตะวันออกของยูเครนกว่า 20,000 นาย 
 
+ นอกจากนั้นแล้วรัสเซียยังมีแนวโน้มที่จะประกาศมาตรการคว่ำบาตรการนำเข้าอาหารจากสหรัฐฯ ผักผลไม้จากสหภาพยุโรปเพื่อเป็นการตอบโต้ที่มีการใช้มาตรการคว่ำบาตรกับรัสเซีย โดยผลดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของยุโรปเนื่องจากรัสเซียมีการนำเข้าผักและผลไม้จากยุโรปกว่าประมาณ 21.5% และ 28% ตามลำดับ
 
+ เหตุการณ์ในอิรักยังคงมีแนวโน้มทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังจากที่ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา กลุ่มติดอาวุธ IS บุกเข้าโจมตีเมืองแถบเคอร์ติสถาน และสามารถยึดเมืองไปได้ 3 เมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งแหล่งน้ำมันไปอีกประมาณ 5 แห่ง ทำให้กลุ่มเคิร์ดและกลุ่มรัฐบาลกลางกลับมาร่วมมือกันอีกครั้งในการป้องกันไม่ให้กลุ่ม IS บุกเข้ายึดเมืองต่างๆ เพิ่มเติม
 
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากยังคงมีอุปสงค์จากอินโดนีเซียช่วยประคองตลาดไว้ อย่างไรก็ตามราคายังคงถูกกดดันจากอุปทานที่ปรับเพิ่มขึ้น หลังโรงกลั่นในภูมิภาคกลับมาจากการปิดซ่อมบำรุงแล้ว 
 
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานในตลาดอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงหลังโรงกลั่นในภูมิภาคกลับมาจากการปิดซ่อมบำรุงแล้ว ในชณะที่อุปสงค์อยู่ในระดับที่ต่ำ เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน ส่งผลให้ความต้องการใช้ปรับตัวลดลง โดยอินโดนีเซีย และ เวียดนาม มีการลดการนำเข้าลงบางส่วน
 
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 96-103 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 103-109 เหรียญฯ
 
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
-จับตาภาวะอุปทานน้ำมันดิบส่วนเกินบริเวณทะเลเหนือและแอฟริกา ท่ามกลางความต้องการใช้น้ำมันดิบจากโรงกลั่นที่ซบเซาทั้งในยุโรปและเอเชีย อันเป็นผลมาจากค่าการกลั่นที่ตกต่ำ

- เหตุการณ์ความตึงเครียดในอิรักและรัสเซีย ที่ยังคงไม่ได้กระทบต่อความสามารถในการส่งออกน้ำมันดิบของทั้งสองประเทศ โดยล่าสุดอิรักยังคงสามารถส่งออกน้ำมันดิบได้ตามแผนที่ราว 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน อีกทั้งการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียยังไม่ทำให้การส่งออกน้ำมันดิบปรับลดลงแต่อย่างใด
 
- ติดตามรายงานประจำเดือนของ OPEC ในวันที่ 8 ส.ค.นี้ ว่าจะมีมุมมองต่ออุปสงค์และอุปทานน้ำมันดิบโลกอย่างไร ภายหลังตัวเลขเศรษฐกิจของผู้ใช้น้ำมันดิบหลักโลกอย่างสหรัฐฯ และจีนออกมาดีกว่าคาด ส่อเค้าว่าความต้องการใช้น้ำมันดิบโลกจะปรับตัวเพิ่มขึ้น
 
-เสถียรภาพของกำลังการผลิตน้ำมันดิบจากลิเบีย ภายหลังการกลับมาดำเนินการของท่าเรือขนส่งและหลุมน้ำมันดิบ ทำให้กำลังการผลิตในเดือน ก.ค. ปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่ราว 430,000 บาร์เรล จากราว 210,000 บาร์เรลในเดือนก่อนหน้า ท่ามกลางความวิตกกังวลถึงความเป็นไปได้ที่กลุ่มกบฏจะกลับเข้าขัดขวางการผลิตน้ำมันดิบอีก เหมือนเช่นที่เคยเป็นมา
 
- การปิดซ่อมบำรุงหลุมน้ำมันดิบ Buzzard ที่ทะเลเหนือเป็นเวลาสองสัปดาห์ในเดือน ส.ค. โดยหลุมน้ำมันดังกล่าวเป็นหลุมน้ำมันดิบที่มีกำลังการผลิตสูงสุดในทะเลเหนือ โดยคาดว่าการปิดซ่อมดังกล่าวจะส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบที่จะส่งออกลดลงประมาณ 24%
 
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันศุกร์อัตราการว่างงานสหรัฐฯ - ก.ค. 57
ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (ISM) - ก.ค. 57
ความรู้สึกผู้บริโภคสหรัฐฯ - ก.ค. 57
ดัชนีภาคการผลิตยุโรป (Markrit)- ก.ค. 57
ดัชนีภาคการผลิตจีน (Official) - ก.ค. 57
ดัชนีภาคการผลิตจีน (HSBC)- ก.ค. 57
วันจันทร์ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนยุโรป - ส.ค. 57
วันอังคารดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ - ก.ค. 57
ดัชนีภาคการบริการสหรัฐฯ - ก.ค. 57
ยอดสั่งซื้อค้าคงทนสหรัฐฯ - มิ.ย. 57
ยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงานสหรัฐฯ - มิ.ย.57
ดัชนีภาคการบริการยุโรป - ก.ค. 57
วันศุกร์ดุลการค้าจีน - ก.ค. 57

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 07 ส.ค. 2557 เวลา : 15:12:03

19-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 5:57 pm