ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ไทยออยล์วิเคราะห์ราคาน้ำมันดิบร่วง หลังตัวเลขเศรษฐกิจยุโรปทรุด และอุปทานน้ำมันดิบเพิ่ม


 ราคาน้ำมันดิบร่วง หลังตัวเลขเศรษฐกิจยุโรปทรุด ประกอบกับอุปทานน้ำมันดิบเพิ่ม

- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง หลังตัวเลขเศรษฐกิจในยูโรปปรับตัวลดลงบ่งชี้ให้เห็นถึงความต้องการใช้น้ำมันที่น้อยลงตามไปด้วย ซึ่งสวนทางกับอุปทานน้ำมันดิบของโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น
 
 - อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 57 ของสหภาพยุโรป ปรับลดลงน้อยกว่าเดือนก่อนหน้าเหลือเพียง -0.7% ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ เป็นผลมาจากมาตรการคว่ำบาตรระหว่างยุโรปและรัสเซียจากปัญหาความไม่สงบในยูเครนซึ่งสร้างความไม่มั่นใจต่อเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มประเทศยุโรป อาจส่งผลให้ภาพรวมความต้องการใช้น้ำมันมีแนวโน้มปรับลดลง 
 
- ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหภาพยุโรปปรับลดลงในไตรมาส 2/57 อยู่ที่ระดับ 0% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกที่ขยายตัว 0.2% ซึ่งสะท้อนว่าเศรษฐกิจยุโรปยังไม่ฟื้นตัว เนื่องจากอัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง และอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำเกินไป โดยหลักแล้วยังมาจากการหดตัวของจีดีพีเยอรมนีที่ -0.2% ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่สุดในภูมิภาคด้วย 
 
- นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากอุปทานที่จะปรับเพิ่มขึ้นของลิเบีย หลังจากท่าเรือขนส่งน้ำมัน เอสไซเดอร์ ที่ใหญ่สุดในประเทศลิเบียมีกำหนดจะเริ่มเปิดดำเนินการอีกครั้งในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ หลังจากถูกกลุมผู้ประท้วงปิดมานานเกือบปี 
 
- จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 9 ส.ค. ในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 21,000 ราย สู่ระดับ 311,000 ราย ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 295,000 ราย
 
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานในภูมิภาคยังคงล้นตลาดจากการที่โรงกลั่นน้ำมันกลับมาดำเนินการผลิตอีกครั้งหลังปิดซ่อมบำรุง นอกจากนี้อุปสงค์ยังคงเบาบางเนื่องจากหมดฤดูกาลท่องเที่ยวในเอเชีย
 
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์ที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นในภูมิภาค เช่น ฟิลิปปินส์ และ จีน โดยความต้องการใช้น้ำมันดีเซลในจีนปรับตัวดีขึ้นหลังหมดฤดูกาลห้ามทำประมง
 
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 95-100 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 102-107 เหรียญฯ
 
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
-ภาวะอุปทานน้ำมันดิบส่วนเกินบริเวณทะเลเหนือและแอฟริกา อันเป็นผลมาจากความต้องการใช้น้ำมันดิบที่ปรับลดลงจากโรงกลั่นในยุโรปและเอเชียยังกดดันราคาน้ำมัน อย่างไรก็ดี แผนการปิดซ่อมบำรุงหลุมน้ำมัน Buzzard ที่ทะเลเหนือในเดือน ส.ค. จะช่วยให้ภาวะอุปทานส่วนเกินที่ทะเลเหนือปรับเพิ่มขึ้นไปไม่มากนัก
 
- ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและนานาประเทศอันสืบเนื่องจากความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครนที่มีแนวโน้มผ่อนคลายลง ส่งผลกดดันราคาน้ำมัน โดยล่าสุดรัสเซียได้สิ้นสุดการซ้อมรบที่บริเวณชายแดนยูเครนแล้ว ขณะที่กลุ่มกบฏก็กำลังเจรจาหยุดยิงกับยูเครน
 
-เหตุการณ์ในอิรักยังคงไม่ส่งผลต่อการผลิตและส่งออกน้ำมันดิบทางใต้ของประเทศ แม้ล่าสุดสหรัฐฯ จะมีการส่งกองกำลังทางอากาศเข้าแทรกแซงในอิรักอีกครั้ง เพื่อหวังจะหยุดยั้งการบุกเข้าโจมตีเมืองเคิร์ดทางตอนเหนือของอิรักโดยกลุ่มกลุ่มติดอาวุธรัฐอิสลาม (IS) โดยหลายฝ่ายมองว่าการแทรกแซงของสหรัฐฯ เป็นเพียงการเข้าควบคุมสถานการณ์เท่านั้น
 
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันพฤหัสเงินเฟ้อยุโรป - ก.ค. 57
จีดีพีไตรมาส 2/57 ยุโรป
วันศุกร์ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ - ก.ค. 57
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ - ก.ค. 57
ผลสำรวจภาคอุตสาหกรรมรัฐนิวยอร์ค - ส.ค. 57
 
วันจันทร์ดัชนีราคาบ้านจีน - ก.ค. 57
 
วันอังคารดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ - ก.ค. 57
ยอดขอสร้างบ้านใหม่สหรัฐฯ - ก.ค. 57
 
วันพฤหัสดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (Markrit) - ส.ค. 57
ยอดขขายบ้านมือสองสหรัฐฯ - ก.ค. 57
ดัชนีภาคการผลิตยุโรป (Markrit) - ส.ค. 57
ดัชนีภาคการบริการยุโรป (Markrit) - ส.ค. 57
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยุโรป - ส.ค. 57
ดัชนีภาคการผลิตจีน (HSBC) - ส.ค. 57

 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 15 ส.ค. 2557 เวลา : 10:26:08

20-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 6:46 am