ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ไทยออยล์วิเคราะห์ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้น จากตัวเลขความต้องการตำแหน่งงานในสหรัฐสูงขึ้นและคาดการณ์ปริมาณน้ำมันดิบสหรัฐฯ ลดลง


 + ราคาน้ำมันดิบเบรนท์และเวสต์เท็กซัสปรับเพิ่มขึ้นจากตัวเลขความต้องการตำแหน่งงานของสหรัฐฯ ในเดือน ก.พ. ในภาคอุตสาหกรรม พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 14 ปีจากปี 2543 เป็นสัญญาณที่ดีว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ และความต้องการน้ำมันเบนซินยังคงมีแนวโน้มที่ดี

+ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังได้รับการสนับสนุนจากรายงานการคาดการณ์ของสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA)  ปรับเพิ่มคาดการณ์ความต้องการน้ำมันในปี 2558 อยู่ที่ 1.04 ล้านบาร์เรล และในปี 2559 อยู่ที่ 1.11 ล้านบาร์เรล ในขณะเดียวกัน EIA ได้ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของปริมาณน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ในปี 2558 จาก 700,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 550,000 บาร์เรลต่อวัน  และในปี 2559  จาก 140,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 80,000 บาร์เรลต่อวัน

- นายนารายานา โคเชอร์ลาโคตา ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าว เฟดน่าจะสามารถรอต่อไปจนถึงปีหน้าสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จากการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงต้องใช้เวลาอีกหลายปี กว่าที่อัตราเงินเฟ้อและการจ้างงานจะกลับสู่ระดับปกติ ดังนั้น นายโคเชอร์ลาโคตาสนับสนุนให้เฟดรอจนกว่าจะถึงครึ่งปีหลังของปีหน้าเพื่อขึ้นอัตราดอกเบี้ย และค่อยๆ ปรับขึ้นทีละน้อยจนแตะระดับ 2% ในปลายปี 2017 

+/- นายอาลี อัล ไนมี รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของซาอุดิอาระเบีย เปิดเผยว่าทางซาอุดิอาระเบียพร้อมที่จะช่วยให้ราคาน้ำมันปรับตัวดีขึ้นถ้าผู้ผลิตในประเทศอื่นเข้าร่วมการดำเนินงานในครั้งนี้  โดยนายอาลี อัล ไนมี กล่าวต่อไปอีกว่า ทางซาอุดิอาระเบียพร้อมที่จะพูดคุยกับประเทศอื่นๆ อาทิ รัสเซียและเม็กซิโก ในการควบคุบปริมาณน้ำมันดิบเพื่อกระตุ้นให้ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นอีกครั้ง อย่างไรก็ดี ประเทศอื่นๆ ก็ต้องช่วยกันด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้ทางซาอุดิอาระเบียดำเนินการเพียงผู้เดียว

- สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) รายงายตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ณ วันที่ 3 เม.ย. ที่ผ่านมา ปรับเพิ่มขึ้นราว 12.2 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 3.4 ล้านบาร์เรล ส่วนปริมาณนํ้ามันเบนซินคงคลังคงคลังปรับเพิ่มขึ้น 2.7 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ขณะที่นํ้ามันดีเซลคงคลังปรับลดลงที่331,000 บาร์เรล ซึ่งสวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์จากประเทศอินเดีย และประเทศอินโดนีเซียที่ต้องการน้ำมันเบนซิน อย่างไรก็ดีตลาดยังคงเงียบเหงาหลังจากวันหยุดในช่วงวันศุกร์และวันจันทร์ที่ผ่านมา

ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากโดนกดดันจากอุปทานที่เข้ามาจากโรงกลั่นใหม่ของซาอุดิอาระเบีย 

ทิศทางราคาน้ำมันดิบ

ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 52-56 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 55-60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยที่น่าจับตามอง

การเจรจาระหว่างอิหร่านกับชาติมหาอำนาจ (P5+1) ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐฯ จีน รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี ผ่านพ้นกำหนดเส้นตาย ณ วันที่ 31 มี.ค. โดยล่าสุดทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุกรอบข้อตกลงเบื้องต้นในการจำกัดศักยภาพโครงการนิวเคลียร์ของเตหะรานได้ หลังการเจรจายืดเยื้อกว่า 8 วัน ขณะที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประกาศว่าจะยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่านด้วยเช่นกัน ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่า อิหร่านอาจจะเพิ่มปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน หากชาติตะวันตกตัดสินใจยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน 

ตลาดยังคงกังวลว่าเหตุการณ์โจมตีของประเทศซาอุดิอาระเบียและสมาชิกกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับต่อกลุ่มกบฎฮูตี ชาวชีอะห์ ในประเทศเยเมน อาจเป็นชนวนทำให้เกิดสงครามระหว่างเชื้อชาติในตะวันออกกลาง และอาจทำให้อ่าวเอเดนถูกปิดลง ซึ่งจะกระทบต่อการขนส่งนํ้ามันดิบ และทำให้อุปทานอาจหายไปคิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของความต้องการน้ำมันของโลก 

การชะลอแผนการลงทุนขุดเจาะและผลิตน้ำมันในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เริ่มส่งสัญญาณให้เห็นถึงปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯที่ปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน ที่ระดับ 9.4 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงปลายเดือน มี.ค. ซึ่งตลาดคาดว่าการปรับลดลงอย่างต่อเนื่องของแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบจะส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำมันดิบในระยะยาวต่อไป 

อุปสงค์น้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาส 2 นี้ หลังโรงกลั่นน้ำมันทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันราคาน้ำมันดิบในช่วงนี้ โดยล่าสุดมีการคาดการณ์ว่าหน่วยกลั่นน้ำมันดิบ (Crude Distillation Units) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะลดลงราว 2 ล้านบาร์เรลใน่วงไตรมาส 2 นี้

ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม

วันศุกร์ รายได้นอกภาคการเกษตรสหรัฐฯ - มี.ค.

อัตราการว่างงานสหรัฐฯ - มี.ค.

วันจันทร์ ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (Markit PMI) - มี.ค. 

วันพุธ ยอดค้าปลีกยูโรโซน (YoY) - ก.พ.

วันศุกร์ ดัชนีราคาผู้บริโภคจีน (YoY) - มี.ค.

ดัชนีราคาผู้ผลิตจีน (YoY) - มี.ค.

 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 08 เม.ย. 2558 เวลา : 11:02:18

25-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 25, 2024, 1:28 am