ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ไทยออยล์วิเคราะห์ราคาน้ำมันดิบดีดตัวแรงขึ้น จากปริมาณน้ำมันดิบที่คุชชิ่งปรับลดลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน


+ ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้น (โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่เดือน พ.ค. 49) หลังจากที่สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ณ จุดส่งมอบคุชชิ่ง โอกลาโฮมา ปรับลดลง 514,000 บาร์เรล ซึ่งเป็นการปรับลดลงครั้งแรกตั้งแต่เดือน พ.ย. 57 เป็นต้นมา เนื่องจากมีความต้องการน้ำมันดิบจากโรงกลั่นน้ำมันเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ  สิ้นสุด ณ วันที่ 24 เม.ย. ปรับเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 16 สัปดาห์ โดยปรับเพิ่มชึ้น 1.9 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 490.91 ล้านบาร์เรล  แต่อย่างไรก็ตามปริมาณที่ปรับเพิ่มขึ้นนั้นยังคงน้อยกว่าที่สถาบัน ปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) รายงานที่ 4.2 ล้านบาร์เรล และน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 2.3 ล้านบาร์เรล ขณะที่ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังปรับเพิ่มขึ้น 1.7 ล้านบาร์เรลซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 217,000 บาร์เรล ส่วนปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังปรับลดลง 66,000 บาร์เรล ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ทว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรล

+ กษัตริย์ซัลมาน บิน อับดุลลาซิสแห่งซาอุดิอาระเบีย ทรงปลดเจ้าชายมูกริน พระอนุชาต่างพระมารดาของพระองค์ ออกจากตำแหน่งมกุฏราชกุมารและตำแหน่งรองนายกรัฐมาตรีลำดับที่ 1 และได้ทรงแต่งตั้งรองมกุฏราชกุมารมูฮัมหมัด บิน นาเยฟ ซึ่งเป็นพระราชนัดดาให้ดำรงตำแหน่งมกุฏราชกุมารคนใหม่ โดยการเปลี่ยนมกุฏราชกุมารใหม่นั้นไม่มีผลกระทบต่อนโยบายการผลิตและส่งออก น้ำมันดิบของซาอุดิอาระเบีย โดยซาอุดิอาระเบียยังคงรักษาระดับการผลิตและส่งออกน้ำมันดิบเพื่อรักษาส่วน แบ่งทางการตลาดไว้ และปฏิเสธที่จะเป็นผู้ที่คอยปรับสมดุลระหว่างปริมาณอุปสงค์และอุปทานของตลาด โลก 

- ตัวเลขจีดีพีสหรัฐฯ ไตรมาส 1/58 มีการขยายตัวเพียง 0.2% เมื่อเทียบกับในไตรมาส 4/57 ที่ระดับ 2.2% ซึ่งเป็นการขยายตัวที่น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 1.0% เนื่องจากเกิดจากการชะลอตัวของการลงทุนของภาคธุรกิจ ประกอบกับตัวเลขการส่งออกที่ปรับลดลงและการลดการใช้จ่ายต่างๆ ของผู้บริโภคจากสภาพอากาศที่เลวร้ายในไตรมาสที่ผ่านมา รวมถึงค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ  แต่อย่างไรก็ตามอุปสงค์ของน้ำมันเบนซินจากสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากเป็นช่วงฤดูการท่องเที่ยวในสหรัฐฯ จึงทำให้มีการส่งออกน้ำมันเบนซินจากตะวันออกไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ประกอบกับมีความต้องการนำเข้าน้ำมันเบนซินจากประเทศอินโดนีเซียเพิ่มมากขึ้น  นอกจากนี้ ยังคงคาดการณ์ว่าอุปสงค์ในภูมิภาคจะมีแนวโน้มสูงขึ้นจากความต้องการน้ำมัน เบนซินก่อนเข้าสู่ช่วงเทศกาลถือศีลอดหรือรอมฏอน (Ramadan) ของศาสนาอิสลามในช่วง มิ.ย.- ก.ค. ของปี

ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยตลาดค่อนข้างเงียบเหงา ซึ่งอุปสงค์น้ำมันดีเซลอยู่ในระดับค่อนข้างคงที่ ประกอบกับมีปริมาณอุปทานเพิ่มมากขึ้นจากการส่งออกของโรงกลั่นน้ำมันใหม่ใน ตะวันออกกลาง

ทิศทางราคาน้ำมันดิบ

ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 53-58 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 60-66 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยที่น่าจับตามอง

 ติดตามสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศเยเมนว่าเป็นไปในทิศทางใด หลังล่าสุดซาอุดิอาระเบียยังคงเดินหน้าทิ้งระเบิดโจมตีกลุ่มกฎบฮูธิในเยเมน ต่อ แม้ว่าซาอุดิอาระเบียจะออกมาเผยเมื่อวันอังคารที่ 21 เม.ย. ที่ผ่านมาว่าได้ยุติปฏิบัติการทางทหารในประเทศเยเมนเพื่อต่อต้านกลุ่มกบฏฮู ธิแล้ว หลังจากยืดเยื้อมานานกว่า 4 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังเกิดการสู้รบในภาคพื้นดินอย่างรุนแรงระหว่างกลุ่มกบฏและกอง กำลังที่ภักดีต่ออดีตประธานาธิบดีของเยเมนซึ่งขณะนี้ได้ลี้ภัยไปยังซาอุดิอา ระเบียแล้ว จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงความยากลำบากในการแก้ไขปัญหาความขัด แย้งที่เกิดขึ้นในเยเมน  อย่างไรก็ดี แม้ว่าเยเมนจะไม่ใช่ประเทศที่ผลิตน้ำมันหลัก แต่ตลาดก็มีความกังวลว่าสถานการณ์อาจจะบานปลายไปยังภูมิภาคอื่นๆ ที่เป็นผู้ผลิตน้ำมันได้ ซึ่งก็อาจจะส่งผลกระทบให้อุปทานน้ำมันดิบลดลง และทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นได้ 

ติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ที่จัดขึ้นในวันที่ 28-29 เม.ย. นี้ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย (Fed Funds Rate) หรือไม่ หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ได้คงอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำที่ร้อยละ 0 - 0.25 มานานกว่า 6 ปี หากเฟดตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็จะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นและกดดันราคาน้ำมันดิบให้ปรับลดลงได้ 

จับตาธนาคารกลางจีนว่าจะมีการออกมาตรการปรับลดสัดส่วนการกันสำรองสำหรับ ธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลงอีกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมหรือไม่ หลังจากมีการปรับลดไปแล้ว 1% เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นการปรับลดเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่ธนาคารกลางได้ปรับลดไปแล้ว 0.5% เมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยนักวิเคราะห์หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางจีนอาจจะปรับลดอัตรา RRR ลงอีกภายในปีนี้ เนื่องจากอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีนยังมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นหรือไม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจหลังจากที่มีการลดอัตรา RRR ว่าจะมีเสถียรภาพดีขึ้นหรือไม่ ถ้าหากเศรษฐกิจยังไม่มีการฟื้นตัวที่ชัดเจน ธนาคารกลางจีนก็อาจจะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างอื่นเพิ่มเติมได้ ทั้งนี้ จีนถือเป็นประเทศที่มีการบริโภคน้ำมันหลักของโลก ดังนั้นหากเศรษฐกิจจีนสามารถฟื้นตัวได้ก็จะทำให้ความต้องการน้ำมันดิบเพิ่ม ขึ้นตามไปด้วยและส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น 

 

ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม

วันจันทร์ ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (Markit PMI) - เม.ย.

ดัชนีภาคการบริการสหรัฐฯ - เม.ย.

วันอังคาร ความเชื่อมันผู้บริโภคสหรัฐฯ เม.ย.

วันพุธ จีดีพีสหรัฐฯ - ไตรมาส 1/58

วันพฤหัสบดี อัตราการว่างงานสหรัฐฯ - มี.ค.

ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (Chicago's PMI) - เม.ย.

วันศุกร์ ดัชนีภาคการผลิตจีน (NBS PMI) - เม.ย.

ดัชนีภาคการบริการจีน -เม.ย.

ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (ISM PMI) - เม.ย.

 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 30 เม.ย. 2558 เวลา : 13:06:06

26-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 6:19 am