ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
หยิบเงินหยิบทอง - บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง


 


กลยุทธ์วันนี้  Slow Life

ตลาดหุ้นวานนี้: 
          ตลาดหุ้นไทยวานนี้ เปิดข้าม 1,350 จุด ผลักดันด้วยกลุ่มพลังงาน / ปิโตรเคมี บวกกับบรรยากาศรอบเอเชียที่เป็นบวก แม้ว่า Moody’s จะลดแนวโน้มของจีนลงก็ตาม หุ้น High Beta ที่ปรับฐานลงมาแรงก่อนหน้าอย่างกลุ่มรับเหมา / JAS / DTAC ฟื้นตัวเด่น ปิด ณ สิ้นวัน SET INDEX บวกไปทั้งสิ้น 18.36 จุด มาอยู่ที่ 1,365.31 จุด มูลค่าการซื้อขายหนาแน่น 68,861 ล้านบาท
 
 
 
 
 
          เม็ดเงินทุนต่างชาติ กลับมาซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันแรกในรอบ 4 วันทำการ 3,606 ล้านบาท Long สุทธิใน SET50 Index Futures อีกครั้ง 7,893 สัญญา และซื้อสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 5 อีก 1,824 ล้านบาท

ปัจจัยสำคัญวันนี้
          - เงินทุนต่างชาติที่ซื้อหนาแน่นวานนี้ สาเหตุหลักมาจาก NVDR เพิ่ม BBL เข้าในรายชื่ออีกครั้ง 
          - ผลตอบแทนพันธบัตรไทยอายุ 10 ปี ต่ำกว่า 2.0% ปิดล่าสุดที่ 1.986% 
          - กระแสเงินทุนทุนต่างชาติหนาแน่นทั่วเอเชียเกิดใหม่

 
มุมมองต่อตลาด
          เราคงมุมมองต่อการลงทุนเป็น “กลาง” เป็นวันที่ 4 แม้ว่า SET INDEX จะปิดทะลุแนว 1,360 จุด พร้อมกับมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น ทำให้สัญญาณทางเทคนิคกลับมาเป็นบวกชัดเจน แต่หากพิจารณาถึงด้านปัจจัยพื้นฐาน 
          - PER16 ณ ระดับปิดวานนี้ 1,365.31 จุด เท่ากับ 14.38x สูงกว่าค่าเฉลี่ย 1Yr Forward PER 5 ปี เท่ากับ 13.7x สะท้อนว่า SET INDEX ณ ปัจจุบันไม่ได้อยู่ในโซนถูกอีกต่อไป แต่เป็นการไต่ระดับสอดคล้องกับไปกับทิศทางตลาดหุ้นทั่วเอเชีย 
          -  ด้านผลตอบแทนจากเงินปันผลสำหรับงวดปี 2559 ปรับตัวลงเป็น 3.28% เทียบกับค่าเฉลี่ย 1Yr Forward Dividend Yield เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีที่ 3.43% 
          - ผลตอบแทนของ SET INDEX นับตั้งแต่ต้นปี YTD เท่ากับ 6.0% ถือเป็นตลาดที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในเอเชีย
          แต่ด้วยความที่ตลาดหุ้นไทย เป็นตลาดที่ต่างชาติขายสุทธิมาตลอด 3 ปี (2556-2558) เกือบ 4.0 แสนล้านบาท ทำให้เมื่อสภาพคล่องทางการเงินไหลกลับเข้าตลาดหุ้นเอเชียเกิดใหม่ ภายใต้บริบทของการเมืองที่มีเสถียรภาพ เศรษฐกิจไทยผ่านจุดที่ต่ำสุดไปแล้วใน 3Q58 และเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป บวกกับผลการดำเนินงานใน 4Q58 ของบริษัทจดทะเบียนตลาดหุ้นไทย ออกมาใกล้เคียงคาดหรือดีกว่าคาดเป็นส่วนใหญ่ พร้อมกับผลตอบแทนจากเงินปันผลเฉลี่ย 3.58% อีกทั้งราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ฟื้นตัว ทำให้เม็ดเงินทุนต่างชาติกลับมาสนใจตลาดหุ้นไทยในรอบนี้ และกลายเป็นเหตุให้สถาบันในประเทศ กลับมาสะสมหุ้นหนาแน่นขึ้นในรอบนี้ 
          อย่างไรก็ตาม SET INDEX ที่ขึ้นมาอย่างร้องแรง เรากลับมองว่า โอกาสที่จะเกิดภาวะการลงทุนที่ผันผวนสูง / การปรับฐานลงแรง มีความเป็นไปได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การคาดหวังเชิงบวกต่อการประชุม ECB ในวันที่ 10 มี.ค. จะมีการเพิ่มมาตรการทางการเงิน อาจนำไปสู่การเก็งกำไรและขายสะท้อนผลการประชุมในช่วงกลางสัปดาห์หน้าได้เช่นกัน
          หุ้นหลักของตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวมาอย่างโดดเด่น YTD กลุ่มพลังงาน +9.84% / กลุ่มปิโตรเคมี +8.83% / กลุ่มธนาคาร +13.19% / กลุ่ม ICT +11.34% ทำให้เราประเมินว่าหุ้นขนาดกลาง / หุ้น High Beta ในช่วงนี้จะมีสีสัน มากกว่าหุ้นหลักที่น่าจะเข้าสู่ช่วงการพักฐานรอบสั้น
          ประเมินกรอบแกว่งของ SET INDEX วันนี้ระหว่าง 1,360-1,380 จุด กลับมาเน้นหุ้นขนาดกลางที่มีความโดดเด่นในแง่ของประเด็นการลงทุน 

กลยุทธ์การลงทุน 
          เราแนะนำให้ “นักลงทุนทยอยขายทำกำไรมากยิ่งขึ้น และถือเงินสด หากต้องการเข้าเก็งกำไรตามกระแสเงินทุนต่างชาติ เราแนะนำให้เก็งกำไรแบบจำกัดเม็ดเงินให้มากขึ้น เพื่อจำกัดความเสี่ยงของการลงทุนที่มีแนวโน้มผันผวนสูงขึ้น”

          Accumulative Buy: KTB 
          Speculative Buy: TPIPL

Stock Pick of the Day

กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำ “เก็งกำไร” ได้แก่
          1.   TPIPL : ราคาปิด 2.34 บาท ราคาเหมาะสม 3.40 บาท
          a)   เรามีมุมมองเป็นบวกต่อแนวโน้มผลการดำเนินงาน qoq ของ TPIPL ตลอดปี 2559 โดยใน 1Q59 โรงไฟฟ้าพลังงานขยะกำลังการผลิต 55MW จะมีประสิทธิภาพในการผลิตที่ดีขึ้น หลังเริ่มผลิตมาตั้งแต่ 4Q58 ที่ยังไม่อยู่ในระดับที่เหมาะสม 
          b)   และใน 2Q59 นั้นกำลังการผลิตปูนซิเมนต์โรงที่ 4 อีก 4.5 ล้านตัน/ปี ที่จะเริ่มผลิตในปลายเดือนมี.ค. จะเริ่มผลิตได้เต็มไตรมาสเป็นครั้งแรก พร้อมกับกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าพลังความร้อนทิ้งอีก 40MW ที่จะเริ่มเข้ามาช่วยลดต้นทุนการผลิตให้แก่กลุ่ม 
          c)   ภาพรวมในปี 2559 เราคาดว่ากำไรสุทธิจะเติบโตถึง +692% เป็น 2,879 ล้านบาท สวนทางกับกลุ่มในปีนี้ เราคาด SCC กำไรสุทธิจะหดตัว -1.0% หรือ SCCC ที่ คาดว่าจะหดตัว 2.5% 
          d)   ราคา ณ ปัจจุบัน ซื้อขายที่ PER59 เท่ากับ 16.71x แม้ว่าจะสูงกว่า SCC ที่ 12.81x และ SCCC ที่ 15.24x ก็ตาม แต่หากพิจารณาระยะยาวต่อไปยังปี 2560 จะพบว่า PER60 ของ TPIPL ที่ 10.17x ต่ำกว่า SCC และ SCCC ที่ 11.21x และ 13.51x ตามลำดับ
และ “สะสม” ได้แก่ 
          2.   KTB  : ราคาปิด 18.20 บาท ราคาเหมาะสม 21.00 บาท
          a)   MBKET คาด KTB จะประกาศเงินปันผลปี 2558 (จ่ายปีละ 1 ครั้ง) ในช่วง 1-2 วันนี้ คาดการณ์เงินปันผลหุ้นละ 0.80 บาท คิดเป็นผลตอบแทนจากเงินปันผล 4.4% 
          b)   และมีโอกาสที่เงินปันผลจะออกมาดีกว่าคาดการณ์ของตลาด เนื่องจากกำไรสุทธิปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากการตั้งสำรอง แต่หากพิจาณากำไรก่อนตั้งสำรองเติบโตถึง +20% yoy จึงมีโอกาสที่จะจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 0.90 – 1.00 บาทได้เช่นกัน 
          a)    Valuation ถูกที่สุดในหุ้นกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ โดยซื้อขาย PER2559 ที่ 7.58x เทียบกับ BBL 8.16x. SCB 9.90x, KBANK 9.89x, BAY 10.32x
 

Fund Flow Analysis

Fund Flow in Emerging Markets
ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5 อีก US$781 ล้าน จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ US$172 ล้าน

Fund Flow in Emerging Markets
ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5 อีก US$781 ล้าน จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ US$172 ล้าน
          นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันแรกในรอบ 4 วันทำการ มากถึง 3,606 ล้านบาท เทียบกับ 3 วันทำการก่อนหน้าขายสุทธิเพียง 1,654 ล้านบาท และ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้ขายสุทธิลดลงเหลือเพียง 4,015 ล้านบาท เท่านั้น
          ส่วน SET50 Index Futures นักลงทุนกลุ่มนี้กลับมา Long สุทธิอีกครั้ง 7,893 สัญญา คาดว่าจะเป็นการเปิดสถานะ Long อีกครั้ง แม้ว่า SET50 Index ทะลุแนว 870 จุดขึ้นมาแล้วก็ตาม แต่กดให้ S50H16 ปิดต่ำกว่า SET50 Index แคบลงอีก เหลือเพียง 2.45 จุด จากวันก่อนหน้า Discount 3.30 จุด เท่ากัน ทำให้ QTD นักลงทุนกลุ่มนี้ Long สุทธิยังคงทะลุ 120,000 สัญญา เป็น 122,109 สัญญา  
          และตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนกลุ่มนี้คงการซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5 อีก 1,824 ล้านบาท รวม 5 วันทำการ ซื้อสุทธิ 28,555 ล้านบาท เมื่อค่าเงินบาทแกว่งกรอบแคบเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ราคาพันธบัตรไทยขยับขึ้นเด่นเป็นวันที่ 2 ผ่านผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ลดลงเป็นวันที่ 2 มากถึง 9.91bps จากวันก่อนหน้าลดลง 4.19bps ปิดที่ 1.986% 

Short-Selling วานนี้ 
เร่งขึ้นเป็นวันแรกในรอบ 3 วันทำการ 879 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 562 ล้านบาท 

NVDR Movement
NVDR ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 โดยเน้น BBL จากการที่ NVDR กลับมาเพิ่ม BBL อีกครั้ง รวมถึงหุ้นหลักในกลุ่มโรงพยาบาล
          การซื้อขายผ่าน NVDR ซื้อสุทธิมากถึง 3,528 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 177 ล้านบาท หลังจากที่ NVDR ประกาศเพิ่มหุ้น BBL ใน NVDR อีกครั้ง รวมถึงหุ้นหลักในกลุ่มโรงพยาบาล หลังประชุมนักวิเคราะห์แล้วออกมาเป็นบวก สรุปภาพการลงทุนโดยรวมได้ดังต่อไปนี้
          1.  กลุ่มธนาคารถูกซื้อสุทธิสูงสุด 1,751 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 251 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มโรงพยาบาล ซื้อสุทธิ 541 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 115 ล้านบาท กลุ่มพลังงาน ซื้อสุทธิ 510 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 543 ล้านบาท และกลุ่มค้าปลีก ซื้อสุทธิ 445 ล้านบาท 
          2.  ส่วนกลุ่มอาหาร ถูกขายสุทธิสูงสุด 217 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 171 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่ม MAI ขายสุทธิ 38 ล้านบาท 

ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ – การเงินรายภูมิภาค

สหรัฐอเมริกา
          ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาเป็นบวก
          การจ้างงานภาคเอกชน เดือนก.พ. เท่ากับ 2.14 แสนตำแหน่ง ดีกว่า Bloomberg consensus คาด 1.85 แสนตำแหน่ง และเดือนก่อนหน้าที่ 1.93 แสนตำแหน่ง 
          รายงาน Begie Book โดยรวมไม่ส่งสัญญาณที่เป็นบวก หรือ ลบ
          รายงานเริ่มให้สัญญาณความอ่อนแอของภาคการส่งออก และอุตฯ พลังงาน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเติบโตแบบทรงตัว 
          พื้นที่ส่วนใหญ่ใน 12 เขตเศรษฐกิจ รายงานการเติบโตปานกลางถึงดีเล็กน้อย มีเพียง Kansas city ที่ได้รับผลกระทบจากภาคพลังงานที่หดตัวลง ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวปานกลาง
          ตลาดแรงงานกลับปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงการใช้จ่ายภาคการบริโภคที่เติบโตต่อเนื่อง 
          แต่ด้านค่าแรงงานกลับมีความหลากหลาย ระหว่างทรงตัวถึงเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง

ยุโรป
          เศรษฐกิจสวิสฟื้นตัวมากกว่าคาด: ใน 4Q58 เติบโต 0.4% qoq ดีกว่า Bloomberg consensus คาด +0.1% qoq และฟื้นตัวจาก 3Q58 ที่หดตัว 0.1% qoq อีกทั้งเป็นไตรมาสที่เศรษฐกิจขยายตัวดีสุดในรอบปี 2558 อย่างไรก็ตาม การส่งออกของสวิสยังคงเผชิญกับความเสี่ยงจากตลาดส่งออกหลักในเอเชียมีเศรษฐกิจที่ชะลอตัว 

จีน          
          ไม่มี

เอเชียแปซิฟิก
          ผลผลิตภาคอุตฯ เกาหลีใต้ชะลอตัวมากกว่าคาด: ลดลง 1.9% yoy ในเดือนม.ค. แย่กว่าที่ Bloomberg consensus คาด -0.6% yoy โดยเป็นการชะลอตัวของการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, อุปกรณ์ และเครื่องจักร 
          เศรษฐกิจออสเตรเลียเติบโตดีกว่าคาด: ขยายตัว 3.0% yoy สำหรับใน 4Q58 เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เติบโต 2.7% yoy และดีกว่าที่ Bloomberg Consensus คาดเติบโต 2.5% yoy นอกจากนี้ยังเป็นการเติบโต 0.6% qoq ทั้งนี้เป็นการเติบโตมากสุดนับตั้งแต่ช่วงครึ่งแรกของปี 2557 การใช้จ่ายครัวเรือนและการใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้น 2.9% และ 3.6% ตามลำดับ (เทียบกับไตรมาสก่อนที่ +2.8% และ 3.3%) ขณะที่ภาคส่งออกและการลงทุนยังหดตัว ทั้งนี้เศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินที่ผันผวนเป็นปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจออสเตรเลียในปีนี้

ไทย
          ไม่มี
 

 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 03 มี.ค. 2559 เวลา : 10:13:12

18-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 18, 2024, 10:18 am